ตามรายงาน The Mainichi ของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งญี่ปุ่น (JST) ใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของบริษัท Elsevier และจากการวิเคราะห์จำนวนการอ้างอิงวิทยานิพนธ์โดยเฉลี่ยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 10% แรก แสดงให้เห็นว่าวิทยานิพนธ์เหล่านี้ครอบคลุมถึง 151 สาขา อาทิเช่น การวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต ฟิสิกส์ เคมี วัสดุ และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การวิเคราะห์พบว่า ในการวิจัยทั้ง 151 สาขานี้ การวิจัยของจีนมีอยู่สองสาขาที่เข้าเป็น 5 อันดับแรก เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว แต่ในปี 2017 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 146 สาขา ซึ่งมีอยู่ 71 สาขาที่เป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงการวิจัยด้านวิศวกรรม วัสดุ และคณิตศาสตร์ เป็นต้น แต่จำนวนสาขาการวิจัยของญี่ปุ่นที่เดิมทีเข้าเป็น 5 อันดับแรก เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จาก 83 สาขา ลดลงเหลือ 18 สาขา และมีเพียงวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงแค่สองสาขา ที่ได้เข้าเป็น 3 อันดับแรก ซึ่งในทางตรงกันข้าม การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หากมีการอ้างถึงวิทยานิพนธ์มากเท่าไหร่ ก็แสดงว่ามีคนให้ความสนใจมากเท่านั้น และยิ่งทำให้ระดับวิทยานิพนธ์มีค่ามากขึ้น