ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกร่วมแรงสร้างเขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก

2018-11-15 19:14:02 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_%5c%5c172.100.100.3%5ctemp%5c9500033%5c1%5c9500033_1_1_dab49661-7ce2-4621-a474-ae57afa5829c

เมื่อปีที่แล้ว   ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียน  จีน  เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  และอินเดียได้จัดการประชุมผู้นำความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค(RCEP) เป็นครั้งแรกที่กรุงมะนิลา  เมืองหลวงของฟิลิปปินส์  พร้อมออกแถลงการณ์ร่วม  หนึ่งปีให้หลัง ผู้นำของ 16 ประเทศดังกล่าวเปิดประชุมครั้งที่ 2 ที่สิงคโปร์อีก  และได้บรรลุความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า  การเจรจาว่าด้วย RCEP ได้รับผลคืบหน้าอย่างแท้จริง  และได้เข้าสู่ช่วงปิดท้ายแล้ว  ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างมุ่งที่จะเสร็จสิ้นการเจรจาให้ได้ภายในปี 2019  ซึ่งหมายความว่า  ข้อตกลงการค้าเสรีที่มีประเทศสมาชิกจำนวนมากที่สุดในโลก จะประจักษ์เป็นจริงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปีหน้า

ในที่ประชุมผู้นำ RCEP ของปีนี้  นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนระบุว่า  ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา  ด้วยการชี้นำของอาเซียนและการผลักดันของสิงคโปร์ประธานอาเซียนประจำปี 2018  การเจรจา RCEP ได้รับผลคืบหน้าอย่างแท้จริง  กระบวนการเจรจาได้คืบหน้าจาก 50 % เป็นถึงเกือบ 80% แล้ว

ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2012  ในที่ประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21  ผู้นำของประเทศต่างๆได้ร่วมลงนามกรอบความตกลง RCEP  ถือเป็นการเริ่มต้นของการเจรจา RCEP

อันที่จริง  ประเทศสมาชิก RCEP มีความไม่สมดุลกันทั้งด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและระดับการเปิดประเทศ  เพราะมีทั้งญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และก็ยังมีประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจยังคงล้าหลังอยู่  การให้ประเทศเหล่านี้บรรลุความเข้าใจร่วมกันได้ จึงต้องใช้เวลามากพอสมควร  ต่อการนี้  นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ระบุว่า  ด้วยความพยายามเกือบเป็นเวลาหนึ่งปี  การเจรจาเกี่ยวกับการอนุมัติเข้าถึงตลาดของประเทศสมาชิก RCEP ได้รับผลคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด  ปัจจุบันได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายแล้ว

การบรรลุซึ่งการเจรจา RCEP มีความหมายสำคัญยิ่ง 

ประการแรก)  RCEP จะมีส่วนเกื้อกูลต่อประชากรจำนวน 3,500 ล้านคนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในโลก  เมื่อได้บรรลุการเจรจา RCEP แล้ว  จะก่อให้เกิดเขตการค้าเสรีที่มีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  สามารถสร้างมวลรวมการผลิตภายในประเทศในมูลค่า 225,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

สอง)  RCEP เป็นความปรารถนาร่วมกันของประเทศกำลังพัฒนา  ถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรกระหว่างจีน  อินเดีย  ญี่ปุ่น  และเกาหลีใต้  บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลก  เป็นการยืนยันว่า  ประเทศเอเชียมีบทบาทเป็นผู้นำในการค้าโลก

และสาม) RCEP จะแสดงให้เห็นถึงคุณูปการของความสามัคคีของเอเชียที่มีต่อเศรษฐกิจโลก  หากประเทศเอเชียต่างสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันที่จะพิทักษ์และผลักดันพหุภาคีนิยมและการค้าเสรี ย่อมจะเป็นพลังขับเคลื่อนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอีกด้วย อาจเป็นไปได้ว่าการเจรจา RCEP ไม่เพียงแต่จะสิ้นสุดลงในปี 2019 เท่านั้น  หากยังจะมีผลบังคับใช้ในปี 2019 ด้วยก็เป็นได้

 

(Yim/Zhou/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

周旭