China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2004-06-03 21:38:36    
ขีวประวัติ"เหมาเจ๋อตง" ผู้นำยิ่งใหญ่ของจีน(1893-1930)

cri

ขีวประวัติ"เหมาเจ๋อตง" ผู้นำยิ่งใหญ่ของจีน(1893-1930)
นายเหมา เจ๋อตงเกิดที่ครอบครัวชาวนาในอำเภอเซียงถันมณฑลหูเป่ยเมื่อวันที่ 26ธันวาคมคศ. 1893 หลังจากเกิดปฏิัวัติซินไอ่ เขาได้สมัครเป็นทหารในกองทัพใหม่เป็นเวลาครึ่งปี เมื่อปี 1914-1918 นายเหมา เจ๋อตงได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยครูที่หนึ่งของมณฑลหูหนัน ก่อนสำเร็จการศึกษา ได้ร่วมกับนายชั่ย เหอเซินจัดตั้งสมาคมประชาธิปไตยแผนใหม่ ซึ่งเป็นคณะผู้ร่วมปฏิวัติ ในช่วงของการเคลื่อนไหวขบวนการ 4พฤษภาคม ได้ศึกษาและยอมรับลัทธิมาร์กซ์ และเมื่อปี 1920 ได้จัดตั้งองค์การลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มณฑลหูหนันขึ้น
เมื่อเดือนกรกฏาคมปี 1921 นายเหมา เจ๋อตงได้เข้าร่วมการประชุมผู้แทนทั่วประเทศจีนครั้งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ต่อจากนั้น ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเขตมณฑลหูหนันของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชี้นำการเคลื่อนไหวของกรรมกรในเมืองฉางซาและเมืองอันหยวน เป็นต้น เมื่อปี 1923 นายเหมา เจ๋อตงได้เข้าร่วมการประชุมผู้แทนทั่วประเทศจีนครั้งที่ 3ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมธิการบริหารส่วนกลาง เข้าร่วมงานชี้นำของส่วนกลาง หลังจากพรรคก๊กมิ่นตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนบรรลุความร่วมมือเมื่อปี 1924 นายเหมา เจ๋อตงได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารส่วนกลางสำรองในการประชุมผู้แทนทั่วประเทศจีนครั้งที่ 1และครั้งที่ 2ของพรรคก๊กมิ่นตั๋ง และเคยดำรงตำแหน่งเป็นว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงประชาสัมพันธ์ส่วนกลางพรรคก๊กมิ่นตั๋งที่เมืองกวางโจว เป็นผู้อำนวยการ"วารสารสัปดาห์การเมือง" และจัดบรรยายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวให้แก่ชาวนาครั้งที่ 6 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1926 นายเหมา เจ๋อตงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการเคลื่อนไหวชาวนาของคณะกรรมการส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ระหว่างฤดูหนาวเมื่อปี 1925จนถึงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 1927 นายเหมา เจ๋อตงได้เผยแพร่บทประพันธ์"การวิเคราะห์ชนชั้นต่างๆในสังคมจีน"และ"รายงานว่าด้วยการสำรวจการเคลื่อนไหวของชาวนาในมณฑลหูหนัน" เป็นต้น และชี้ให้เห็นว่า ปัญหาชาวนามีฐานะสำคัญในการปฏิรูปของจีนและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่ชนชั้นกรรมาชีพชี้นำการต่อสู้ของชาวนา และได้วิจารณ์ความคิดฝ่ายขาวของนายเฉิน ตู๋สิ้ว
1  2