สวัสดีปีใหม่ปีกุน

2019-02-04 15:16:38 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190206-1

สวัสดีปีใหม่สำหรับปีกุนที่มาถึงนี้ ก่อนอื่น ขออวยพรให้กับคุณผู้ฟังทุกท่าน ขอให้ปีกุนนี้ มีกินมีใช้ มีความร่ำรวยเหมือนลูกหมู และสมความปรารถนาทุกประการ ซินนี๊ฮวกช๊าย

ในภาคเหนือของกรุงปักกิ่ง มีเพลงเด็ก “เจิงเย่ว์เกอ”ซึ่งแปลว่า เพลงเดือนอ้าย มีเนื้อร้องว่า “新春正月过大年,吃点喝点解了馋。初一饺子初二面,初三合子团团转;初四吃米饭,初五的饺子要素馅;初六初七需吃鸡,初八初九牛羊肉;初十吃顿棒子粥,十一吃鱼,十二吃鸭;十三围坐吃对虾,十四大碗打卤面,十五家家闹元宵,打春要吃春卷炒鸡蛋。” ซึ่งเป็นเพลงที่บอกเล่าถึงขนบทำเนียมประเพณีอาหารการกินในช่วงเทศกาลตรุษจีนในบริเวณกรุงปักกิ่งและนครเทียนสิน ฟังแล้วน่าสนใจ         

ในเนื้อเพลงนี้ เล่าว่าวันชิวอิ๊กและชิวอี้ หรือวันแรกและวันที่สองของเดือนอ้าย จะทานเกี๊ยวและหมี่ ซึ่งสำหรับชาวจีนในภาคเหนือ อาหารที่ทำจากแป้งนั้น จะเป็นอาหารหลักในทุกวัน เป็นสิ่งที่ต่างจากภาคใต้ของจีนที่จะรับประทานข้าวเป็นหลัก ส่วนเกี๊ยวนั้น มีรูปเหมือนเงินตรา จึงต้องรับประทานในวันแรกของปีใหม่ จะได้มีความหมายสิริมงคลและขอให้ปีใหม่มีเฮงเฮงรวยรวย ถึงวันที่สามของเดือนอ้าย จะร่วมรับประทานอาหารที่เรียกว่า “เหอจื่อ” “เหอจื่อ”เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปักกิ่ง นครเทียนสินและมณฑลซานซี มักจะมีไส้กุ่ยช่ายผสมไข่ไก่ เนื่องจากกุ่ยช่ายมีความหมายว่ายาวนาน จึงเป็นผักที่ได้รับความนิยมจากชาวบ้าน “เหอจื่อ”มีรูปลักษณ์เป็นครึ่งวงกลม แป้งบางและไส้หนา ไส้ส่วนใหญ่คือผักผสมกับเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ บางทีเป็นผักล้วน มีความอร่อย และคำว่า “เหอ” มีความหมาย แสดงให้เห็นถึงความเป็นสิริมงคล

图片默认标题_fororder_20190206-2

พอไปถึงวันที่ 4 ของเดือนอ้าย ชาวจีนภาคเหนือก็จะพากันรับประทานข้าวสวย ถือว่าเป็นอาหารที่แสดงให้เห็นถึงว่าฐานะทางบ้านค่อนข้างดี ส่วนวันที่ 5 ของเดือนอ้าย เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากว่าชาวจีนเชื่อว่า วันนี้เป็นวันที่เทพช่ายสิ่นเย้จะกลับจากสวรรค์ลงสู่โลกมนุษย์ ฉะนั้น ชาวบ้านจะมีการจุดประทัดกันตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อแสดงว่าต้อนรับเทพช่ายสิ่นเย้มาที่บ้าน และจะเตรียมเกี๊ยวมารับประทาน ชาวจีนเชื่อว่า ก่อนวันที่ 5 เดือนอ้าย จะไม่ทำสิ่งใดที่มีความสำคัญ ต้องรอจนถึงวันที่ 5 มีการต้อนรับเทพเข้าบ้าน จึงจะเริ่มลงมือทำสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเริ่มการค้าขาย จะได้ขายดี

หลังจากนั้น จะไปถึงวันที่ 6 และวันที่ 7 ของเดือนอ้าย ชาวจีนภาคเหนือจะเน้นให้รับประทานไก่ วันที่ 8 และวันที่ 9 จะรับประทานเนื้อวัวและเนื้อแพะ ดังนี้เป็นการแสดงว่ามีการจัดวางอาหารให้สมควรและมีความมั่นคั่งในการใช้ชีวิต หากในภาคใต้ของจีน วันที่ 7 เดือนอ้ายนี้ ยังมีประเพณีสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องรับประทานผักรวม 7 อย่าง ชาวบ้านจะไปจ่ายตลาดตั้งแต่เช้า ซื้อผักต่างๆ รวม 7 อย่างกลับบ้าน ทั้งผัดหรือต้มหรือตุ๋นก็ได้ ผักเหล่านี้มีบางอย่างมีการออกเสียงคล้ายๆ กับคำว่าทรัพย์สิน จึงมีความหมายขอให้เฮงเฮงรวยรวยในช่วงปีใหม่ เล่ากันว่า สมัยราชวงศ์ซ่ง มีขุนนางชั้นสูงคนดีคนหนึ่งถูกใส่ร้าย และถูกไล่ออกจากราชสำนัก ส่งตัวไปยังภาคใต้ของจีน วันที่ 7 เดือนอ้ายวันนั้น เขาพอดีเดินทางไปถึงแม่น้ำโหรง รู้สึกหิวโหย แต่บริเวณนั้นไม่มีหมู่บ้าน เขาจึงต้องเก็บผักป่าหลายอย่างต้มเป็นซุปเพื่อแก้หิว แต่พอทานเสร็จแล้วรู้สึกเต็มไปด้วยพลังและมีความสดใส และเมื่อเขาได้กลับไปยังราชสำนักและเลื่อนตำแหน่ง เขาก็ไม่ลืมวันที่ยากลำบากในภาคใต้ และจำได้ว่าผักป่าที่เคยช่วยชีวิตนั้นรวมแล้วมี 7 อย่าง จึงสั่งให้แม่บ้านต้องต้มผัก 7 อย่างในวันที่ 7 เดือนอ้ายทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงชีวิตที่เคยลำบาก ชาวจีนเรียกว่า “ชีย่างเกิง” มีความแพร่หลายในแถบแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

图片默认标题_fororder_20190206-3

กลับมาถึงประเพณีในภาคเหนือจีนอีก หลังจากมีการรับประทานเนื้อสัตว์ต่างๆ หลายวันแล้ว วันที่ 10 เดือนอ้าย ชาวบ้านจะทานข้าวต้มกันเพื่อแก้เลี่ยน วันที่ 11 จะทานปลา วันที่ 12 จะทานเป็ด วันที่ 13 ร่วมกันทานกุ้ง วันที่ 14 ทานบะหมี่ จนถึงวันที่ 15 ซึ่งเป็นวันเทศกาลหยวนเซียว จะต้องรับประทาน “ชุนเจี่ยวน” ซึ่งเป็นอาหารที่ผัดผักและไข่ไก่ร่วมกันและใช้โรตีห่อ เป็นประเพณีที่เรียกกันว่า “ต่าชุน” หรือ “ตีฤดูใบไม้ผลิ” แต่ไม่ใช่ตีฤดูใบไม้ผลิจริง คำว่า “ต่าชุน”เป็นคำเรียกอีกอย่างของ “ลี่ชุน” แปลว่าจะย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งชาวไร่ชาวนาจะมีประเพณีสร้างวัวดินขึ้นมาก่อนปีใหม่ แล้วในวันที่ 15 นี้ ใช้ไม้ตีก้นวัวดิน ทำท่าจะเริ่มไล่วัวลงนาทำงานและเริ่มการเพาะปลูกในช่วงปีใหม่ นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ มีคนจนไม่มีที่อยู่อาศัยและกลายเป็นขอทาน พวกเขามักจะพากันเดินเป็นขบวนในช่วงเทศกาลตรุษจีน แห่กันตีกลองหรือฆ้องหน้าบ้านคนอื่นเพื่อขอเงิน ชาวบ้านเรียกการกระทำแบบนี้ว่า “ต่าชุน”เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มีประเพณีมากมายในท้องถิ่นต่างๆ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าชาวจีนไม่ว่าในพื้นที่ส่วนไหน ล้วนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเทศกาลตรุษจีนที่มีมาหลายพันปี และเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีนในรอบปี แม้กระทั่งชาวจีนโพ้นทะเล ก็ไม่มีวันลืมเทศกาลเหล่านี้และยังสืบทอดกันต่อไป

Bo/Ping/Ping

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (27-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-03-2567)

何喜玲