มหกรรมอุตสาหกรรมฮันโนเวอร์: อนาคตแห่งอุตสาหกรรมการผลิต

2019-04-04 11:40:09 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190404hnv

คาร์ซีทน้ำหนักเบาพิเศษที่ทำจากวัสดุใหม่ โมเดล “โรงงานอัจฉริยะ”  แผนการพัฒนาอุตสาหกรรม 5G และโครงการ “โลจิสติกส์ 4.0” บนพื้นฐานระบบดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ถูกนำไปจัดแสดงในงานมหกรรมอุตสาหกรรมฮันโนเวอร์ของเยอรมนี ซึ่งเป็นเหมือนลูกบอลคริสตัลที่สามารถมองเห็นอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต นอกจากผู้เข้าชมจะได้รับฟังแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแล้ว ยังสามารถมองเห็นแผนอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ ที่เป็นการรวมวัสดุใหม่  พลังงานใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ และระบบ 5G เข้าเป็นหนึ่งเดียว โดยมีบริษัท และวิสาหกิจจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมงานมหกรรมครั้งนี้ ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า โอกาสการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตให้สูงขึ้นนั้นกำลังมาถึง ประเทศต่าง ๆ ควรตัดสินใจบนนโยบายอย่างสมเหตุสมผลและทันท่วงที  

งานมหกรรมอุตสาหกรรมฮันโนเวอร์ เป็นงานแสดงอุตสาหกรรมการผลิตประจำปีใหญ่ที่สุดของโลก แสดงถึงทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั่วโลก และเวทีการแสดงการค้าด้านอุตสาหกรรมของโลก

มหกรรมอุตสาหกรรมฮันโนเวอร์ปีนี้แสดงให้เห็นว่า แผน “อุตสาหกรรม 4.0” ของเยอรมนีกำลังก้าวสู่ขั้นอุตสาหกรรมการผลิตที่เป็นจริง นาย นายโจเชน โคเกลอร์ ผู้รับผิดชอบการจัดงานมหกรรมครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เนื้อหาสำคัญของแผน“อุตสาหกรรม 4.0” คือ ปัญญาประดิษฐ์ โดยหัวข้อของงานมหกรรมครั้งนี้ คือ “อุตสาหกรรมผสมผสาน - อุตสาหกรรมอัจฉริยะ” มีคำสำคัญหลายคำ คือ อัจฉริยะ เทคโนโลยีโทรคมนาคมเคลื่อนที่รุ่นที่ 5 หรือ ระบบ 5G และคลาวด์คอมพิวติ้ง เป็นต้น บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตที่สำคัญของโลก อาทิ โนเกียของฟินแลนด์ Qualcomm ของสหรัฐฯ และหวาเหวยของจีน ต่างพากันจัดตั้งห้องทดลองระบบ 5G ในงานครั้งนี้ เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับเทคโนโลยีระบบ 5G เนื่องจากระบบอัจฉริยะและระบบ 5G เป็นสิ่งคู่กันที่มิอาจแยกได้ ดังนั้น ถ้าหากไม่มีระบบ 5G ความเป็นดิจิทัลของอุตสาหกรรมและการผลิตอัจฉริยะก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

งานมหกรรมอุตสาหกรรมฮันโนเวอร์ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนการสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของโลก บริษัทที่ร่วมจัดแสดงในงานกว่า 60% มากจากต่างประเทศ และมีบริษัทจีนประมาณ 1,300 แห่งเข้าร่วมงานนี้ โดยมีพื้นที่จัดแสดงรวมกว่า 20,000  ตารางเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่จัดแสดงใหญ่สุดอันดับ 2 รองจากเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ บริษัทหวาเหวยของจีนให้ความสำคัญในการจัดแสดงเทคโนโลยีที่รวบรวมความไฮเทคหลายชนิด อาทิ  อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คลาวด์คอมพิวติ้ง  ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การเรียนรู้ของเครื่อง  (Machine learning) และระบบอัจฉริยะ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทจีนอื่น ๆ เช่น บริษัท ไฮเออร์ “Haier” ได้จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเองจำนวนหนึ่ง เช่น  แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรม ระบบการผลิตอุตสาหกรรม พลังงานใหม่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม  การใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ ได้รับความสนใจจากผู้ชมพอสมควร

(Tim/Lin/zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

林钦亮