จีนเจ๋งที่สุดอย่างไร (2)

2019-03-28 10:34:29 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190328-zk-1

เมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์รายวัน โมสกอฟสกาย กอมโซโมเลตส์(Moskovsky Komsomolets) ของรัสเซียออกบทความหัวข้อ “40 ปี จีนจากประเทศยากจนกลายเป็นประเทศที่เจ๋งที่สุด-ความลับความสำเร็จของจีน” ผู้สื่อข่าวที่เขียนบทความนี้กล่าวว่า ความเร็วและขนาดการสร้างสรรค์ของจีนเป็นที่น่าชื่นชม รูปแบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นพื้นฐานของความสำเร็จของจีน แต่จีนยังไม่หยุดความก้าวหน้า รัสเซียก็สามารถเลียนแบบการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน

บทความชี้ให้เห็นว่า จีนในปัจจุบันเป็นหลักฐานยืนยันที่ดีที่สุดว่า นโยบายการปฏิรูปและเปิดสู่ภายนอกที่ดำเนินมาแล้ว 40 ปีของจีนประสบผลสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา จีนพัฒนาจากประเทศยากจนและล้าหลังมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นคู่ค้าสำคัญของกว่า 120 ประเทศในโลก ทั้งนี้ล้วนเป็นผลมาจากนโยบายการปฏิรูปและเปิดสู่ภายนอกที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 1978

ก่อนที่จะเขียนบทความ ผู้เขียนได้ติดตามคณะผู้สื่อข่าวที่เดินทางไปเยือนจีน สมาชิกคนหนึ่งกล่าวว่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาจีน แต่มาแต่ละครั้ง ล้วนจะตื่นตาตื่นใจต่อความเร็วการก่อสร้างของชาวจีน เมืองต่างๆ ล้วนมีตึกสูงที่ทันสมัย แต่ก็สามารคงไว้ซึ่งโบราณสถานในเมืองเป็นอย่างดี รู้สึกประทับใจมาก

图片默认标题_fororder_20190328-zk-2

ผู้เขียนบทความกล่าวว่า การเยือนจีนครั้งนี้ได้ผ่านหลายเมือง เช่น กว่างโจว เซินเจิ้น และจูไห่ (ในประเทศจีน 4 เมืองใหญ่สุดคือ เป่ยซ่างกว่างเซิน-ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เซินเจิ้น) เมืองกว่างโจวเป็นตัวอย่างเด่นชัดที่แสดงให้เห็นผลการปฏิรูปของจีน ในสมัยก่อน ที่นี่เป็นท่าเรือขนาดเล็กที่อยู่ริมแม่น้ำจูเจียง ภาคใต้ของจีน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นนครทันสมัยและศูนย์กลางอุตสาหกรรมของโลก มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมาก มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนิวไฮเทคจำนวนกว่าหมื่นแห่ง เป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การค้าและอุตสาหกรรมของภาคใต้จีน แต่สถานที่ท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ต่างๆ ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่นกัน

เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้นและจูไห่ ที่ทางการจีนวางแผนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1980 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เศรษฐกิจสังคมนิยมเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจการตลาดของทุนนิยม คือฮ่องกง ที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และมาเก๊าที่เคยเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส โดยหวังว่า จะรวมความเหนือกว่าของสองระบอบในหนึ่งเดียว และเป็นตัวนำมณฑลอื่นๆ ริมฝั่งทะเลให้พัฒนาไปพร้อมกัน

จนถึงปี 2018 GDP ของเมืองเซินเจิ้นแซงหน้าเมืองกว่างโจว และมีขนาดเท่ากับฮ่องกง ทั้งยังได้รับขนานนามว่า “Silicon Valley ของจีน” อายุเฉลี่ยของชาวเมืองไม่เกิน 30 ปี ชาวท้องถิ่นกล่าวว่า ความเร็วเป็นหลักการในการใช้ชีวิตของเมืองเซินเจิ้น

图片默认标题_fororder_20190328-zk-3

เมืองจูไห่แต่ก่อนเหมือนกับเซินเจิ้น เป็นหมู่บ้านทำการประมงเล็กๆ ริมทะเล แต่ปัจจุบัน มีอาคารทันสมัยตั้งอยู่ริมชายฝั่ง เมืองนี้มีนโยบายพิเศษด้านการจัดเก็บภาษีอากรและการเงิน ทั้งอยู่ใกล้กับมาเก๊าและเมืองเซินเจิ้น ทำให้เมืองจูไห่กลายเป็นเมืองที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง กลุ่มบริษัทเก๋กลี่ ซึ่งเป็นวิสาหกิจผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่ที่สุดของจีนก็ตั้งอยู่ในเมืองนี้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปขายที่สหรัฐ บริษัทนี้มีศูนย์กลางวิจัยเทคโนโลยีของตน วิศวกรจะวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคของ 160 ประเทศทั่วโลก เพื่อผลิตเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศนั้น

สิ่งที่ทำให้คณะผู้สื่อข่าวรัสเซียรู้สึกตื่นตาตื่นในอีกอย่างหนึ่งในการเดินทางครั้งนี้คือ เมื่อเดินทางมาถึงสะพานยักษ์ “กั่งจูอ้าวต้าเฉียว” ที่มีความยาว 55 กิโลเมตรเชื่อมต่อเมืองจูไห่ ฮ่องกงและมาเก๊า ดูเหมือนสายรุ้นที่นอนบนผิวน้ำทะเล สะพานแห่งนี้เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 23 เดือนตุลาคมปี 2018   ไม่กลัวแผ่นดินไหวและพายุเฮอริเคน เป็นสะพานใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็น 1 ของโครงการที่จะเชื่อมเขตนี้ให้เป็นหนึ่งเดียว และมีชื่อใหม่ว่า “ต้าวานฉวี”

หรือมีชื่อเต็มว่า “ยั่วกั่งอ้าวต้าวานฉวี” ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รอบอ่าวทะเลหลิงติง รวมถึง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เขตบริหารพิเศษมาเก๊า เมืองกว่างโจว เซินเจิ้น และอีก 7 เมืองคือ จูไห่ โฝซาน จงซาน ตุงกว่าน เจียงเหมิน จ้าวชิ่งและฮุ่ยโจว พื้นที่กว่า 56,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรในปี 2017 ประมาณ 70 ล้านคน มวลรวมการผลิตประมาณ 10 ล้านล้านหยวน อยู่ใน 15 อันดับแรกของประเทศ GDP สูงสุดของโลก

บทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า รัสเซียคงสามารถเรียนแบบประสบการณ์การปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน แต่ถ้าอยากจะได้ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จำเป็นต้องมีความพร้อมหลายด้าน เช่น ความพร้อมในการชักชวนการลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อโรงงานสร้างเสร็จ ไม่ต้องใช้เวลาหลายปีในการร้องขอการจ่ายไฟฟ้าจากรัฐบาล ด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน นักธุรกิจก็ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องรอนาน จีนได้ใช้ความพยายามเพื่อความพร้อมในการเปิดรับนักธุรกิจ

นอกจากนั้น รัฐบาลจีนยังลงทุนมหาศาลในการสร้างทางหลวงทางด่วน เร่งความเร็วการขนส่ง และมีการก่อสร้างแบบนี้อย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ทำให้นักธุรกิจชาวต่างชาติรู้สึกถึงการเดินทางที่สะดวกสบายในจีน จึงกล้าที่จะมาลงทุนนับหมื่นล้านในจีน   สุดท้าย จีนใช้เวลาเพียง 40 ปี ก้าวกระโดดจากประเทศยากจนมาเป็นประเทศที่มีอิทธิพลของโลก แต่กรุงปักกิ่งยังคงไม่พอใจ ผู้นำจีนมีการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่หยุดยั้ง

(Bo/Lin)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

韩希