จีนมีประชากรผู้สูงวัยมากขึ้นทุกปี จนถึงปลายปี 2016 จีนมีผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจำนวนกว่า 230 ล้านคน เป็นประเทศเดียวที่มีผู้สูงวัยมากกว่า 200 ล้านคน
ตามความเห็นทั่วโลก เมื่อประเทศหรือเขตแคว้นใดมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 10% ของประชากรทั้งหมด หรือคนชราอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็น 7% ของจำนวนประชากร ก็หมายถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว
คาดว่า ถึงปี 2050 จีนจะมีประชากรผู้สูงอายุถึงประมาณ 480 ล้านคน เป็นประมาณ 40% ของผู้สูงอายุทั้งหมดของเอเชีย 25% ของผู้สูงอายุทั่วโลก มากกว่าประชากรรวมของสหรัฐฯ อังกฤษและเยอรมัน 3 ประเทศด้วยซ้ำ ปัญหาผู้สูงอายุจะกลายเป็นการท้าทายใหม่ของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น มีกว่า 50% ดูแลตนเองไม่ได้ ถึงปี 2050 ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองไม่ได้ของจีนอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 18.75 ล้านคน ดังนั้น กิจการดูแลผู้สูงอายุ สร้างระบบและพัฒนาอุตสาหกรรมผู้สูงอายุทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพสูงจึงเป็นช่องทางการลดภาระการดูแลผู้สูงอายุของสังคมจีน
การดูแลผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่การให้เงิน หรือจัดให้อยู่ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเท่านั้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ ความโดดเดี่ยว สำหรับคนรุ่นใหม่ ปัญหาที่น่าปวดหัวไม่เพียงแต่เป็นการเลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ หากยังมีการเลี้ยงตัวเองด้วย ในจีนปัจจุบัน ราคาบ้านยังไม่ทันลดลง ค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นก่อน ซึ่งอาจเป็นความยากลำบากที่ใหญ่ที่สุดสำหรับหนุ่มสาวที่ทำงานในเมืองใหญ่
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ หนุ่มสาวที่เกิดหลังทศวรรษปี1990 หรือเรียกว่า “หลัง 90” แย่งกันย้ายเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ ซึ่งคิดค่าเช่าเพียง 300 หยวนต่อเดือนเท่านั้น
สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ทำไมคนหนุ่มสาวพากันเข้าอยู่? เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ในสถานสงเคราะห์คนชรา ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา กระทั่งมีบรรยากาศค่อนข้างเศร้า บางคนดูแลตนเองไม่ได้ บางคนเห็นใจลูก ไม่อยากเป็นภาระของลูก สมัครเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใด มีลักษณะเดียวกันคือ ความโดดเดี่ยว ส่วนคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวที่ทำงานในเมืองใหญ่ ก็มีความโดดเดี่ยวเช่นกัน พวกเขาใช้ประมาณครึ่งหนึ่งของเงินเดือน เช่าบ้านที่ไม่มีวันจะเป็นของตนเองได้ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุกับคนรุ่นใหม่มีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน แต่ล้วนต้อเผชิญหน้ากับปัญหาความโดดเดี่ยว
สถานสงเคราะห์คนชรา ลวี่คางหยางกวาง ของเมืองหางโจว เป็นสถานสงเคราะห์คนชราขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองหางโจว ดูแลคนชรากว่า 600 คน แต่เมื่อไม่นานมานี้ สถานสงเคราะห์คนชราแห่งนี้ ได้ย้ายเข้าหนุ่มสาวหลัง 90 จำนวนหนึ่ง พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษมาก ค่าเช่าเพียง 300 หยวนต่อเดือน อยู่ใน “ห้องมาตรฐานแบบโรงแรม” เนื้อที่ 30 ตาราเมตรได้ แต่มีเงื่อนไขบังคับคือ แต่ละเดือนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครให้บริการคนชราในสถานสงเคราะห์อย่างน้อย 20 ชั่วโมง สามารถเข้าร่วมราตรีเพื่อฉลองเทศกาล พาคนชราออกข้างนอกไปเดินเล่น ออกกำลังกลาย สอนคนชราใช้สมาร์ตโฟน เขียนพู่กันจีน วาดภาพ เป็นต้น
เมื่อต้นปีนี้ ทางสถานสงเคราะห์ประกาศรับสมัครคนรุ่นใหม่ทั่วทั้งสังคม ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว หลังผ่านการคัดเลือกแล้ว มีหนุ่มสาว 20 คนเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ เพื่อวินิจฉัยว่า หนุ่มสาวเหล่านี้มีใจรักต่อคนชราหรือไม่ และมีเวลาพอที่จะเป็นเพื่อนกับคนชราหรือไม่ คนชราในสถานสงเคราะห์ต้อนรับ “เพื่อนวัยรุ่น” และชีวิตของพวกก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา
การให้หนุ่มสาวเช่าห้องที่เหลือในค่าเช่าต่ำ เพื่อแลกกับการอยู่เคียงข้างกับคนชรา เรียกว่า โครงการ “อยู่เคียงข้าง”
นายหยาง หยุนไห่ เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมื่อปี 2013 ก็มาเช่าห้องที่สถานสงเคราะห์แล้ว ร่วมกับเพื่อนเปิดห้องเรียนศิลปกรรมเด็ก เขาสอนการเขียนพู่กันจีนและการวาดภาพน้ำหมึกจีน ขณะนี้ นอกจากเด็กแล้ว เขายังมีนักเรียนผู้สูงอายุอีก 10 กว่าคน ทุกวันเสาร์ บ่าย 2 โมงครึ่ง ผู้สูงอายุกว่า 10 คนจะนั่งอยู่ในห้องเรียนอย่างตรงเวลา หากนักเรียนเขียนลายมือพู่กันจีนอย่างดี นายหยางหยุนไห่จะชื่นชม ถ้าเขียนไม่ดี เขาจะชี้ให้เห็นและสอนอย่างใจเย็น หลังเลิกเรียน เขายังจะจัดการบ้านให้นักเรียนกลับไปเขียนที่บ้าน
นายหลี่ เสี่ยวหยางมีเวลาก็สอนคนชราใช้สมาร์ตโฟน ใช้โซเซลมีเดีย อย่างเช่นWeChat คุณยายหวังอยู่ในเมืองหางโจว แต่ลูกชายทำงานในกรุงปักกิ่ง นายหลี่ เสี่ยวหยางก็สอนคุณยายหวังใช้ WeChat คุยกับลูกชายเพื่อหายคิดถึง
ส่วยนางสาวช่าย จิ้งหรูการเข้าร่วมโครงการ “อยู่เคียงข้าง” นี้ เป็นวาสนาพิเศษ
เพราะเวลานั้น คุณยายของเธอเพิ่งเสียไม่นาน การอยู่กับคนแก่ด้วยกัน ทำให้เธอรู้สึกอบอุ่นใจเหมือนได้สืบทอดความรักกับคุณยายต่อไปได้ และก็สามารถเรียนและฝึกซ้อมการดูแลพ่อแม่ของตนเอง
หลังจากหนุ่มสาวเหล่านี้ย้ายเข้าสู่สถานสงเคราะห์แล้ว คนชรามีรอยยิ้มมากขึ้นอย่างเห็นได้ คนรุ่นใหม่ไล่ความโดดเดี่ยวของคนชราออกไป และนำชีวิตชีวาเข้าสู่สถานสงเคราะห์ ส่วนคนแก่ก็ยินดีแบ่งบันประสบการณ์ของชีวิตให้กับหนุ่มๆ สาวๆ ให้ข้อเสนอและให้กำลังใจแก่พวกเขา ทำให้พวกเขาเข้าใจชีวิตได้มากขึ้น
ในโลกนี้ ไม่ว่าปู่ย่าตายาย พ่อแม่หรือเราตนเอง ไม่มีใครหนีจากการตายและแก่ลงได้ “คุณเป็นเพื่อนฉันโตขึ้น ฉันเป็นเพื่อนคุณแก่ลง” ไม่น่าจะเป็นเพียงคำโฆษณาที่เพราะเท่านั้น หากยังควรเป็นการปฏิบัติที่จริงด้วย “จะดูแลพ่อแม่ที่แก่ลงอย่างไร และเมื่อเราแก่ลง ใครจะมาดูแลเรา?” ดูเหมือนเป็นปัญหาที่ยังอยู่ห่างไกล แต่ความจริง อีกไม่กี่ปี ก็คงเป็นปัญหาที่จะต้องคิดอย่างเร่งด่วนแล้ว สังคมจีนและรัฐบาลจีนกำลังพยายามแสวงหาวิธีการและรูปแบบการเลี้ยงดูแลคนชราที่ดีแบบใหม่ เพื่อให้คนแก่ไม่โดดเดี่ยว และให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงปัญหาผู้สูงอายุมากขึ้น
จริงๆ แล้ว ปีหลังๆ นี้ ในยุโรป เช่นเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์ ก็มีการให้คนรุ่นใหม่เข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ และในเมืองซีแอตเทิล(Seattle)ของสหรัฐฯ มีการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลในสถานสงเคราะห์คนชราด้วย