ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นำประโยชน์สุขสู่ทั่วโลก (3)

2019-05-22 09:29:09 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190522一带一路造福沿线国

ท่านผู้ฟังครับ การประชุมสุดยอด“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งแรกจัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมปี 2017   ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวคำปราศรัยใน หัวข้อ “ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 ” ในพิธีเปิดการประชุมครั้งนั้น 

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวว่า   ยินดีต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากกว่า 100 ประเทศเดินทางมากรุงปักกิ่ง เพื่อร่วมวางแผนความร่วมมือในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”   ซึ่งจะมีความหมายสำคัญยิ่ง   และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  ผู้ร่วมการประชุมทุกท่านจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  และให้โครงการแห่งศตวรรษนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก  

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า  เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน  บรรพบุรุษของชาวจีนบุกเบิกเส้นทางโดยข้ามทุ่งหญ้าและทะเลทรายอันเวิ้งว้างกว้างไกลด้วยความยากลำบากมาก เพื่อเปิดเส้นทางสายไหมทางบกที่เชื่อมต่อเอเชีย-ยุโรป-แอฟริกา   บรรพบุรุษของชาวจีนยังได้เดินเรือต่อสู้กับคลื่นทะเลที่รุนแรง เพื่อเปิดเส้นทางสายไหมทางทะเลที่เชื่อมภาคตะวันออกและตะวันตกของโลก   เส้นทางสายไหมโบราณได้เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆสามารถไปมาหาสู่กันอย่างฉันมิตรได้   และได้เปิดบันทึกหน้าใหม่แห่งการพัฒนา ความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติ     ทุกวันนี้   “ตัวไหมเนื้อสัมฤทธิ์ชุบทอง” โบราณวัตถุเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์นับพันปี ยังคงจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มณฑลส่านซีของจีน      รวมทั้ง “ซากเรือโบราณจีน” ที่มีประวัติศาสตร์นับพันปีเช่นกัน ซึ่งพบในบริเวณน่านน้ำหมู่เกาะเบอลีตุงของอินโดนีเซีย ล้วนเป็นสักขีพยานที่ดีของประวัติศาสตร์การบุกเบิกเส้นทางสายไหมของชาวจีน 

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า  เส้นทางสายไหมที่มีระยะทางนับหมื่นนับพันลี้ และมีประวัติศาสตร์นับพันปีเป็นแหล่งกำเนิดเจตนารมณ์แห่งสันติภาพ ความร่วมมือ การเปิดกว้าง การยอมรับกัน การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การอำนวยประโยชน์แก่กันและการมีชัยชนะร่วมกัน นี่เป็นมรดกอันล้ำค่าของอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ 

图片默认标题_fororder_20190522一带一路造福沿线国人民(3)b

ด้านสันติภาพและความร่วมมือ    ในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนเมื่อประมาณ 140 ปีก่อนคริสต์ศักราช “จางเชียน” ทูตของจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นเดินทางออกจากกรุงฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่น ไปยังดินแดนภาคตะวันตก      เพื่อภารกิจแห่งสันติภาพและการเชื่อมต่อดินแดนภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก   หลังจากนั้นอีกหลายศตวรรษ ในสมัยราชวงศ์ถัง  ราชวงศ์ซ่ง และราชวงศ์หยวน  เส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นพร้อมกัน   นักเดินทางจากประเทศต่างๆ เช่น  ตู้หวน-ชาวจีน  มาร์โคโปโล-ชาวอิตาเลียน และอิบัน บาตูตาห์(Ibn Batutah)-ชาวโมร็อกโก ต่างได้ทิ้งรอยเท้าไว้บนเส้นทางสายไหม   เมื่อต้นศตวรรษที่ 15  “เจิ้งเหอ” นักเดินเรือชื่อดังของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงนำขบวนเรือมุ่งหน้าไปยังทะเลตะวันตกถึง 7 ครั้ง  จนถึงทุกวันนี้ ความสำเร็จของเจิ้งเหอ ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนยุคปัจจุบัน

ภารกิจบุกเบิกเส้นทางสายไหมเหล่านี้ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผู้บุกเบิกเหล่านี้พิชิตเส้นทางสายไหมด้วยเรือรบ ปืน หรือดาบ   แต่เป็นเพราะว่า    ภารกิจที่พวกเขาดำเนินกันเป็นภารกิจสันติภาพ  พวกเขาได้นำขบวนอูฐและขบวนเรือที่บรรทุกทรัพย์สมบัติจำนวนมากไปบุกเบิกเส้นทางใหม่   นักเดินทางที่บุกเบิกเส้นทางสายไหมทุกรุ่นได้สร้างสะพานเชื่อมสันติภาพและความร่วมมือระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของโลก 

ด้านการเปิดกว้างและยอมรับกัน   เส้นทางสายไหมโบราณข้ามลุ่มแม่น้ำหลายสาย  เช่น   แม่น้ำไนล์ แม่น้ำไทกริส  แม่น้ำยูเฟรทีส  แม่น้ำสินธุ  แม่น้ำคงคา  แม่น้ำหวงเหอ และแม่น้ำแยงซี  ได้เชื่อมต่อแหล่งกำเนิดอารยธรรมอียิปต์   บาบิโลเนียน  อินเดีย และจีน   เชื่อมต่อดินแดนที่นับถือศาสนาพุทธ    คริสต์  และอิสลาม   รวมทั้งแหล่งชุมชนของประชาชนที่อยู่ในประเทศและมีเชื้อชาติที่ต่างกัน   เส้นทางสายไหมนี้ทำให้ประชาชนที่มีอารยธรรม ศาสนา และเชื้อชาติต่างกัน สามารถแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง เปิดกว้างและยอมรับกันได้     จากการแลกเปลี่ยนเป็นเวลายาวนาน  ประชาชนในพื้นที่รายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ได้บ่มเพาะเจตนารมณ์แห่งการเคารพซึ่งกันและกัน และร่วมกันใช้ความพยายามเพื่อการพัฒนาร่วมกัน    เมืองโบราณต่างๆ เช่น จิ่วเฉวียน, ตุนหวง, ถูหลู่ฟัน, คาสือ, ซามาร์คันด์, แบกแดด,  คอนสแตนนิโนเปิล และท่าเรือโบราณต่างๆ เช่น ท่าเรือหนิงโป,  กว่างโจว,  เป๋ยไห่,  โคลัมโบ,  เจดดะฮ์   และอเล็กซานเดรีย ล้วนเสมือนเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชีวิตที่ได้บันทึกประวัติศาสตร์ดังกล่าวไว้   ประวัติศาสตร์ช่วงนี้สะท้อนให้เห็นว่า  เมื่อใดมีการเปิดสู่ภายนอก อารยธรรมก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น   เพราะประเทศชาติต่างๆ มีโอกาสพัฒนาเติบโตขึ้นจากการแลกเปลี่ยน  

และศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   เส้นทางสายไหมโบราณไม่เพียงเป็นเส้นทางทางการค้าเท่านั้น  หากยังเป็นเส้นทางสำหรับการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ด้วย     ผ้าไหม  เครื่องกระเบื้อง  เครื่องเขิน  เครื่องเหล็กของจีนถูกขนส่งไปยังประเทศตะวันตก ขณะที่พริก ผ้าลินิน เครื่องเทศ  องุ่น และทับทิมของประเทศตะวันตกถูกนำเข้าสู่จีนผ่านเส้นทางสายไหม   อีกทั้งศาสนาพุทธ  อิสลาม ดาราศาสตร์  ปฏิทิน และยารักษาโรคของอาหรับก็ถูกเผยแพร่มาสู่จีนผ่านเส้นทางสายไหมด้วย     นอกจากนี้  4 สิ่งประดิษฐ์ยิ่งใหญ่และเทคนิคเลี้ยงไหมของจีนก็ได้รับการเผยแพร่ไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกผ่านเส้นทางสายไหมเช่นกัน   และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านี้คือ   การแลกเปลี่ยนสินค้าและวิชาความรู้นั้นกระตุ้นให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆขึ้น   ยกตัวอย่างเช่น  ศาสนาพุทธกำเนิดที่อินเดีย แต่มาเจริญรุ่งเรืองขึ้นที่จีน  และได้รับการสืบทอดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ลัทธิขงจื๊อกำเนิดที่จีน  แต่ได้รับการยกย่องนับถือจากนักคิดยุโรป เช่น   ไลมป์นิท(Leibniz)  และวอลแตร์ (Voltaire) เป็นต้น นี่ก็คือผลและเสน่ห์แห่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ด้านอำนวยประโยชน์แก่กันและได้ชัยชนะร่วมกัน    เส้นทางสายไหมโบราณเป็นสักขีพยานแห่งการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนและการค้าขาย ระหว่างประเทศตะวันออกกับตะวันตกผ่านเส้นทางสายไหมทางบกและทะเล  บนเส้นทางสายนี้   ปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น เงินทุน เทคโนโลยี บุคลากรสามารถหมุนเวียนได้อย่างเสรี   สินค้า ทรัพยากร และความสำเร็จต่างๆ ถูกนำมาแบ่งปันกัน   เมืองสำคัญต่างๆ   เช่น   อัลมาตี, ซามาร์คันด์,  ฉางอัน  และเมืองท่าสำคัญต่างๆ เช่น เมืองซู , กว่างโจว ต่างมีความเจริญรุ่งเรืองมาก   อาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น  จักรวรรดิโรมัน,  ราชอาณาจักรคูซาน ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมากเช่นกัน  ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ถังของจีนได้เข้าสู่ยุคทอง  เส้นทางสายไหมโบราณได้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ภูมิภาคนี้  และช่วยกระตุ้นการพัฒนาของภูมิภาคนี้ให้เติบโตขึ้นด้วย  

ประวัติศาสตร์เป็นครูที่ดีที่สุดของพวกเรา  ประวัติศาสตร์เส้นทางสายไหมที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองมากแสดงให้เห็นว่า   ไม่ว่าเราจะห่างไกลกันมากแค่ไหน  ขอแต่กล้าก้าวออกไปก้าวแรก   และหันหน้าเข้าหากัน ก็จะสามารถก้าวไปสู่หนทางแห่งการติดต่อไปมาหาสู่กัน  มีความเข้าใจกัน และพัฒนาร่วมกัน     ก้าวไปสู่อนาคตที่มีสันติสุข และกลมกลืนกันได้       

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า   หากมองในแง่ประวัติศาสตร์และสังคม    ประชาคมมนุษย์ได้เดินมาถึงยุคแห่งการพัฒนา การปฏิรูป และการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่   ปัจจุบัน  ความเป็นหลายขั้วของโลก   เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์  สังคมดิจิทัล  และความหลากหลายทางวัฒนธรรมกำลังพัฒนาในระดับลึกซึ้ง      สันติภาพและการพัฒนานับวันมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งขึ้น   การปฏิรูปและนวัตกรรมมีความคืบหน้าต่อไป   ความผูกพันระหว่างประเทศต่างๆ มีความใกล้ชิดกว่าช่วงเวลาใดในอดีต       ความปรารถนาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนประเทศต่างๆ มีความเข้มข้นกว่าช่วงเวลาใดในอดีต    วิธีการเอาชนะความยากลำบากต่างๆ นาๆของประชาคมมนุษย์มีความหลากกว่าช่วงเวลาใดในอดีต    

หากมองในแง่สภาพความเป็นจริง   โลกกำลังเผชิญกับการท้าทายต่างๆ มากมาก เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจโลกต้องการมีพลังขับเคลื่อนใหม่   การพัฒนาต้องครอบคลุมในขอบเขตที่กว้างยิ่งขึ้น และมีความสมดุลกันมากขึ้น  ช่องว่างระหว่างความยากจนกับความร่ำรวยต้องลดน้อยลง  ประเด็นร้อนในบางภูมิภาคทำให้เกิดสถานการณ์ปั่นป่วน  ลัทธิก่อการร้ายยังคงระบาดต่อไป   สรุปได้ว่า  ตัวเลขแดงทางสันติภาพ การพัฒนา และการบริหารโลกเป็นการท้าทายที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่  ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ไตร่ตรองถึงแนวทางแก้ไขประเด็นปัญหาเหล่านี้ตลอดเวลา 

ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2013   ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเสนอข้อริเริ่มร่วมสร้าง “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” และ “เส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21” หรือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ระหว่างเยือนคาซัคสถาน และอินโดนีเซียตามลำดับ   จีนมีสุภาษิตว่า  “ต้นท้อและต้นพลัมไม่จำเป็นต้องออกปากพูด แต่แรงดึงดูดของมันก็ทำให้ใต้ต้นมีทางเดินเกิดขึ้นเอง”   ช่วงหลายปีมานี้  100 กว่าประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ได้บรรจุเนื้อหาการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”อยู่ในมติที่สำคัญ  ปัจจุบัน วิสัยทัศน์สร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กำลังเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ 

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (20-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

韩希