ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นำประโยชน์สุขสู่ทั่วโลก (1)

2019-04-25 08:53:32 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190425“一带一路”建设造福沿线国家人民(1)b

ท่านผู้ฟังครับ การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 2  จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในปลายเดือนเมษายนนี้   นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนจะกล่าวคำปราศรัยในพิธีเปิดประชุมครั้งนี้  วันนี้เ เราจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ให้ท่านผู้ฟังรับทราบ  

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง  เสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างเดินทางไปเยือนเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดือนกันยายนและเดือนตุลาคมปี 2013 ตามลำดับ  ข้อริเริ่มนี้ระบุว่า จีนจะร่วมมือกับประเทศต่างๆทั่วโลก ในการสร้าง “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนว่า จะอำนวยประโยชน์แก่ประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อชัยชนะร่วมกัน 

ประเทศที่มีส่วนร่วมในข้อริเริ่มนี้จะต้องเสริมการปรึกษาหารือกันอย่างกว้างขวาง    ร่วมกันใช้ความพยายาม  และร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์อย่างทั่วถึง    ต้องมีการประสานนโยบายการพัฒนา  เชื่อมต่อโครงสร้างขั้นพื้นฐาน  อำนวยความสะดวกทางการค้าแก่กัน  และทำให้เงินทุนสามารถหมุนเวียนได้อย่างคล่องตัว 

图片默认标题_fororder_20190425'一带一路'建设造福

จนถึงขณะนี้  มีกว่า 100 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่สมัครเข้าร่วมการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นอกจากนี้ ยังมีกว่า 40 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับจีน  

“แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” ได้เชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ทางตะวันออกกับภูมิภาคยุโรปที่อยู่ทางตะวันตกเข้าด้วยกัน จึงเป็นระเบียงเศรษฐกิจที่ยาวที่สุด และคึกคักที่สุดในโลก  

สำหรับ “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” จะเริ่มต้นจากการดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ แล้วค่อยๆขยายขอบเขตและพื้นที่ความร่วมมือ  เพื่อกระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศและเขตแคว้นตามรายทาง   และเชื่อมต่อเครือข่ายตลาดระหว่างอาเซียน  เอเชียใต้  เอเชียตะวันตก   แอฟริกาเหนือ และยุโรป   รวมทั้งพัฒนาแถบเศรษฐกิจความร่วมมือทางยุทธศาสตร์สู่ทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย     

เจตนารมณ์ “เส้นทางสายไหม” เกิดขึ้นจากการไปมาหาสู่กันระหว่างประเทศต่างๆ ตามรายทางเส้นทางสายไหมที่มีประวัติศาสตร์นับพันปีเจตนารมณ์เส้นทางสายไหม เน้นความสามัคคี ไว้เนื้อเชื่อใจกัน   มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน อำนวยประโยชน์แก่กัน  ยอมรับและศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   และร่วมมือกันเพื่อชัยชนะร่วมกัน  

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปี 2014 กองทุนเส้นทางสายไหมก่อตั้งขึ้นที่กรุงปักกิ่ง หลังจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิงประกาศเมื่อวันที่  8 พฤศจิกายนปีเดียวกันว่า  จีนจะลงทุน 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อก่อตั้งกองทุนดังกล่าว   กองทุนนี้จะสนับสนุนโครงการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน  โครงการพัฒนาทรัพยากร และโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของประเทศรายทางเส้นทางสายไหม   

ส่วนธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชียเป็นองค์กรการเงินระดับภูมิภาคระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล    เน้นสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน    ธนาคารแห่งนี้เป็นองค์กรการเงินข้ามชาติแห่งแรกที่จีนริเริ่มให้ก่อตั้งขึ้น   ปัจจุบัน   สมาชิกของธนาคารแห่งนี้มีกว่า 70 ประเทศ   รองลงจากธนาคารโลกเท่านั้น  

ขณะเดียวกัน  จีนได้จัดตั้งหน่วยงานดูแลการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยมีหน้าที่ศึกษาและดูแลประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  เช่น   การวางแผน  การกำหนดนโยบาย และการดำเนินโครงการสำคัญ      เพื่อให้คำชี้แนะและช่วยประสานความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”   จีนยังได้ประกาศวิสัยทัศน์และแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้าง “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” และ “เส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21”    โดยได้อธิบายถึงที่มาในการริเริ่มสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  หลักการที่ต้องยึดมั่นในการดำเนินความร่วมมือ   แนวคิดเกี่ยวกับการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”โดยสังเขป     ขอบเขตความร่วมมือสำคัญ   และกลไกความร่วมมือในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”   

เมื่อเร็วๆ นี้  นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า    การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในปลายเดือนเมษายนนี้  ณ กรุงปักกิ่ง ตามความปรารถนาของประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”   การประชุมครั้งนี้เป็นกิจการทางการทูตสำคัญที่สุดที่จีนเป็นเจ้าภาพในปีนี้    และก็เป็นกิจการระหว่างประเทศที่ทั่วโลกติดตามอย่างใกล้ชิดด้วย      ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะกล่าวปราศรัยในพิธีเปิดการประชุม   และจะเป็นประธานในการประชุมโต๊ะกลมผู้นำ   ระหว่างการประชุม จะมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยต่างๆ เช่น  การประชุมระดับสูง  การประชุมฟอรั่มในหัวข้อต่างๆ และการประชุมซีอีโอ 

การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 2 มีจุดเด่น 3 ประการดังนี้  คือ ประการแรก ประมุขและหัวหน้ารัฐบาลต่างประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้มีจำนวนมากกว่าการประชุมครั้งแรกอย่างมาก   ประการที่ 2  ผู้ร่วมการประชุมครั้งนี้มีจำนวนหลายพันคนจากกว่า 100 ประเทศ ซึ่งมากกว่าการประชุมครั้งแรกอย่างมากเช่นกัน   และประการสุดท้าย   การประชุมครั้งนี้จะจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น    รวมทั้งมีการประชุมกลุ่มย่อยใน 12 หัวข้อ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม    นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุมนักธุรกิจเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างช่องทางความร่วมมือสำหรับบรรดานักธุรกิจโดยเฉพาะด้วย  

ธีมของการประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งนี้คือ  “ร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่ออนาคตอันดีงาม”  โดยกำหนดเป้าหมายจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพในระดับสูงภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จีนมีความปรารถนาที่จะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับทุกฝ่าย 

เกี่ยวกับการวางแผนความร่วมมือในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ในอนาคต

จีนและผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีคุณภาพในระดับสูง   จะยึดมั่นในหลักการร่วมปรึกษาหารือกัน  ร่วมมือกัน และรับประโยชน์ร่วมกัน   จะสนับสนุนแนวความคิดที่ให้มีการเปิดกว้าง มีความโปร่งใส และการยอมรับกันในการดำเนินความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”   และมุ่งมั่นสู่การพัฒนาแบบสีเขียวและยั่งยืน  

จีนกับประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะแสวงหาส่วนเกื้อกูลกันระหว่างข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น  เร่งดำเนินโครงการความร่วมมือสำคัญ       ขับเคลื่อนการปฏิบัติวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปีค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ  ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้นขณะลงลึกความร่วมมือในด้านต่างๆ    

จีนจะปฏิบัติตามแนวความคิดที่ให้มีชัยชนะร่วมกัน  เน้นการเชื่อมต่อโครงสร้างขั้นพื้นฐาน   เพื่อเสริมพลังขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกัน  กระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น  

จีนจะยึดมั่นในนโยบายเปิดประเทศ    จะร่วมกับทุกฝ่ายสนับสนุนเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์    และรักษาปกป้องความเป็นพหุภาคีของโลก  อีกทั้งร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิดกว้าง     

เฉกเช่นที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยกล่าวไว้ว่า  จีนเป็นผู้ริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” แต่ประโยชน์ที่เกิดจากข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นั้น จะเป็นของประเทศต่างๆทั่วโลกด้วย   จีนมีความปรารถนาและเชื่อมั่นว่า  การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 2 จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน   และเป็นอีกเหตุการณ์สำคัญในการดำเนินความร่วมมือภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” 

นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนยังกล่าวอีกว่า   6 ปีนับตั้งแต่จีนเสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เป็นต้นมา    “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ได้กลายเป็นช่องทางความร่วมมือที่มีขนาดใหญ่สุดของโลก อีกทั้งยังเป็นโครงการสาธารณะระดับโลกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด   จนถึงขณะนี้    มี 123   ประเทศ และ 29 องค์กรระหว่างประเทศได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับจีน    พวกเขาได้ให้คะแนนเสียงที่สูงในการสนับสนุนและเชื่อมั่นข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

การสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ได้ยึดมั่นในหลักการร่วมปรึกษาหารือ และร่วมมือกันเพื่อชัยชนะร่วมกันมาโดยตลอด   ข้อริเริ่มนี้ได้สร้างโอกาสมหาศาลให้แก่ทุกฝ่าย

แน่นอน  ข้อริเริ่มใหม่ๆทุกอย่างต้องการเวลาการพัฒนาต่อไป  จีนยินดีรับฟังข้อเสนอเชิงสร้างสรรค์จากประเทศที่มีส่วนร่วมในความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”    ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหลักการร่วมปรึกษาหารือ ร่วมมือกันเพื่อชัยชนะร่วมกันอย่างแท้จริง   จีนเชื่อมั่นว่า  ด้วยการใช้ความพยายามของทุกฝ่าย   ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”จะทำให้เส้นทางสายไหมโบราณมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งในยุคสมัยใหม่   และจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้ชนชาติและประเทศต่างๆ ทั่วโลกร่วมกันสร้างประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน

  • เสียงข่าวประจำวัน (03-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (03-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (03-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

韩希