อันดับเมืองที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการครองชีพ

2019-04-09 13:33:18 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190409高生活成本城市1

เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (EIU) ของอังกฤษประกาศรายงานผลสำรวจต้นทุนการดำรงชีวิตทั่วโลกปี 2019 โดยได้จัดอันดับเมืองที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการครองชีพ ผลปรากฏว่ามี 3 เมืองที่ระดับค่าใช้จ่ายในการครองชีพสูงสุดเท่ากัน ได้แก่ ฮ่องกงของจีน สิงคโปร์ซิตี และกรุงปารีสของฝรั่งเศส

อันดับที่ 4 คือเมืองซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ อันดับที่ 5 มีสองเมือง คือ เมืองเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์และเมืองโอซาก้าของญี่ปุ่น อันดับที่ 7 มีสามเมือง ได้แก่ กรุงโซลของเกาเหลีใต้ เมืองโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก และนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ส่วนเมืองเทลอาวีฟของอิสราเอลและเมืองลอสแองเจลิสของสหรัฐฯเป็นอันดับที่ 10 เท่ากัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ สิงคโปร์ซิตีได้รับการประเมินเป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตสูงที่สุดในโลกเป็นเวลา 6 ปีติดต่อกันแล้ว ส่วนฮ่องกงขึ้นจากอันดับที่ 4 เมื่อปีที่แล้วมาอยู่ 3 อันดับแรกในปีนี้

图片默认标题_fororder_20190409高生活成本城市2

การสำรวจต้นทุนการดำรงชีวิตทั่วโลกเป็นโครงการสำรวจที่หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ดำเนินการทุกปี โดยถือนครนิวยอร์กเป็นเมืองพื้นฐาน ซึ่งตั้งดัชนีต้นทุนการดำรงชีวิตเป็น 100 แล้วคำนวณดัชนีต้นทุนการดำรงชีวิตของเมืองอื่นๆทั่วโลก

การสำรวจดังกล่าวได้เทียบราคาสินค้าและบริการ 160 ชนิดของ 133 เมืองใน 93 ประเทศทั่วโลก รวมถึงอาหาร เสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การเช่าบ้าน การเดินทาง การใช้น้ำและพลังไฟฟ้า ค่าเล่าเรียน ค่าจ้างแม่บ้าน และกิจกรรมการบันเทิง เป็นต้น ยกตัวอย่างคือ เมืองที่ค่าตัดผมสำหรับสตรีแพงที่สุดคือ นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 210 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6,672 บาท ส่วนค่าตัดผมสำหรับสตรีในสิงคโปร์ซิตี้คือ 96 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 3,050 บาท ของกรุงปารีสคือ 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 3,812 บาท และของฮ่องกงคือ 112 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ  3,558 บาท

ด้านราคาอาหาร เช่น ค่าขนมปังทุก 1 กิโลกรัม เมืองที่ราคาสูงสุดคือ กรุงโซลของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็น 15.59 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 495 บาท ส่วนของสิงคโปร์คือ 3.4 ดอลลาร์ ประมาณ 108 บาท กรุงปารีสคือ 5.66 ดอลลาร์ ประมาณ 180 บาท และฮ่องกงคือ 3.91 ดอลลาร์ ประมาณ 124 บาท

จากผลการสำรวจพบได้ว่า อันดับดัชนีต้นทุนการดำรงชีวิตของเมืองต่างๆมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของเมืองดังกล่าวในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างคือ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯสูงขึ้น ปีนี้ ดัชนีต้นทุนการดำรงชีวิตของนครนิวยอร์กและเมืองลอสแองเจลิสของสหรัฐฯจึงถูกจัดเข้าเป็นอันดับที่ 8 และอันดับที่ 10 แต่ปีที่แล้ว สหรัฐฯไม่มีเมืองใดเข้า 10 อันดับแรกเลย ส่วนเมื่อ 5 ปีก่อน นครนิวยอร์กและเมืองลอสแองเจลิสเป็นเพียงอันดับที่ 39

นอกจากสองเมืองนี้แล้ว ปีนี้ เมืองซานฟรานซิสโกขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 25 จากอันดับที่ 37 เมืองฮูสตันขึ้นจากอันดับที่ 41 เป็นอันดับที่ 30 และเมืองซีแอทเทิลขึ้นจากอันดับที่ 46 เป็นอันดับที่ 38 ด้วย

图片默认标题_fororder_20190409高生活成本城市3

รายงานผลสำรวจ EIU ระบุว่า ปี 2018 เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นฟูการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางสหรัฐฯมีการปรับนโยบายเงินตรา เป็นเหตุให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าสูงขึ้นอย่างมาก ในปี 2018 อันดับต้นทุนการดำรงชีวิตในเมืองส่วนใหญ่ของสหรัฐฯต่างขึ้นระดับหนึ่ง

ส่วนในจีนปรากฏสภาพที่แตกต่างกัน ปีที่แล้ว เนื่องจากเงินหยวนของจีนอ่อนค่าลง อันดับต้นทุนการดำรงชีวิตของเมืองใหญ่ต่างๆในจีนส่วนใหญ่ต่างถอยหลังลง ยกเว้นนครเทียนสินและเมืองซูโจว

เมืองที่มีต้นทุนการดำรงชีวิตสูง 10 อันดับแรกในจีน ได้แก่ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ต้าเหลียน ปักกิ่ง ไทเป เทียนสิน กว่างโจว ชิงเต่า และซูโจว ในจำนวนนี้ ชิงเต่าถอยหลังลงไปอยู่อันดับ 10  นับเป็นเมืองที่ต้นทุนการดำรงชีวิตลดต่ำลงมากที่สุดใน 10 เมืองแรกดังกล่าว

นอกจากเมืองต่างๆของจีนแล้ว ตุรกี อาร์เจนตินา บราซิล และรัสเซีย เป็นต้น ต่างก็ถูกผลกระทบจากการที่เงินตราประเทศเองอ่อนค่าลงอย่างมาก อันดับของเมืองอิสตันบูลของตุรกี และกรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินาต่างถอยหลังไปอยู่อันดับที่ 48 เมืองเซาเปาโลของบราซิลถอยหลังไปอยู่อันดับ 30 กรุงมอสโกของรัสเซียถอยหลังไป  อยู่อันดับ 16 ส่วนกรุงการากัสของเวเนซุเอลาอยู่อันดับสุดท้ายในทั้งหมด 133 เมือง ผลการสำรวจพบว่า เวเนซุเอลาเกิดเงินเฟ้อร้ายแรงเนื่องจากวิกฤตการเมือง

การที่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้นนั้น ก็ทำให้ผู้คนในเมืองจำนวนหนึ่งเกิดความกังวล การพ้นออกจากสหภาพยุโรปได้สร้างความไม่แน่นอนแก่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และก็ทำให้ต้นทุนการดำรงชีวิตในเมืองต่างๆของอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในอันดับเมืองที่มีค่าใช้จ่ายสูงปีนี้ กรุงลอนดอนเป็นอันดับที่ 22 ซึ่งขยับขึ้นมา 8 อันดับ และเมืองแมนเชสเตอร์เป็นอันดับที่ 51 ขยับขึ้น 5 อันดับ

วันที่ 19 มีนาคมปีนี้ เว็บไซด์ BBC ของอังกฤษลงบทความในห้วข้อ “เหตุใดเกิดกระแสนิยมวัยรุ่นหนีออกจากเมืองใหญ่ในทั่วโลก” โดยระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีชาวอังกฤษประมาณ 550,000 คนอพยพจากกรุงลอนดอนไปดำรงชีวิตในเมืองเล็กหรือเขตชนบท และในระหว่างปี 2012-2017 ชาวอังกฤษในวัย 30-40 ปีที่อพยพจากเมืองใหญ่ไปอยู่เมืองเล็กมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก

การที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยอพยพจากเมืองใหญ่ เป็นเพราะต้นทุนการอยู่อาศัยสูงเกิน ไม่ว่าค่าเช่าบ้านหรือซื้อบ้าน ต่างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ผู้คนจำนวนหนึ่งตัดสินใจไปอยู่เมืองเล็กหรือเขตชนบท ก็เพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งหรือได้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า และปีหลังๆนี้ เงื่อนไขการทำงานและการดำรงชีวิตในเขตชนบทของอังกฤษได้รับการปรับปรุงดีขึ้น โดยเฉพาะเงื่อนไขการใช้อินเตอร์เน็ตดีขึ้นและสามารถให้เด็กๆได้รับอากาศที่สะอาดดี ดึงดูดครอบครัวไปอยู่อาศัยในเขตชนบทจำนวนไม่น้อย

บทความดังกล่าวยังระบุว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่กรุงลอนดอนของอังกฤษเท่านั้น หากเป็นสภาพที่พบได้ทั่วไปในเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก รวมถึงเมืองนิวยอร์กและชิคาโกของสหรัฐฯ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้และกว่างโจวของจีน ต่างก็ปรากฏว่า หนุ่มสาววัยรุนย้ายออกจากเมืองใหญ่ไปอยู่เมืองเล็กเป็นจำนวนมาก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่ยังยินยอมอยู่เมืองใหญ่ เนื่องจากมีโอกาสการทำงานมากกว่า มีเงื่อนไขการใช้ชีวิตชนิดต่างๆอย่างครบถ้วน แต่ต้นทุนการดำรงชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต้องยอมแพ้ และเลือกไปอยู่เมืองเล็ก ผลการสำรวจของ EIU ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการต่างๆของเมืองที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดำรงชีวิตทั่วโลก 10 อันดับแรก ล้วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 50% เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน อนึ่ง เมืองต่างๆในโลกเกือบทุกเมืองต่างก็เผชิญกับการท้าทายว่า ทำอย่างไรจึงทำให้ประชาชนได้ที่อยู่อาศัยที่น่าพอใจและเงื่อนไขการคมนาคมที่ดียิ่งขึ้น Yim/Sun

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

郑元萍