โอเปกตกลงลดการผลิตน้ำมัน

2018-12-11 14:08:35 | CRI
Share with:

เมื่อเร็วๆ นี้ที่กรุงเวียนนา มีจัดการประชุมสุดยอด “โอเปค+” โดยกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือ โอเปก (OPEC) และประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกโอเปก บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2019 จะลดการผลิตน้ำมันดิบ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แผนการลดการผลิตขั้นตอนแรกมีกำหนดเวลา 6 เดือน ในจำนวนนี้ ประเทศสมาชิกโอเปกจะแบกรับภาระ 2 ใน 3 ส่วนรัสเซียและประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกโอเปกอีก 9 ประเทศจะลดการผลิต 1 ใน 3 ข้อตกลงฉบับนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ถ้าสามารถปฏิบัติได้จริง จะมีส่วนช่วยตลาดน้ำมันดิบของโลกให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น 

การที่ฝ่ายต่างๆ บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการลดการผลิตนั้น ยังมีเป้าหมายที่จะผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีที่กาตาร์ ประกาศถอนตัวออกจากโอเปก หลายวันก่อนเปิดการประชุมสุดยอดโอเปก นายซาอัด อัล กาอะบิ (Saad al-Kaabi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการพลังงานกาตาร์ประกาศว่า กาตาร์จะถอนตัวออกจากโอเปก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2019 และจะเร่งการผลิตและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ส่วนการผลิตน้ำมันจะไม่อยู่ในข้อกำหนด จากข้อตกลงการลดการผลิตของโอเปก

นับเป็นครั้งแรกที่มีประเทศประกาศถอนตัว ออกจากโอเปกตั้งแต่จัดตั้งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ที่สลับซับซ้อนภายในองค์กร แม้ว่าปริมาณการผลิตของการตาร์ไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโอเปก แต่มีปริมาณสำรองและความสามารถในการผลิตก๊าซที่มหาศาล และสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันและก๊าซของโลกค่อนข้างมากดังนั้น ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ซาอุดิอาระเบีย อิรักและประเทศอื่นๆ ล้วนหวังว่ากาตาร์จะอยู่ต่อ แต่กาตาร์แสดงว่าไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อ จึงตัดสินใจถอนตัว

กรณีดังกล่าว อาจจะเป็นขั้นตอนแรกของแผนการปรับปรุงยุทธศาสตร์การต่างประเทศของกาตาร์ และอาจจะลดอิทธิพลของคณะมนตรีความร่วมมือกลุ่มประเทศอาหรับ หรือ GCC และสุดท้ายอาจจะถอนตัวออกจากกลุ่มประเทศอาหรับที่นำโดยซาอุดิอาระเบีย ทำให้โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภูมิภาคในตะวันออกกลาง มีการปรับปรุงใหม่

คาดได้ว่า วันเวลาของประเทศอาหรับที่นำโดยซาอุดิอาระเบีย ที่กำลังประลองกำลังกับอิหร่าน ที่นำโดยฝ่ายชีอะ อียิปต์ที่เป็นระบอบสาธารณะรัฐ และตุรกีนั้น คงเหลือไม่มาก โครงสร้างภูมิภาคตะวันออกกลางใหม่อาจมีแนวโน้มที่ ซาอุดิอาระเบียร่วมมือกับอียิปต์  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอิสราเอล ต่อสู้กับอิหร่าน และบีบกาตาร์ หรืออิหร่านร่วมมือกับรัฐบาลฝ่ายชีอะอิรัก ซีเรีย พรรคฮิสบอลเลาะห์ เลบานอน และกลุ่มติดอาวุธฮูติของเยเมน เพื่อร่วมกันต่อต้านซาอุดิอาระเบีย หรือทางเลือกที่สามกาตาร์ร่วมมือกับตุรกีและอิหร่าน เพื่อต่อต้านซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิสราเอล นอกจากนั้น อิสราเอลจะถือโอกาสปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก GCC ให้ดีขึ้น ยกเว้นกาตาร์ แต่ในนี้ยังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอนคือ มกุฎราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย จะสามารถบริหารสหพันธ์ใหม่ที่นำโดยซาอุดิอาระเบียอย่างมั่นคงและยาวนานได้หรือไม่

(Bo/Lin/zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

林钦亮