China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2004-09-21 19:24:16    
เรือสำเภาจีน

cri
เรือสำเภาจีนแบบทั่วไปมีท้ายเรือสูงและยื่นออกไป หัวเรือต่ำใช้ใบแขวนชนิดที่มีพรวนใบ (ก้างใบ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่

ใบแขวนแบบจีนนี้มีใช้กับเรือต่าง ๆ หลายชนิดในแถบเอเชียอาคเนย์ และถ้าเป็นเรือสำปั้นจะมีดาดฟ้ายกท้ายเรือ และใช้ใบชนิดที่มีพรวนใบ เรือสำเภาบางลำก็ติดเครื่องยนต์และไม่ใช้ใบ ส่วนเรืออื่น ๆ ใช้ใบแขวนชนิดตั้ง (ขอบล่างของใบข้างหนึ่งผูกยึดกับโคนเสา) มีคำนิยามที่ถูกต้อง

เกี่ยวกับเรือสำเภาอยู่เพียงไม่กี่ความหมาย ในพจนานุกรมเล่มใหม่ของเวบสเตอร์เขียนไว้ว่า "Junk" มาจากภาษาโปรตุเกสว่า "Junco" ซึ่งแผลงมาจากภาษาชวาว่า "Jon" หมายถึงเรือที่มีลักษณะคล้ายกับเรือที่ใช้กันอยู่ในน่านน้ำจีน และประเทศใกล้เคียงซึ่งมีรูปร่างป้าน เก๋งท้ายสูงมากและท้ายเรือยื่นออกไปส่วนกระดูกงูเล็กเรือไม่มีเลย เสากระโดงมักสูง และใช้ใบแขวนที่มีพรวนใบขนาบขวางยาวตลอดคำนิยามนี้ไม่รวมถึงเรือสำเภาทางแถบภาคใต้ของประเทศจีนซึ่งมีรูปร่างโค้งเรียว ไม่ป้านคล้ายกับเรือแบบดั้งเดิมของเวียดนามใต้ เขมร และประเทศไทย ที่มีรูปร่างไม่ป้าน

และลักษณะอื่น ๆ ที่คล้ายกันอีกหลายอย่าง ส่วนมากใช้ใบแขวน (ไม่มีพรวนใบ) ใบแขวนชนิดตั้งหรือไม่ใช้ใบเลยเวนส์ ได้กล่าวว่า คำว่า "Junk" มาจากคำว่า "djong" ในภาษามลายู แปลว่า "เรือใบ" มีการโต้แย้งกันถึงข้อแตกต่างระหว่าง "เรือสำเภา" กับ "เรือสำปั้น" ฮอร์เนลล์ ผู้ได้ศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลานานกล่าวว่า "เรือสำปั้น"ก็เหมือนกับ "เรือสำเภา" ซึ่งได้ดัดแปลงมาจากแพมากกว่าเรือขุด ("สำปั้น" เป็นภาษาจีนแปลว่า "ไม้กระดาน" 3 แผ่น") ดังนั้นจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นเรือสำเภาขนาดเล็ก คำนิยามของจีนซึ่งได้มาจากแคว้นสือเหนือนั้นกล่าวว่า "เรือสำปั้น"เป็นเรือที่มีขนาดแคบมากจนไม่สามารถจะนำเอากระบือลงไปยืนขวางลำเรือได้ วอร์เซสเตอร์ ได้ให้ข้อแตกต่างระหว่างเรือทั้งสองชนิด เป็นการเพิ่มเติมอีก โดยให้ถือความยาวของเรือขนาด 9 ม. (30 ฟุต) เป็นการแบ่งระหว่าง "เรือสำเภา" กับ "เรือสำปั้น"

ลักษณะของเรือสำเภาจีน

เนื่องจากเรือสำเภาจีนมีรูปร่างลักษณะที่ผสมกันหลายอย่างทั้งแบบของเรือ การต่อเชือกเสาเพลาใบ และการใช้งาน จึงเป็นการยาก

ที่จะกำหนดลงไปได้ ยิ่งกว่านั้นเรือสำเภาจีนยังมีอยู่มากมากหลายชนิด เรือประมงของชาวนิ่งโปนั้นหัวเรือท้ายเรือมีลักษณะคล้ายกันและรูปร่าง

ตัวเรือโค้งคล้ายวงเดือน ส่วนเรือสินค้าของชาวฟูเจี้ยน มีรูปร่างใหญ่โตเทอะทะเรือทั้งสองชนิดนี้มีส่วนที่คล้ายกันน้อยมาก โดยทั่วๆ ไปเรือสำเภา

ทางภาคใต้ของจีนมีหัวเรือแหลมตัวเรือโค้ง และกินน้ำลึก เหมาะที่จะใช้เดินในน่านน้ำลึก ๆ ที่มีฝั่งเป็นหิน ส่วนเรือสำเภาทางภาคเหนือของจีนนั้น

ต่อขึ้นเพื่อ ใช้เดินตามแม่น้ำตื้น ๆ ที่มีฝั่งเป็นทราย จึงมีหัวเรือป้าน (รูปร่างทึบคล้ายหีบ) และท้องแบน ดังได้แสดงรูปร่างลักษณะของเรือสำเภาจีน

ไว้ในรูป

การต่อตัวเรือ

เรือสำเภาจีนตัวเรือไม่มีกระดูกและกง ส่วนเรือแบบยุโรปนั้นต่อโดยวางกระดูกงูก่อน และประกอบทวนหัวและทวนท้ายเข้ากับกระดูกงูติดกงตั้งที่มีลักษณะโค้งขวางเข้ากับแนวตามยาวของกระดูกงู แล้วจึงปูไม้กระดานปิดทับลงบนกง แต่ตรงข้ามกับเรือสำเภาจีนซึ่งตัวเรือจะยึดอยู่ด้วย

ผนังกั้นห้องตาม ขวางของเรือ โดยใช้แผ่นกระดานตียึดไว้อย่างแข็งแรง จึงเท่ากับเป็นการแบ่งตัวเรือออกเป็นห้อง ๆ และกันนำได้ด้วยผนังกั้นห้องดัง

กล่าวแล้ว

การออกแบบตัวเรือ

เรือสำเภาจีนซึ่งมีลักษณะท้องแบนและไม่มีกระดูกงูนี้ สามารถแล่นในน้ำตื้นๆ ได้ และหากเคยตื้นก็ยังคงตั้งยู่ได้ ตัวเรือแบบนี้ง่ายใน

การซ่อมบำรุง และการซ่อมทำเพราะไม่ต้องเอียงเรือหรือนำเรือเข้าอู่แห้ง เนื่องจากมีดาดฟ้ายกท้ายเรือสูงและยื่นออกไป จึงทำให้คนถือท้ายเรือมอง

เห็นภาพทางหัวเรือได้ชัดเจน เมื่อเกิดลมพายุก็จะช่วยให้หัวเรือหันสู้ลมได้ดี นอกจากนี้ท้ายเรือสูงยังช่วยรับลมและป้องกันคลื่นซัดเข้าเรืออีกด้วย

เรือสำเภาจีนขนาดเล็กบางลำมีท้ายเรือเปิดโล่ง จะตักน้ำเข้าเรือเมื่อเวลามีคลื่นลมจัด เป็นการช่วยถ่วงเรือทำให้หัวเรือชิดขึ้นส่วนท้ายเรือคงเดิม

หางเสือ

โดยเหตุที่เรือสำเภาจีนเป็นเรือไม่มีกระดูกงู จึงทำให้แล่นก้าวไม่ดี ข้อเสียอันนี้แก้ไขได้ด้วยการหย่อนหางเสือลงไป หางเสือนี้มีรูปร่างคล้ายบานประตูกว้างใหญ่ จะใช้รอกหย่อนลงไปและยึดเอาไว้เพื่อทำหน้าที่เป็นกระดูกงู และแกนหางเสือขยับขึ้นลงได้ภายในช่องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ทางท้ายเรือ ที่แผ่นหางเสือมักเจาะเป็นรู ๆ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เพื่อให้มีน้ำหนักเบาและหมุนในน้ำได้สะดวกขึ้น

เรือสำเภาจีนขนาดเล็กนี้นอกจากจะมีหางเสือที่สามารถดึงขึ้นลงได้แล้ว ก็มักมีแผ่นไม้ที่ยื่นลงไปในน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เรือเซตกไปทางข้างคือ

Centerboard, daggerboard . leeboard อีกด้วย

ใบและเชือกเสาเพลาใบ

ใบบรรดาใบเรือแบบต่าง ๆ ด้วยกันแล้ว ใบแขวนชนิดห้อย (มุมล่างของใบไม่ยึดกับโคนเสา) ของจีนดูเหมือนจะใช้การได้ดีที่สุด

ใบที่มีพรวนใบ (ก้างใบ) ยาวตลอดความกว้างของใบนี้มีลักษณะตึงเรียบ เช่นเดียวกับใบของเรือยอชท์ที่ใช้แข่งกันในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้แล่น

ก้าวได้ดี พรวนใบแต่ละอันจะติดกับขอบข้างของใบด้านที่อยู่ห่างเสา ทั้งนี้เพื่อให้บังคับใบได้ทุกส่วน ในขณะที่ดึงใบเมื่อแล่นเฉียงลม มุมบนของ

ใบด้านที่อยู่ห่างเสาจะอยู่ในแนวเดียวกับขอบล่างของใบ ผิดกับใบของชาวตะวันตกเมื่อดึงใบเข้ามามาก ๆ มุมบนของใบดังกล่าวจะลู่ไป เมื่อมีลม

แรงก็ไม่ต้องลดใบ คงเพียงแต่ริบใบลงบ้างเท่านั้นเมื่อหย่อนเชือกชักใบใหญ่ลง พรวนใบก็จะลงมากองซ้อน ๆ กันอยู่ในระหว่างเชือกม้วนใบ

เช่นเดียวกับมู่ลี่หน้าต่าง ปลายพรวนใบด้านที่อยู่ใกล้เสาจะผูกยึดไว้กับเสากระโดง การผูกจะผูกแน่นเลยหรือผูกหลวม ๆ ก็ได้ การออกแบบเชือก

เสาใบทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้สามารถควบคุมใบเรือได้โดยสมบูรณ์และเพื่อกระจายน้ำหนังของใบให้ไปลงที่เสากระโดง ด้วยเหตุผลอันนี้เองเสากระโดง

ขนาดใหญ่ ๆ จึงไม่มีสายยึดสะวาย ฟอระดี หรือบน บรันเลย และเนื่องด้วยเรือสำเภาจีนไม่มีสายยึดเกะกะจึงสามารถกลับใบอยู่กับที่ได้โดยไม่ต้อง

แล่นตีวงกว้าง และไม่ต้องเกรงว่าเสาจะหัก

กำเนิดของสำเภาจีน

น่าประหลาดที่ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับกำเนิด และวิวัฒนาการของเรือสำเภาจีนเลย และยังไม่เป็นที่เชื่อแน่ว่าชาวจีนเป็นผู้สร้าง

เรือนี้ขึ้นเอง หรือเอาแบบอย่างมาจากชาติอารยะอื่น ๆ นอกจากนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเรือนี้มีอายุเท่าใดและรูปร่างลักษณะของเรือที่

แตกต่างกัน นั้นได้เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด การศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในทางประวัติศาสตร์ มิได้ช่วยให้พบหลักฐานใด ๆ เกี่ยวกับ

"เรือสำเภา" แบบั้งเดิมเลย หากจะคล้อยตามความคิดเป็นของฮอร์เนลล์ที่ว่า "เรื่อสำเภา" นั้นวิวัฒนาการมาจากแพมากกว่าเรือขุด ก็จะทำ

ให้ไม่ทราบประวัติของเรือนี้เลย ปีเอตรี ได้อ้างถึงตำราของชาวจีนที่เก่าแก่เล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง กล่าวว่าวิธีการต่อ

"เรือสำเภา" นั้นมีมาแต่สมัยโบราณในอ่าวเปอร์เชีย และชาวเปอร์เชียหรือชาวอินเดียเป็นผู้ใช้เรือนี้เป็นผู้ใช้เรือนี้เป็นครั้งแรกเพื่อเดิน

เรือไปยังทะเลจีนทั้งนี้ก็เป็นการยากที่จะเชื่อได้ว่าชาวเปอร์เชียหรือชาวอินเดียก็ดีที่ได้ต่อเรือใบนี้ขึ้นแล้วจะเลิกแบบอย่างที่ดีนี้เสียโดยไม่

ทิ้งหลักฐานในทางโบราณคดีไว้เลย ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าไม่เคยปรากฏหลักฐานใดๆ ที่เกี่ยวกับ "เรือสำเภา" มาก่อนเลยแม้ว่าเรือนี้จะมีคุณสมบัติ

ในทางแล่นด้วยใบได้ แต่บรรดาชาติต่าง ๆ ไม่เคยนำเอาไปใช้เลยไม่ว่าจะเกี่ยวกับเชือกเสาเพลาใบหรือตัวเรือก็ตามนอกจากชาติในเอเชีย

อาคเนย์ได้แก่ สาธารณรัฐเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือ ประเทศกัมพูชา ไทย สหพันธ์มาเลเชีย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เรือนี้เคยเป็น

ที่นิยม แพร่หลายกันในประเทศญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่นานนักในบางโอกาสจะพบว่าเรือเล็กของฟิลิปปินส์ใช้ใบแขวนแบบจีนแต่ก็ไม่มากนัก

เรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ "เรือสำเภา" นับว่ายังไม่เพียงพอแต่ก็สามารถสรุปได้จากการศึกษาค้นคว้าของบุคคลเหล่านี้

คือ บัคเนลล์ วอร์เซสเตอร์,วิลลี่เออรส์, คัสสัน, แลนด์สตรอม, โดเนลลี ,เวลลส์ ,และเมส ดังนี้

ปี พ.ศ.1841 มาร์โคโบโล ได้บรรยายถึงเรือใหญ่ลำที่เขาโดยสารไปยังตะวันออกในการเดินทางตอนหนึ่งว่า เป็นเรือใบ 4 เสา มีห้องที่กั้นน้ำด้วยฝาผนัง 13 ห้อง ห้องพักส่วนตัวสำหรับพ่อค้าที่มั่งคั่ง 60 ห้อง และเป็นเรือที่มีหางเสืออยู่ตรงทวนท้ายเรือ นับว่าเป็นการแนะให้โลกตะวันตกได้รู้จักเรือสำเภาจีน

นักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมได้รายงานว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ได้มีผู้พบเรือของจีนอยู่ในแม่น้ำยู เฟรติส สิ่งที่แสดงถึง "เรือสำเภา" ที่เก่าแก่ที่สุดก็คือภาพแกะสลักภายในโบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชาซึ่งประมาณว่าราว พ.ศ. 1693 เรือจีนที่ใช้ใบหัวและใบท้ายราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ พ.ศ. 243-342) มีอายุก่อนเรืออื่น ๆ 1500 ปี เรือจีนที่มีหางเสือตรงทวนท้ายอันเดียวราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ พ.ศ. 143-242) มีอายุก่อนเรือแบบอื่น ๆ 1500 ปี เช่นเดียวกัน ชาวจีนได้ต่อเรือที่มีแผ่นไม้เรียกว่า Centerboard หรือ drop keel (กระดูกงูที่สามารเอาขึ้นลงได้) บางลำก็มี leeboard และได้ใช้ทั้งสองสิ่งนี้มา ก่อนชาวฮอลันดาการสร้างเรือสำเภาจีนโดยใช้ผนังกั้นเป็นห้องหลาย ๆ ห้อง และกันน้ำได้นี้นับว่ามีความสำคัญมาก และเป็นเวลาก่อนที่ชาวยุโรปจะรู้จักและ นำเอามาใช้ต่อเรือเหล็ก ในศตวรรษที่ 19 หลายพันปี

ชาวจีนเป็นผู้ประดิษฐ์ใบแขวนชนิดห้อยและมีพรวนใบ แต่เรือชนิดอื่นไม่เคยนำไปใช้กันเลยนอกจากชาวยุโรปและชาวอเมริกันที่ได้นำ มาใช้กับเรือยอชท์และเรือใบแข่งขันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ราว พ.ศ. 943 ปรากฏว่ามีเรือสำเภาจีนหลายลำที่มีความยาวตลอดลำ 60 ม. และสามารถบรรทุกคนได้ 600 คน ราว พ.ศ.1843 "เรือสำเภา" มีดาดฟ้า 4 ชั้น ใช้ใบ 3 ถึง 13 ใบ และบรรทุกคนได้ 1000 คน ใน พ.ศ.1943 มี "เรือสำเภา" ขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดระวางบรรทุก 800 ถึง 1000 ตัน