อาจารย์จากเยลเรียกร้องให้สหรัฐฯให้ความสำคัญจากบทเรียนในประวัติศาสตร์

2019-05-20 19:42:57 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_2_meitu_1

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาสตราจารย์สตีเฟน โรช(Stephen Roach) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเยล นักเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐฯกล่าวว่า การที่รัฐบาลสหรัฐขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนนั้น คล้ายกับนโยบายกีดกันทางการค้าที่สหรัฐฯเคยดำเนินเมื่อทศวรรษ 1930 ทั้งนี้ ศาสตราจารย์สตีเฟน โรชเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐหยุดดำเนินการกีดกันทางการค้า เรียนรู้จากประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ หลีกเลี่ยงการกระทำผิดซ้ำ

ศาสตราจารย์สตีเฟน โรชกล่าวขณะให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก( Bloomberg) ว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 1930 ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์จำนวนกว่า 1,000 คนได้ร่วมส่งจดหมายร้องเรียนต่อประธานาธิบดีฮูเวอร์ เรียกร้องให้ประธานาธิบดีฮูเวอร์ปฏิเสธกฎหมายการค้า  “The Smoot-Hawley Tariff Act” แต่ประธานาธิบดีฮูเวอร์ในสมัยนั้น ก็คิดเหมือนประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ว่าตัวเองเก่งทางด้านเศรษฐศาสตร์ยิ่งกว่านักเศรษฐศาสตร์ จึงมองข้ามข้อเสนอของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ลงนามผ่านกฎหมายฉบับดังกล่าว

กฎหมายการค้า  “The Smoot-Hawley Tariff Act” เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทางการค้าโดยสมาชิกวุฒิสภาสองคนเป็นผู้ริเริ่ม หลังประธานาธิบดีฮูเวอร์ได้ลงนามประกาศผ่านกฎหมายฉบับนี้แล้ว ทางสหรัฐฯได้ขึ้นภาษีต่อสินค้านำเข้าจำนวนกว่า 20,000 ชนิด ทำให้หุ้นส่วนการค้าสหรัฐฯต่างไม่พอใจโต้ตอบ และเกิดสงครามการค้าทั่วโลก ในที่สุดการส่งออกของสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 60% การค้าทั่วโลกทรุดลงสองในสาม

ทั้งนี้  ศาสตราจารย์สตีเฟน โรชชี้ว่า บทเรียนจากประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯกำลังมีแนวโน้มที่จะทำผิดซ้ำ ซึ่งมีสาเหตุจากประธานาธิบดีไม่รับฟังข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง

(Bo/Zi/Zheng)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

晏梓