"เยาวชนเส้นทางสายไหม" กดไลค์จีน ความรักความผูกพันต่อปักกิ่งของนางเหลียนน่า จิตรกรยูเครน

2018-07-19 09:17:27 | CRI
Share with:
 

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ รายงานว่า เยาวชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากประเทศรายทางหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แม้ว่าระยะทางนั้นห่างไกล แต่มีความใกล้ชิด พวกเขาอาจจะมาเรียนหรือท่องเที่ยวในประเทศจีน อาจจะมาทำงานหรือบุกเบิกธุรกิจ แม้กระทั่งบางคนอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายปีแล้ว จนมีความผูกพันกับจีนอย่างมาก พวกเขาได้เห็นกับตาถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของจีนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้แบ่งปังความรู้สึกฝ่ายมุมมองของตนเองในกิจกรรม "กดไลค์จีน"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอ จัดกิจกรรม "เยาวชนเส้นทางสายไหม" กดไลค์จีน โดยมีการสัมภาษณ์กลุ่มเยาวชนดังกล่าว เพื่อฟังพวกเขาเล่าเรื่องเมืองจีนผ่านมุมมองของเขาเอง

นางเอกของวันนี้ คือ นางเหลียนน่า หลิว จิตรกรชาวยูเครน เธอเกิดที่เมืองเคียฟ ประเทศยูเครน หลังจากสำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์ยูเครนแล้ว เธอได้ทำงานวิจิตรศิลป์ทั้งด้านภาพยนตร์ โทรทัศน์ ละครพูด ละครเพลง และบัลเล่ต์ นอกจากนี้ ภาพสีน้ำมันของเธอยังเคยถูกจัดแสดงที่งานนิทรรศการวิจิตรศิลป์นานาชาติอีกด้วย

"เยาวชนเส้นทางสายไหม" กดไลค์จีน ความรักความผูกพันต่อปักกิ่งของนางเหลียนน่า จิตรกรยูเครน

เหลียนน่า แนะนำภาพวาดของเธอให้กับผู้สื่อข่าว ถ่ายภาพโดย หลี่เยว่

นายหลิว เสวี้ยน สามีของเหลียนน่าเป็นชาวปักกิ่งที่มีสายเลือดรัสเซีย ปี ค.ศ. 2004 เหลียนน่าเดินทางมายังประเทศจีนและใช้ชีวิตกับหลิว เสวี้ยน จนตั้งถิ่นฐานที่ปักกิ่ง เหลียนน่า บอกว่า ปักกิ่งพัฒนาเร็วมาก หลายปีมานี้ เธอได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของปักกิ่งอย่างแท้จริง ความสะดวกสบาย บรรยากาศวัฒนธรรมและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่เปิดกว้างและคึกคักทำให้เธอพลัดพรากจากปักกิ่งไม่ได้

"เยาวชนเส้นทางสายไหม" กดไลค์จีน ความรักความผูกพันต่อปักกิ่งของนางเหลียนน่า จิตรกรยูเครน

ภาพวาดของเหลียนน่า ชื่อ "เซียงโฉว" หรือ "ความคิดถึงบ้าน" ถ่ายภาพโดย หลี่เยว่

เหลียนน่า บอกว่า การใช้ชีวิตในจีนมีบทบาทต่องานจิตกรรมของเธอเป็นอย่างมาก อาทิ ในภาพวาดชื่อ "เซียงโฉว" ของเธอนั้น นกกระเรียนขาวของจีนกับสาวน้อยยูเครนได้ร่วมสร้างบรรยายภาพในฝันที่แฝงไว้ด้วยความเศร้า เหลียนน่ากล่าวว่า ฉันได้ซึมซับเทคนิกจากภาพวาดจีนและแบบกงปี ซึ่งเป็นสไตล์จีนแบบมีโครงร่าง ปรัชญาวัฒนธรรมจีนได้ส่งผลต่องานจิตกรรมของฉันด้วย ปัจจุบัน เหลียนน่าได้เปิดหลักสูตรวาดภาพที่ปักกิ่งแล้ว ในระหว่างที่เธอเปิดสอน เหลียนน่ามีโอกาสได้รู้จักนักเรียนคนหนึ่งที่มีอายุและอาชีพต่างกัน ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวทำให้เธอรู้สึกสบายและสุขใจ

สุดท้าย เหลียนน่าเล่าถึงความผูกพันของเธอที่มีต่อปักกิ่งและประเทศจีนว่า ที่นี่มีสิ่งให้ค้นพบอยู่เสมอ เธอต้องกดไลค์ปักกิ่ง กดไลค์จีน เธอรู้สึกโชคดีมากที่มีครอบครัวที่นี่จนผูกพันกับปักกิ่งและจีน หวังว่าบุพเพสันนิวาสดังกล่าวจะเปรียบดั่งแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจิตกรรมของเธอ

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

系统管理员