นักวิชาการชาติลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงหารือ ลงลึกความร่วมมือสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน

2018-09-27 21:59:21 | CRI
Share with:

เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา การประชุมภาคตะวันตกเฉียงใต้ (ซีหนาน) ครั้งที่ 9 และการประชุมคลังสมองความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงครั้งที่ 2 เปิดฉากขึ้นที่เมืองต้าหลี่ มณฑลหยุนหนานของจีน ผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการจาก 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (จีน ลาว เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม) และสิงคโปร์ ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ตลอดจนการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของจีนกับอาเซียน

การประชุมครั้งนี้ร่วมกันจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยหยุนหนาน มหาวิทยาลัยต้าหลี่ของจีน และสถาบันเอเชียตะวันออกแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์(National University of Singapore,NUS)

ศ.ดร.หยาง หลิน เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมหาวิทยาลัยหยุนหนานระบุว่า ปี 2018 เป็นปีครบรอบ 15 ปีหุ้นส่วนความร่วมมือจีน-อาเซียน และเป็นจุดสำคัญของความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่ก้าวจากช่วงบ่มเพาะสู่ช่วงการเจริญเติบโต การประชุมครั้งนี้จะมุ่งประเด็นการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของจีนกับอาเซียน และความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง สรุปและคาดการทิศทางใหม่ของความร่วมมือจีน-อาเซียน ตลอดจนช่องทางในการส่งเสริมความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงต่อไปในอนาคต

(YIM/LING/ZHENG)

  • เสียงข่าวประจำวัน (04-05-2567)

  • เกาะกระแสจีน (04-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (03-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (03-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (03-05-2567)

林钦亮