“วังต้องห้าม-กู้กงปักกิ่ง” ปลุกกระแสความนิยมใหม่ในจีน (4)

2019-06-05 10:24:33 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_4.1

การลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของกู้กง เป็นแบบฉบับของการนำแบรนด์เนมเก่ามาพัฒนาให้มีความทันสมัย ถือเป็นกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลจริง ซึ่งกลยุทธ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างดีนี้นี้ ย่อมไม่ใช่เพียงเพราะการแสดงความน่ารักง่ายๆอย่างที่ทุกคนเห็นเป็นแน่ แล้วกลยุทธ์ที่แท้จริงของกู้กงคืออะไร?

1.สร้างภาพลักษณ์กู้กงที่เข้ากับคนทั่วไป

ตามสถิติ ผู้ที่ติดตามบัญชีวีแชททางการของกู้กงนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนวัย 19 ปี -34 ปี คนรุ่นนี้มีเอกลักษณ์ส่วนบุคคลที่เด่นชัด คือ ชอบสิ่งแปลกใหม่ อยู่กับอินเตอร์เน็ตทั้งวัน สนใจประเด็นร้อน และชอบภาษาแฟชั่นทางเน็ต ฉะนั้น การที่ “พิพิธภัณฑ์วังกู้กง” เปลี่ยนโฉมหน้าเก่าเป็นภาพลักษณ์น่ารักๆ และสร้างประเด็นร้อนทางเน็ตด้วยการลงโพสต์ต่างๆทันกระแส ทำให้วังกู้กงเข้าใกล้กับชีวิตคนทั่วไปมากขึ้น วังกู้กงที่งามสง่าและอยู่สูงเกินเอื้อมในอดีตได้เปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ที่สนุกสนานและน่ารัก

图片默认标题_fororder_4.2

2.แบรนด์เนมเดียว ไม่มีคู่แข่ง เนื้อหาดึงดูดสายตา

การที่ “พิพิธภัณฑ์วังกู้กง” ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงนี้ มีเหตุผลหลายประการ ที่ขาดไม่ได้คือ “ยี่ห้อกู้กง” เป็นทรัพยากรที่หาได้ยาก และไม่มีคู่แข่ง และขณะที่ใช้กลวิธีสร้างภาพลักษณ์น่ารักๆแล้ว ทางกู้กงก็ได้จัดทำสารคดีที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังต้องห้ามขึ้นด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่น่าติดตาม ในการสะท้อนผลงานการอนุรักษ์และศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวังกู้กง โดยได้จัดทำสารคดีหลายเรื่อง เช่น “ผมซ่อมวัตถุโบราณที่วังกู้กง” “หากวัตถุโบราณพูดได้” และ “สมบัติล้ำค่าแห่งชาติ”

สารคดีหลายเรื่องนี้สะท้อนถึงชีวิตการทำงานของช่างซ่อมวัตถุโบราณ คุณค่าและภูมิหลังความเป็นมาของวัตถุโบราณจากหลายแง่มุม ที่สำคัญสารคดีเรื่องๆต่างเหล่านี้นอกจากมีคุณภาพและเนื้อหาที่ดีแล้ว ยังมีช่องทางเผยแพร่หลากหลายทั้งทางโทรทัศน์และสื่อใหม่ต่างๆ เช่น วีแชท และ tiktokจีน ทำให้เนื้อหาดีๆเข้าถึงผู้บริโภคสื่อได้อย่างทั่วถึง

图片默认标题_fororder_4.3

3.ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสนุกสนานนำแฟชั่น

“พิพิธภัณฑ์วังกู้กง” นับเป็นตัวแทนสไตล์จีนที่เข้มข้นที่สุด มีลักษณะความเป็นจีนอย่างมาก การนำผู้คนและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาบอกเล่า และขุดความหลังที่มีอยู่ออกมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของตน จะทำให้การออกแบบและการผลิตนำกระแสแฟชั่นได้

อย่างเช่น “ที่คั่นหนังสือ” เป็นรูปฮ่องเต้และมเหสีทำท่าน่ารักๆ สติกเกอร์ แก้วน้ำ เมาส์ และถุงเท้าที่มีเอกลักษณ์กู้กง พอถ่ายรูปกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และโพสต์ทางสื่อโซเชียลก็จะมีคนกดไลค์ให้มากมาย

การออกผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน และยังสามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมวังกู้กงได้รับความนิยมอย่างมาก และคนที่ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ถูกมองว่าเป็นคนรักวัฒนธรรมจีนและนำกระแสแฟชั่นด้วย เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ว่า “เอากู้กงกลับบ้านได้”

图片默认标题_fororder_4.4

4.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้บ่อยครั้ง

ความถี่ในการบริโภคเป็นอีกประเด็นที่ “พิพิธภัณฑ์วังกู้กง” ให้ความสำคัญ ความสำเร็จของการจำหน่ายทางสื่อใหม่ไม่ได้อยู่ที่ว่า ลูกค้าแต่ละคนจ่ายเงินมากเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่าลูกค้าได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นบ่อยแค่ไหน

สำหรับวังกู้กงแล้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แต่ละคนอาจจะไปเที่ยวเพียงครั้งสองครั้งในชั่วชีวิต นับเป็นสินค้าที่บริโภคได้น้อยครั้ง แต่วังกู้กงกลับเลือกนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆที่บริโภคได้บ่อยๆ เช่น ลิปสติก สมุดโน้ต และที่คั่นหนังสือ ตลอดจนแก้วน้ำดื่มเป็นต้น ทำให้ลูกค้าบริโภคผลิตภัณฑ์วังกู้กงได้บ่อยเท่าที่ต้องการ

กล่าวได้ว่า “พิพิธภัณฑ์วังกู้กง” มีกลยุทธ์การจำหน่ายตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ถึงวิธีการจำหน่ายอย่างรอบด้าน วังกู้กงวัย 600 ปีจึงกลายเป็นแบรด์เนมที่ดึงดูดสายตาวัยรุ่นจีนได้ นับเป็นตัวอย่างกลยุทธ์การจำหน่ายในยุคอินเตอร์เน็ตและสื่อใหม่ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป กลยุทธ์ของแบรนด์เนมก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

(Yim/cici)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

郑元萍