มารู้จักกับเทศกาลล่าปากันหน่อยดีกว่า

2019-01-15 19:19:11 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_04_1

เทศกาลล่าปาของปีนี้เพิ่งจะผ่านไปได้ไม่กี่วัน บางคนก็คุ้นเคยกับเทศกาลนี้ดีแต่หลายคนก็ยังงงกับคำว่า “ล่าปา”  วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับเทศกาลนี้กันหน่อยดีกว่า

เทศกาลล่าปาตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ ในสมัยดึกดำบรรพ์ คำว่า “腊” (ล่า) เป็นชื่อของพิธีกรรมเซ่นไหว้ ซึ่งพัฒนามาจากคำว่า“猎” (เลี่ย) หมายถึงการล่าสัตว์ เพราะช่วงท้ายปีพืชผลถูกเก็บเกี่ยวตากแห้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้คนจึงเข้าป่าล่าสัตว์สำหรับบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า เพื่อขอให้มีโชคมีลาภ ชีวิตยืนยาว หลีกเลี่ยงภัยพิบัติและได้รับความเป็นสิริมงคล จึงเรียกว่า“腊祭” (ล่า จี้) หมายถึงพิธีเซ่นไหว้ด้วยสัตว์ที่ล่ามาได้  ส่วนคำว่า “ปา” ก็ตรงๆ เลยค่ะ หมายถึง แปด

การรับประทานโจ๊กล่าปาของชาวจีนมีประวัติศาสตร์มากว่าพันปีแล้ว  ในตอนต้นเริ่มจากสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อถึงวันเทศกาลล่าปานี้ทั่วทุกที่รวมถึงพระราชวัง สถานที่ราชการ วัด หรือบ้านประชาชนทั่วไปจะทำโจ๊กล่าปากัน ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ประเพณีการรับประทานโจ๊กล่าปาก็เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น  ในพระราชสำนัก ฮ่ฮงเต้ ฮองเฮา องค์ชาย ฯลฯ จะพระราชทานโจ๊กล่าปากับข้าราชการและนางกำนัล และพระราชทานข้าวสาร ผลไม้ และอาหารอื่นๆ กับวัดต่างๆ

图片默认标题_fororder_04_2

โจ๊กล่าปามีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ของจีน ขึ้นอยู่กับฝีมือการปรุงและส่วนประกอบนานาชนิด  โจ๊กล่าปาสไตล์ปักกิ่งถือว่าพิถีพิถันสุด โดยเพิ่มส่วนประกอบอันหลากหลายลงไปพร้อมกับข้าวขาว เช่น พุทราแดง ลูกบัว วอลนัท เกาลัด อัลมอนด์ ไพน์นัท ลำไยอบแห้ง เฮเซลนัท ลูกเกด แปะก๊วย ใบกุหลาบแห้ง ถั่วแดง ถั่วลิสง และอื่นๆ สรุปว่าไม่ต่ำกว่ายี่สิบชนิด  โดยมากผู้คนจะเริ่มเตรียมทำโจ๊กล่าปากันตั้งแต่คืนวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 12 โดยเตรียมล้างข้าวสาร แช่ถั่ว ปอกเปลือก แกะเมล็ดออก หลังจากนั้นก็จะเริ่มต้มโจ๊กตั้งแต่กลางดึกวันนั้นเลย เปิดไฟอ่อนๆ ให้เคี่ยวไปจนกระทั่งถึงเช้าวันถัดมา ก็เป็นอันว่าโจ๊กล่าปาปรุงเสร็จพร้อมเสริฟในวันเทศกาลล่าปาพอดี  สำหรับบ้านที่พิถีพิถันยิ่งขึ้นก็จะแกะสลักเมล็ดถั่วต่างๆ เป็นรูปคน สัตว์ และอื่นๆ ก่อนเอาไปต้มเป็นโจ๊กล่าปา

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (02-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

李秀珍