สหภาพยุโรปจัดการประชุมวิสามัญลงมติร่างข้อตกลงถอนตัวของอังกฤษ

2018-11-23 19:51:29 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20181123ygto1

 

วันที่ 25 พฤศจิกายน สหภาพยุโรป หรืออียู จะจัดการประชุมวิสามัญเพื่อลงมติผ่านร่างข้อตกลงการถอนตัวจากอียูของอังกฤษ ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีอังกฤษได้ผ่านร่างข้อตกลงความยาว 585 หน้าฉบับนี้แล้วโดยเห็นว่า เป็นฉบับที่ดีที่สุดสำหรับการเจรจา และที่สำคัญกว่านั้นคือ ในที่ประชุมวิสามัญครั้งนี้ นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และอียูยังจะประกาศ “แถลงการณ์ทางการเมือง” เกี่ยวกับอนาคตความสัมพันธ์แบบทวิภาคีภายหลังอังกฤษถอนตัวจากอียู

เพื่อทำให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ วันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นางเทเรซา เมย์ ได้เดินทางไปยังกรุงบรัสเซล เพื่อเจรจากับนายฌองโคลด จุงเกอร์ ประธานสหภาพยุโรป แม้จะไม่มีการเปิดเผยเนื้อหาของการเจรจา แต่โฆษกคณะกรรมการสหภาพยุโรประบุว่า การเจรจามีความคืบหน้าที่ดีมาก

ความจริงแล้ว ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายยังไม่ได้รับการแก้ไขโดยสิ้นเชิง  ความขัดแย้งเหล่านี้รวมถึง การแบ่งสิทธิการทำประมงในน่านน้ำที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิกอียู “การเรียกร้องอธิปไตยเหนือดินแดน” ยิบรอลตาร์ ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตลอดจนการค้าระหว่างอังกฤษกับอียูในอนาคต นางเทเรซา เมย์ กล่าวภายหลังการเจรจาว่า “เราได้อภิปรายถึงปัญหาอื่น ๆ ด้วย โดยวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายนนี้ จะมีการหารือกันอีกครั้ง รวมถึงการอภิปรายร่วมกับประธานอียูเกี่ยวกับการทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี”

เนื้อหาของร่างข้อตกลงฉบับนี้กำหนดให้อังกฤษถอนจากสหภาพยุโรปทางนิตินัย แต่ความเป็นจริงคือ จะมีการรับประกันให้อังกฤษอยู่ในอียูต่อไป เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างไอแลนด์เหนือ ดินแดนภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร และไอแลนด์ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอียู ร่างข้อตกลงฉบับนี้ได้จัดแผนกันชน คือ หากสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ อังกฤษและไอแลนด์เหนือของอังกฤษจะต้องอยู่ในภายใต้ระบบภาษีอากรของอียู และตลาดอียูต่อไป จนกว่าจะตกลงกันได้ในที่สุด เพื่อรับประกันไม่ให้มีการกำหนดเขตแดนขึ้นใหม่ระหว่างไอแลนด์และไอแลนด์เหนือของอังกฤษ ตลอดจนรักษาการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนบุคคลและสินค้าอย่างเสรี

ดังนั้น แผนกันชนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเส้นตายของทั้งอังกฤษและสหภาพยุโรปในการรักษาสภาพปัจจุบันไว้ในอนาคต แม้สองฝ่ายจะมีการจัดการบริหารใหม่ แต่การไปมาหาสู่กันระหว่างบุคคลและการหมุนเวียนสินค้าระหว่างอียูกับอังกฤษจะยังคง  “ไม่แย่กว่าปัจจุบัน” หากเป็นเช่นนี้ อังกฤษจะถอนตัวหรืออยู่ในอียูต่อไปจะมีความหมายแตกต่างกันอย่างไรแน่

Tim/LR/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

刘榕