‘พล.อ.ประยุทธ์’ ระบุ ขอบเขตความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง

2019-04-26 12:49:05 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190426by1

ฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างที่ 25 – 27 เมษายนนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย จะเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม และเข้าร่วมการประชุมผู้นำโต๊ะกลม โดยเขาได้ระบุกับสื่อมวลชนจีนประจำประเทศไทยเป็นลายลักอักษรก่อนการเดินทางว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นข้อริเริ่มสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตของทั้งเศรษฐกิจเอเชียและเศรษฐกิจโลก ไทยจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ เขายังระบุอีกว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” แสวงหาการเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา โดยมุ่งสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุน และโครงการเชื่อมต่อระหว่างกันกับประเภทต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ ตลอดจนได้นำเนื้อหาเหล่านี้ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนไทยแลนด์ 4.0 ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจการเข้าร่วมกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค อย่างแข็งขันของไทย

ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เดินหน้าอย่างรวดเร็ว ขอบเขตความร่วมมือขยายวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างกัน มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สู่กฎหมาย วัฒนธรรม พลังงาน ภาษีอากร และสาธารณสุข  ไทยยินดีที่เห็นจำนวนนักลงทุนจีนที่ต้องการมาลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนยังมีความคืบหน้า โดยพลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ไทย-จีนยังสามารถร่วมกันผลักดันการสร้างเขตอ่าวใหญ่กว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า ให้เชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทยได้อย่างไร้รอยต่อ ขณะเดียวกัน อาศัยศักยภาพของกรอบความร่วมมือกับข้อเสนอภายในภูมิภาคหลายฉบับ ความร่วมมือกับจีนและประเทศในภูมิภาคจะสูงขึ้นไปอีกระดับ

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังเห็นว่า การเชื่อมต่อระหว่างกัน เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” สามารถลดต้นทุนด้านการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิผล  อำนวยความสะดวกด้านการไปมาหาสู่กันของบุคลากรและการแลกเปลี่ยนทางนวัตกรรม ตลอดจนร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม จึงมีส่วนช่วยยกระดับความสำเร็จด้านการเชื่อมต่อระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาค ดังนั้น การที่ไทยและจีนดำเนินความร่วมมือด้วยดีนั้น จะสามารถผลักดันการเชื่อมต่อและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และในขอบเขตที่กว้างยิ่งขึ้น

Tim/feng/zi

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

鲁峰