จีนพร้อมรับมือกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากภายนอก

2019-05-13 17:02:35 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190513ydzb1

สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า   เมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ประกาศจะเริ่มกระบวนการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนที่เหลือทั้งหมดในมูลค่า 3.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ   หลังประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 10%  เป็น 25%   โดยสหรัฐฯจะประกาศบัญชีรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีนที่จะถูกขึ้นภาษีในเร็วๆ นี้   การประกาศนี้เกิดขึ้นในขณะที่การเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงจีน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 11 เพิ่งสิ้นสุดลงที่กรุงวอชิงตัน   และทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า จะเดินหน้าการเจรจากันต่อไป

สหรัฐฯด้านหนึ่งประกาศว่าจะขึ้นภาษาสินค้าที่นำเข้าจากจีนที่เหลือทั้งหมด  แต่อีกด้านหนึ่งก็แสดงว่า ยินดีที่จะเดินหน้าการเจรจากับจีนต่อไป      เห็นได้ชัดเลยว่า  สหรัฐฯยังคงใช้กลยุทธ์ทั้งไม้แข็งและไม้นวมกับจีน โดยกดดันจีนอย่างถึงที่สุด  เพื่อได้ประโยชน์สูงสุดที่โต๊ะเจรจา  แต่หากวิเคราะห์คำพูดของนายหลิว เฮ่อ กรรมการกรมการเมือง คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์  รองนายกรัฐมนตรีจีน หัวหน้าคณะการเจรจาฝ่ายจีน ที่กล่าวกับสื่อมวลชนหลังสิ้นสุดการเจรจาครั้งที่ 11   สหรัฐฯต้องตระหนักดีว่า   ประเด็นปัญหาที่จีนให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเจรจาทางเศรษฐกิจและการค้ามีอยู่ 3 ประการ ได้แก่   1.   ต้องยกเลิกมาตรการขึ้นภาษีทั้งหมด    2. ตัวเลขการค้าต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง     และ 3.  ต้องปรับข้อตกลงให้มีความสมดุล  โดยจีนจะไม่อ่อนข้อในหลักการสำคัญดังกล่าว  ดังนั้น  ไม่ว่าสหรัฐฯจะใช้มาตรการกดดันอย่างไรก็ตาม   จะไม่มีผลกับจีนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต   

หากทบทวนกระบวนการเจรจาทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาจะพบว่า การเจรจามีความคืบหน้า แต่ก็มีเหตุพลิกผันหลายครั้ง โดยจีนมองว่า  เหตุเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจาเท่านั้น  และพยายามขับเคลื่อนการเจรจาให้มีความคืบหน้าด้วยความจริงใจตลอดมา   เพราะจีนรู้ดีว่า     การทำสงครามการค้าไม่มีฝ่ายชนะ      การขึ้นภาษีสินค้าไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้งจีนและสหรัฐฯ อีกทั้งยังไม่เป็นประโยชน์ต่อทั่วโลกด้วย   ความร่วมมือจึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้องแต่เพียงทางเดียวของจีนและสหรัฐฯ   แต่ความร่วมมือต้องมีหลักการ   หลักการ 3 ประการที่จีนประกาศต่อสาธารณะที่กล่าวมาข้างต้นนี้  สหรัฐฯไม่สามารถท้าทายและล้ำเส้นได้  

  หากสหรัฐฯดึงดันที่จะขึ้นภาษี   จีนย่อมต้องตอบโต้  หลังเกิดความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้าเป็นเวลากว่าหนึ่งปี      จีนได้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ มามากแล้ว    ความสามารถในการรับมือกับแรงกดดันจากภายนอกก็มีความเข้มแข็งขึ้น    มาตรการในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ  มีความมั่นคงยิ่งขึ้น     ทั้งนี้เป็นเพราะว่า   จีนเข้าใจดีว่า   การที่สหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีนั้น   แท้จริงแล้ว เป็นความเสี่ยงทางยุทธศาสตร์ครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่ง ซึ่งจะนำความเสียหายให้กับตัวเอง   การกระทำของสหรัฐฯ เป็นการกระทำที่สวนกระแส  และละเมิดความต้องการของประชาชนทั่วไป  จึงต้องประสบความล้มเหลวอย่างแน่นอน 

จากรายงานการวิจัยฉบับหนึ่งที่บริษัท Trade Partnership Worldwide ของสหรัฐฯประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา    หากสหรัฐฯขึ้นภาษาสินค้านำเข้าจากจีนในมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯจาก 10%  เป็น 25% ก็จะทำให้ตำแหน่งงานของสหรัฐฯหายไป 9.34 แสนตำแหน่งภายในปีเดียว    รายจ่ายของครอบครัวชาวอเมริกันที่มีสมาชิก 4 คนจะเพิ่มขึ้น 767 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี   หากขึ้นภาษีสินค้าจากจีนที่เหลือทั้งหมดในมูลค่า   3.25  แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 10%  เป็น 25%   จะทำให้ตำแหน่งงานของสหรัฐฯหายไป 2.1 ล้านตำแหน่งภายในปีเดียว     รายจ่ายของครอบครัวชาวสหรัฐฯที่มีสมาชิก 4 คนจะเพิ่มขึ้นปีละ 2,000  ดอลลาร์สหรัฐต่อปี  

ส่วนทางด้านจีน ซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกขึ้นภาษีสามารถรับมือกับแรงกดดันได้  หากพิจารณาจากด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ    การอุปโภคบริโภคมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีสูงถึง 76.2%  ขณะที่การส่งออกมีสัดส่วนในจีดีพีลดเหลือเพียง 17.9 % เท่านั้น     ความต้องการภายในประเทศกำลังกลายเป็นกำลังสำคัญในการหนุนเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่ไม่แน่นอนหลายอย่าง 

ส่วนทางด้านการค้า    4  เดือนแรกของปีนี้   ยอดมูลค่าการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ลดลง 11.2%   โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯลดลง 4.8% การนำเข้าจากสหรัฐฯลดลง 26.8%   ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  สินค้าสหรัฐฯจำนวนมาก จีนสามารถนำเข้าจากที่อื่นทดแทนได้    ระยะเดียวกัน  จีนเกินดุลการค้าสหรัฐฯ  10.5%   ซึ่งแสดงให้เห็นว่า   การขึ้นภาษีไม่เพียงไม่สามารถแก้ไขปัญหาความสมดุลทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯเท่านั้น  แต่ยังจะเพิ่มภาระให้แก่ผู้บริโภคชาวอเมริกัน

นอกจากนี้ 4 เดือนแรกปีนี้     ยอดมูลค่าการค้าจีนกับสหรัฐฯ ในสัดส่วนยอดมูลค่าการค้าทั้งหมดของจีนลดเหลือถึง 11.5%  ขณะที่การค้านำเข้าและส่งออกระหว่างจีนกับหุ้นส่วนการค้าสำคัญอื่น เช่น สหภาพยุโรป  อาเซียนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว    โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดมูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เติบโตขึ้นถึง 9.1% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยของการเติบโตทางการค้าที่ 4.8%     ทั้งนี้หมายความว่า   หุ้นส่วนทางการค้าของจีนมีความหลากหลายยิ่งขึ้น    ความสามารถของจีนในการรับมือกับแรงกดดันจากภายนอกมีความเข้มแข็งขึ้น     แม้สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนทั้งหมด    จีนก็สามารถรับมือได้ โดยจีนสามารถยกเลิกการค้าบางส่วนกับสหรัฐฯ และนำการค้าส่วนนี้ไปทำกับประเทศในภูมิภาคอื่น  

สรุปได้ว่า   ไม่ต้องกลัวสหรัฐฯจะกดดันอย่างที่สุด     สหรัฐฯยิ่งกดดัน  จีนยิ่งเข้มแข็ง  ยิ่งมั่นคง   จีนได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนมาโดยตลอดว่า   ไม่อยากทำสงครามการค้า  แต่ก็ไม่กลัวสงครามการค้า    หากจำเป็นจริงๆ   ก็ต้องทำ   เมื่อเผชิญกับทั้งกลยุทธ์ไม้นวมและไม้แข็งของสหรัฐฯ  จีนมีคำตอบอย่างชัดเจนว่า  หากต้องการเจรจา    จีนยินดี    แต่หากดึงดันจะทำสงครามการค้า   จีนก็จะตอบโต้จนถึงที่สุด  

(bo/cai) 

 

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

蔡建新