บทวิเคราะห์: จีน-อิตาลีร่วมกันชุบชีวิตเส้นทางสายไหมสมัยโบราณ

2019-03-23 16:46:29 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190323glsl1

วันที่ 22 มีนาคม นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน มีกำหนดการเยือนกรุงโรม เมืองหลวงอิตาลี โดยวงการต่าง ๆ ของอิตาลี ทั้งการเมือง พาณิชย์ วัฒนธรรม และสื่อมวลชน ต่างเกาะติดและชื่นชมข้อริเริ่ม “1 แถบ 1 เส้นทาง” ของนายสี จิ้นผิง และมีความเห็นว่า ข้อริเริ่มดังกล่าวเป็นผลดีต่อการเชื่อมถึงกันและการพัฒนาร่วมกันระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดจนเป็นการชุบชีวิตเส้นทางสายไหมสมัยโบราณ        เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีได้แต่งตั้ง “คณะทำงานจีน” ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลได้เพียง 2 เดือน ทำหน้าที่เพิ่มความร่วมมือกับจีนทุกด้าน

นายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี แถลงต่อรัฐสภาว่า  ข้อริเริ่ม “1 แถบ 1 เส้นทาง” ของจีนจะนำมาซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนสอดคล้องกับประโยชน์ของอิตาลี

นอกจากนี้ บทความของนายสี จิ้นผิง ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โคร์เรียเร เดลลา เซรา (Corriere Della Sera) ของอิตาลีได้อ้างคำพูดของนายอัลเบอร์โต โมราเวีย นักเขียนชาวอิตาลีว่า “มิตรภาพไม่ใช่ทางเลือกโดยบังเอิญ แต่เป็นผลจากการมีอุดมการณ์ร่วมกัน”  นอกจากนี้ ในงานแถลงข่าวพร้อมกับประธานาธิบดีอิตาลี นายสี จิ้นผิง ยังได้กล่าวย้ำว่า จีน-อิตาลีควรเชื่อมยุทธศาสตร์การพัฒนาระหว่างกันให้มากขึ้น ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเมืองท่าและการขนส่งทางเรือ ตามกรอบ “1 แถบ 1 เส้นทาง” เพื่อให้ประชาชนทุกประเทศสามารถเข้าถึงการพัฒนามากขึ้น

สิ่งที่ชัดเจนมาก คือ อิตาลีมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับจีน พร้อมกับมีส่วนร่วมในโครงการ “1 แถบ 1 เส้นทาง” เพื่อสร้างคุณค่าในการส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

(TIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

何喜玲