นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนคิดค้นวิธีการใหม่ในการตรวจหาตัวบ่งชี้มะเร็ง

2019-06-09 18:00:54 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_04

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีนแห่งซูโจว (SIBET) ได้พัฒนาวิธีการตรวจจับแบบใหม่ที่สามารถตรวจจับตัวบ่งชี้มะเร็งหลากหลายชนิดได้พร้อมกัน โดยวิธีการใหม่นี้ สามารถตรวจจับตัวบ่งชี้มะเร็งสองชนิดที่พบได้ทั่วไป อย่างสะดวก มั่นคง และรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตรวจหาและวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น

ตามรายงาน วิธีการใหม่นี้ใช้ทฤษฎีของอะตอมจากไม่กี่ชนิดจนถึงหลายสิบชนิด ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ เพื่อตรวจหาสัญลักษณ์ของโรคมะเร็งสองชนิด ได้แก่ Carcinoembryonic Antigen (CEA) และ Alpha-Fetoprotein (AFP) ซึ่งความไวในการตรวจจับนั้นดีขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการวิเคราะห์ทางแสงและเคมีไฟฟ้าแบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้น้ำยาสารเคมีได้อย่างมาก อีกทั้งมีข้อดีคือ ต้นทุนต่ำและใช้งานได้สะดวก โดยผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการเผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ ในวารสารวิชาการที่มีชื่อเสียง "Nanoscale" ของสมาคมเคมีแห่งอังกฤษ

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

李秀珍