เมื่อ 5 ปีก่อน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเดินทางไปเยือนสำนักงานใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เป็นครั้งแรก พร้อมกล่าวปาฐกถา ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเคยเยือนหลายพื้นที่ในโลก สิ่งที่ชอบทำมากที่สุดคือ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอารยธรรมที่ต่างกันของ 5 ทวีป”
5 ปีให้หลัง จีนจัด “การประชุมอารยธรรมเอเชีย” ขึ้นที่กรุงปักกิ่งในวันที่ 15 พฤษภาคม โดยมีผู้แทนจาก 47 ประเทศเอเชีย ตลอดจนจากรัฐบาลในทวีปอื่นๆ และองค์การภาคเอกชนรวมกว่า 2,000 คน ที่จะเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำสูงสุดของจีนเอาใจใส่อารยธรรม และเพราะเหตุใดจึงเสนอข้อริเริ่มให้จัดประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยอารยธรรม คำตอบมีอยู่ในคำปราศรัยของนายสี จิ้นผิง ดังต่อไปนี้
---บนโลกมีกว่า 200 ประเทศและเขตแคว้น กว่า 2,500 ชนเผ่า และหลายศาสนา ประวัติศาสตร์และสภาพประเทศที่ต่างกัน ชนเผ่าและขนบธรรมเนียมที่ต่างกัน ก่อเกิดอารยธรรมที่ต่างกัน ทำให้โลกมีสีสันและความหลากหลายมากขึ้น
---อารยธรรมมนุษย์นานาพันธุ์มีความเท่าเทียมกันทางคุณค่า ล้วนมีข้อดีและข้อด้อย บนโลกไม่มีอารยธรรมที่สมบูรณ์แบบ และไม่มีอารยธรรมที่เลวร้าย อารยธรรมไม่มีการแบ่งแยกสูงต่ำ ดีเลว
---ความแตกต่างทางอารยธรรมไม่ควรเป็นเหตุให้เกิดการปะทะของโลก หากควรเป็นแรงขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ
---ประวัติศาสตร์บอกเราว่า มีเพียงการแลกเปลี่ยนเป็นแบบอย่างซึ่งกันและกัน อารยธรรมใดอารยธรรมหนึ่งจึงสามารถเต็มเปี่ยมด้วยพลังชีวิต ขอเพียงเชิดชูจิตที่เปิดกว้าง ก็จะไม่มี “การปะทะกันทางอารยธรรม” จะสามารถสร้างความปรองดองทางอารยธรรมได้
---จีนเสนอให้เปิดประชุมอารยธรรมเอเชีย เพิ่มการแลกเปลี่ยนทุกแวดวง ทั้งเยาวชน กลุ่มประชาชน ท้องถิ่น และสื่อมวลชน รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือคลังสมอง ให้ประชาชนเอเชียมีชีวิตทางจิตใจที่มีนัยยะมากขึ้น ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาภูมิภาคให้มีพลังที่มีชีวิตชีวามากขึ้น
(BO/LING/CAI)