พิธีเปิดการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 13 ครั้งที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เป็นตัวแทนคณะรัฐมนตรีจีน กล่าวรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลต่อที่ประชุม โดยนำเสนอ 36 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม วันที่ 1 มีนาคม รัฐบาลจีนได้ประกาศว่า การประเมินตัวชี้วัดเชิงปริมาณทั้งหมดได้สำเร็จลุล่วงแล้ว
สถิติจากเว็บไซต์ทางการของรัฐบาลจีนระบุว่า ตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สำคัญ อาทิ อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อัตราการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภค ปริมาณการจ้างงานใหม่ในเมือง อัตราการว่างงานในเมือง อัตราการใช้พลังงานต่อหนึ่งหน่วย GDP อัตราการขาดดุล และค่าใช้จ่ายทางการคลังของประเทศ ล้วนเป็นไปตามการคาดการณ์ประจำปี และสำหรับบางตัวชี้วัด ยังมีผลงานสูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ เช่น ปริมาณการจ้างงานใหม่ในเมืองทั่วประเทศคิดเป็น 13.61 ล้านคน สูงกว่าเป้าหมายที่ 11 ล้านคนในรายงานผลการดำเนินงาน ส่วนจำนวนการลดลงของผู้ยากจนอย่างแท้จริงคิดเป็น 13.86 ล้านคน สูงกว่าเป้าหมายที่ 10 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน อันที่จริง ตราบใดที่วิเคราะห์อย่างตั้งใจจะทราบได้ว่า คำถามเหล่านี้ฟังไม่ขึ้น วงการวิชาการทั้งจีนและต่างชาติยอมรับร่วมกันแล้วว่า มี 3 ดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ GDP อย่างชัดเจน ได้แก่ ปริมาณการผลิตไฟฟ้า ปริมาณการขนส่งสินค้า และปริมาณการจัดเก็บภาษี สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ในปี 2018 ทั่วประเทศมีปริมาณการผลิตไฟฟ้า 6.8 ล้านล้านกิโลวัตตชั่วโมง เพิ่มขึ้น 6.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปริมาณการขนส่งสินค้าคิดเป็น 51,500 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และงบประมาณทั่วไปของรัฐบาลคิดเป็น 18 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6.2% โดยอัตราการเติบโตทั้ง 3 ส่วนนี้ นับเป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับการเติบโตของ GDP จีน ในปี 2018 ที่ระดับ 6.6%
Tim/feng/ci