ตารางการเจริญเติบโตของเด็ก 0-3 ขวบ มาดูว่าลูกของคุณสอบผ่านหรือยัง

2019-04-23 14:21:57 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_1.1

 

เมื่อพูดถึงกระบวนการเติบโตของเด็ก ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง หลังจากมีลูกหลานแล้ว สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือคำว่า“โตช้ากว่าเกณฑ์”ทำให้พฤติกรรมและสภาพทุกอย่างของเด็กต่างก็ดึงดูดความสนใจของคุณพ่อคุณแม่

โดยเฉพาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ก็จะยิ่งวิตกกังวลหนักมาก เพราะว่าเราจะไม่ทราบหรือบังคับได้เลยว่าลูกจะทำอะไรในเวลาใด ดังนั้น ก็จะเปรียบเทียบลูกของเรากับลูกของคนอื่นโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น ลูกของคนอื่นอายุ 6 เดือนก็สามารถจับพยุงตัวยืนได้ แต่ลูกของเราทำไม่ทำไม่ได้ล่ะ ลูกของคนอื่นอายุ 10 เดือนก็สามารถจับเฟอร์นิเจอร์พยุงตัวเดินได้ แต่ลูกของเราทำไม่เป็น มีปัญหาอะไรหรือเปล่า?

การเปรียบเทียบอย่างนี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้ผลสรุปที่ถูก ยังจะเพิ่มความวิตกและกังวลให้มากขึ้นไปอีก ดังนั้น วันนี้เราสองคนจะมาสรุปให้ฟังคร่าวๆ ว่าเด็กอายุ 1 เดือน- 3 ขวบควรทำอะไรได้ค่ะ ซึ่งคำว่า “ควรทำได้”หมายถึงว่า เด็กทั่วไปที่มีการเติบโตอย่างเป็นปกติต่างก็จะสามารถทำได้ ส่วน“อาจจะทำเป็น”แสดงว่าเป็นความสามารถที่พิเศษเกินเด็กทั่วไป เพราะฉะนั้น ถ้าลูกหลานเราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

ต่อไปมาดู “พัฒนาการของเด็ก” ขั้นแรกช่วงตั้งแต่ 1 เดือน – 3 ขวบ ว่ามีอะไรบ้าง

图片默认标题_fororder_1.2

อายุ 1 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ มีปฏิกิริยาตอบสนองกับเสียงกระดิ่ง สายตาสามารถมองติดตามคนหรือสิ่งของมาถึงตำแหน่งตรงกลางเบื้องหน้าได้ และสุดท้ายคือ สังเกตใบหน้าคน

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ เมื่อนอนคว่ำอาจจะแหงนเงยหน้าได้เล็กน้อย ออกเสียงนอกเหนือจากเสียงร้องไห้ อย่างเช่น อีอีอาอา

เด็กอายุ 2 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ เมื่อเด็กนอนคว่ำจะยกศีรษะแหงนเงยหน้าได้บ้าง สามารถออกเสียงนอกเหนือจากส่งเสียงร้องไห้ อย่างเช่น อีอีอาอา สายตาติดตามคนหรือสิ่งของมาถึงตำแหน่งตรงกลางเบื้องหน้าได้

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ มีการยิ้มแย้มแสดงออกทางอารมณ์

เด็กอายุ 3 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ เมื่อนอนคว่ำจะแหงนเงยหน้าขึ้นมองได้ 45 องศา

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ อาจเอามือทั้งสองจับเข้าหากัน และมีการยิ้มแย้มแสดงออกทางอารมณ์

ต่อไปเรามาดูพัฒนาการของเด็กขั้นตอนที่ 2

เด็กอายุ 4 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ มีการส่งเสียงดัง หัวเราะออกเสียง สายตาของเด็กมองตามคนหรือสิ่งของไปได้ถึง 180° มือสองข้างจับเข้าหากันได้ และมีการยิ้มแย้มแสดงออกทางอารมณ์

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ เมื่อนอนคว่ำอาจจะสามารถยกเงยหน้าขึ้นมองได้ 90 องศา อาจเอื้อมมือคว้าจับของเล่นที่เอามาหยอกล้อเขา เช่น กลองป๋องแป๋ง เป็นต้น

เด็กอายุ 5 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ เมื่อนอนคว่ำจะเงยหน้าและแอ่นตัวยกหน้าอกขึ้นได้ จ้าจับของเล่นที่เอามาหยอกล้อเขาได้

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ ขาทั้งสองข้างอาจจะสามารถรองรับน้ำหนักได้บ้างเล็กน้อย เมื่อจับนั่งศีรษะไม่หงายไปข้างหลัง และอาจเอื้อมมือออกไปคว้าสิ่งที่ต้องการ

เด็กอายุ 6 เดือน

สิ่งที่“ควรทำได้”คือ ขาทั้งสองข้างสามารถรองรับน้ำหนักได้แล้วเล็กน้อย ขณะจับให้นั่งศีรษะก็จะไม่หงายไปข้างหลัง และเอื้อมมือออกไปคว้ารับสิ่งที่ต้องการได้

ส่วนสิ่งที่“อาจจะทำเป็น”คือ อาจแสดงอาการปฏิเสธไม่ให้คนอื่นเอาของเล่นออกไป และอาจถือขนมปังกรอบกินเองได้

Yim/kt

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)

韩希