คุณแม่มือใหม่กับปัญหาผมร่วงและภาวะซึมเซร้า (1)

2018-12-03 17:21:35 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20181204(1)

หลังจากเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีคุณแม่หลายท่านบ่นเป็นเสียงเดียวกัน เหมือนนัดกันล่วงหน้าแล้วว่า พบปัญหาผมร่วงหลังคลอดลูก!

เช่น วันนี้รู้สึกว่าแนวผมขยับถอยร่นขึ้นไปอีกแล้ว หรือว่า ทุกครั้งที่เสยผมหรือหวีผมก็จะมีผมสิบกว่าเส้นร่วงหลุดติดมาด้วย หรือว่า ทุกครั้งที่สระผมจะเห็นในอ่างมีเส้นผมกองเป็นกระจุก หรือว่าบนพื้นไม่ว่าที่ไหนในบ้านก็จะเห็นมีเส้นผมร่วงไปทั่ว ฉันจะหัวล้านหรือไม่! เป็นต้น วันนี้ เราสองคนก็จะแนะนำ 3 วิธีแก้ปัญหานี้ให้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกทั้งหลายค่ะ

ก่อนอื่น คุณผู้ฟังควรตรวจสอบตัวเองก่อนว่ามีปัญหาผมร่วงจริงหรือไม่

ความจริง ผมร่วงเป็นสภาพการณ์ตามปกติของร่างกาย ซึ่งแต่ละวันจะมีเส้นผมหลุดร่วงประมาณ 100 เส้นเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น คงมีคุณผู้ฟังสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นผมร่วงตามปกติหรือผิดปกติกันแน่

วิธีการง่ายๆ ที่จะตรวจสอบ คือ ลองจับผมกระจุกเล็กๆ แล้วดึงเบาๆ หากมีผมร่วง 1-2 เส้นก็คือไม่มีปัญหา แต่หากลองดึงแล้วทุกครั้งมีผมร่วงมากกว่า 3 เส้น อาจจะมีปัญหาผมร่วงได้ แต่ว่าไม่ต้องกังวลมากเกินไป เพราะว่า ผมร่วงหลังคลอดลูกไม่ใช่โรค และจะไม่เป็นหัวล้าน

图片默认标题_fororder_20181204(2)

ถึงตรงนี้ อาจจะมีคุณผู้ฟังเกิดความสงสัยขึ้นอีกว่า ถ้าผมร่วงหลังคลอดลูกไม่ใช่โรค งั้นทำไมหลังจากคลอดลูกจึงมีผมร่วงมากกว่าเดิม สาเหตุอย่างหนึ่ง ก็คือ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้มีผมงอกใหม่มากขึ้น ผมที่ควรร่วงก็อาจไม่ร่วงตามปกติด้วย ดังนั้น พอหลังจากคลอดลูกแล้ว ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และผมใหม่งอกขึ้นไม่ทันเหมือนก่อนคลอด และผมที่มีมากก็กลับมาร่วงตามปกติอีก จึงรู้สึกว่าผมร่วงเยอะกว่าเดิม แต่ไม่ต้องห่วง การมีผมร่วงมากหลังคลอดลูกจะหยุดในประมาณปีครึ่ง

สาเหตุที่ 2 ที่ผมร่วงมากหลังคลอดลูกคือ นอนไม่พอ และมีแรงกดดันหรือเครียดมาก

เนื่องจากคุณแม่ต้องดูแลลูกทั้งกลางวันกลางคืน และอาจเจอกับปัญหาที่สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ มีความคิดเห็นในการเลี้ยงดูเด็กที่แตกต่างกันไป ดังนั้น คุณแม่มือใหม่อาจต้องเหนื่อยล้าทั้งกายและใจมากขึ้น จนรู้สึกมีความวิตกกังวลทางอารมณ์ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงมากกว่าเดิม ยังอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย

นอกจากนี้ หลังคลอดลูก คุณแม่หลายท่านอาจกังวลกับรูปร่างหรือหุ่นของตนที่เปลี่ยนแปลงไปมาก คุณแม่บางท่านอาจอยากจะกลับมาผอมเร็วๆ ดังนั้น จึงพยายามลดอาหาร ซึ่งการได้รับสารอาหารที่ไม่พอเพียง ก็จะทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้

图片默认标题_fororder_20181204(3)

10 อาการเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าของคุณแม่หลังคลอด

คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกน้อย หรือคนใกล้ชิดสามารถช่วยกันตรวจสอบดูว่า มีอาการภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือไม่จาก 10 ด้านดังต่อไปนี้ หากพบว่ามีมากกว่า 5 ด้าน และนานต่อเนื่องเป็นเวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็แนะนำว่าควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

1. มีอารมณ์หดหู่เศร้าหมอง - คุณแม่หลังคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกหดหู่เศร้าหมองเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในตอนเช้า และตอนเย็นจะมีอาการหนักยิ่งขึ้น บางคนมีสภาพที่กลางวันมีอารมณ์ซึมเศร้า ส่วนกลางคืนกลับรู้สึกคึกคักแทน

2. อารมณ์ร้อนหงุดหงิดง่าย - ผู้ป่วยอาจรู้สึกอารมณ์เสียกับลูกของตนหรือของคนอื่น และมักระบายอารมณ์ใส่สามีหรือคนใกล้ชิด

3. รู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย - สตรีที่เพิ่งคลอดลูกโดยทั่วไปย่อมจะรู้สึกอ่อนเพลียเป็นเรื่องปกติ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกจะยิ่งรู้สึกว่าตนเหนื่อยล้ามาก จนรู้สึกว่าตนเองเจ็บป่วยไม่สบาย

4. นอนไม่หลับ - ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับ จึงรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในช่วงกลางวัน

5. ไม่ค่อยมีความอยากอาหาร - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่มีอารมณ์อยากทานอาหาร แต่บางครั้งก็จะกินมากผิดปกติเพื่อผ่อนคลายความเครียดของตนเอง แต่หลังจากนั้นก็จะเกิดความรู้สึกผิดว่าตนอ้วนขึ้นและไม่สบายใจ

6 . หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ – ผู้ป่วยจะสูญเสียความสนใจกับเรื่องรอบกายหรือกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งที่เมื่อก่อนเคยชื่นชอบ แต่กลับรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องน่าเบื่อแทน หรืออาจจะรู้สึกว่าคิดเรื่องต่างๆไม่ทัน เบื่อหน่ายกับชีวิต ขาดความมั่นใจในตัวเอง รวมถึงหมดความสนใจในการมีเพศสัมพันธ์กับสามี ส่งผลต่อชีวิตคู่

7. ไม่สามารถจัดการกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนได้ - ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีเวลาไม่เพียงพอ สูญเสียแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพที่ไม่ดีนี้

8. รู้สึกผิด – ผู้ป่วยจะรู้สึกผิดที่ตัวเองป่วยและเพิ่มภาระความเครียดให้กับครอบครัว จะตำหนิตัวเองจากมุมมองด้านลบ

9. มีความวิตกกังวล - ผู้ป่วยมักจะรู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากกลัวว่าตนจะไม่รู้วิธีดูแลลูก ห่วงเรื่องสุขภาพของทารก

10. มีความคิดที่มุ่งจะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย รวมถึงอาจมีพฤติกรรมที่ทำร้ายทารกหรือคิดจะฆ่าทารกด้วย

คุณแม่หลังคลอดลูกมักจะมีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดขึ้นค่อนข้างง่าย ซึ่งภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีอันตรายมาก ไม่เพียงแต่สามารถส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูสุขภาพของคุณแม่หลังคลอด หากยังจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของทารกด้วย

ดังนั้น หากคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีภาวะซึมเศร้า สามีและสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ยิ่งต้องให้ความรักและความเข้าใจมากขึ้น เพื่อให้คุณแม่สัมผัสถึงความรักและความเอาใจใส่จากสามีและสมาชิกครอบครัว

Yim/kt

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

韩希