วันที่ 5 กุมภาพันธ์ การประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน องค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของจีน ได้เริ่มต้นขึ้นที่กรุงปักกิ่ง นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้ทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมาและได้กำหนดนโยบายด้านการบริหารในปีนี้
เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปีนี้ รายงานดังกล่าวนอกจากเน้นว่า ต้องยืนหยัดหลักนโยบายที่จะพัฒนาท่ามกลางความมั่นคง และยืนหยัดการปฏิรูปโครงสร้างอุปทานแล้ว และยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่จำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการเร่งสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย รักษาความมั่นคงด้านการมีงานทำ การเงิน การค้าต่างประเทศ การดึงดูดเงินทุนต่างชาติ และการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นใจมากขึ้นต่อการตลาด
รายงานดังกล่าวยังได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปีนี้คือ ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโต 6%-6.5% นี่เป็นครั้งที่สอง โดยต่อจากปี 2016 ที่รัฐบาลจีนกำหนดอัตราการเติบโตของจีดีพีให้อยู่ในช่วงระยะหนึ่ง ไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายการเติบโต 6.5% เมื่อปี 2018 การกำหนดเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ต้องการความคล่องตัวและมุ่งสู่ความเป็นจริงอย่างชัดเจน
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า จีนต้องการควบคุมบริหารนโยบายทางมหภาคให้ถูกต้อง ดำเนินนโยบายการคลังที่แข็งขันและนโยบายเงินตราที่มีความมั่นคงต่อไป โดยให้นโยบายการมีงานทำมาก่อน ส่งเสริมให้นโยบายต่าง ๆ ประสานงานกัน เพื่อประกันให้เศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างสมเหตุสมผล และส่งเสริมให้เศรษฐกิจและสังคมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
เกี่ยวกับภาระหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมของปีนี้ รายงานดังกล่าวเน้นถึงบทบาทสำคัญของการปฏิรูปเป็นพิเศษ โดยให้ยืนหยัดแนวคิดการปฏิรูปด้านการตลาดในการแก้ไขปัญหาที่ยากลำบากต่าง ๆ ของการพัฒนา เกี่ยวกับปัญหาสำคัญของการตลาดในปัจจุบัน รายงานดังกล่าวระบุว่า จะใช้มาตรการลดภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้มากกว่าเดิม
เกี่ยวกับจุดสำคัญของการปฏิรูปในปีนี้ รายงานดังกล่าวระบุว่า จะทุ่มเทกำลังในการสร้างบรรยากาศการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนให้ดียิ่งขึ้น ปฏิบัติตามหลักการการแข่งขันด้วยความเป็นกลาง เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยต่าง ๆ ได้รับใบอนุญาติ ประกอบกิจ ดำเนินการ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การเปิดประมูล และการเข้าประมูล เป็นต้น
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเสนอว่า จีนจะผลักดันการเปิดกว้างให้ครบวงจร โดยเปิดกว้างการหมุนเวียนของสินค้าและปัจจัยต่าง ๆ ให้ความสำคัญในการเปิดกว้างกฎเกณฑ์และระบบ เพื่อให้การเปิดกว้างหนุนการปฏิรูปให้มีความรอบด้านและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
(Bo/zhou/Zhou)