บทวิเคราะห์: จีนเปิดประเทศกว้างขึ้นพร้อมต่อต้านลัทธิกีดกันการค้า

2019-06-28 10:01:05 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_微信图片_20190628094145

เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 10 ปีก่อน  ขณะเดียวกันยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบใหม่อันหนักหน่วง ซึ่งก็คือ ลัทธิกีดกันการค้า ที่กำลังฉุดเศรษฐกิจโลกให้ตกอยู่ในภาวะถดถอย ขณะที่ทั่วโลกกำลังตั้งตารอการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ที่จะจัดขึ้นที่นครโอซากา ว่าจะมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อลัทธิกีดกันการค้า เพื่อดึงเศรษฐกิจโลกกลับสู่หนทางการเจริญเติบโต

ในปี 2013 ผู้นำจีนได้เสนอข้อริเริ่ม “เสริมสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิด”  ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของยุคสมัยและความต้องการของประชาชนทั่วโลก โดยได้เสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและอนาคต ต่อมาในเดือนมีนาคมปีนี้  องค์กรอำนาจสูงสุดของจีนได้มีมติผ่านร่างกฎหมายการลงทุนสำหรับต่างชาติ ซึ่งเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายว่า จีนได้เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาจากเน้นตลาด สู่การพัฒนาเชิงระบบ ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่แห่งการเปิดประเทศ

图片默认标题_fororder_微信图片_20190628094155

นายมาร์ติน แจ็คกี้ส์ นักประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มองว่า  ลัทธิกีดกันการค้าและแนวทางอเมริกาต้องมาก่อน อาจมีส่วนได้ในปัจจุบัน แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ มีความเข้มแข็งภายนอกแต่มีความอ่อนแอภายใน แนวโน้มโลกาภิวัตน์มิอาจต้านทานได้ สมาชิกกลุ่ม G20 จึงควรยึดมั่นในมาตรการที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงลัทธิพหุภาคี องค์กรพหุภาคี และความร่วมมือแบบพหุภาคี

รายงานระบุว่า ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G20 ผู้นำจีนและผู้นำต่างประเทศจะมีการพบปะเจรจากันทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นำประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือในภูมิภาค ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังดำเนินลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันการค้า การที่ประเทศต่าง ๆ พิทักษ์ระบบการค้าพหุภาคีและผลักดันเศรษฐกิจโลกแบบเปิดจึงเป็นนัยที่สำคัญยิ่ง

图片默认标题_fororder_微信图片_20190628094158

(Tim/Cui/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

崔沂蒙