ไอ. เอ็ม. เพ – สถาปนิกชื่อก้องโลก ใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์แบบ (1)

2019-07-08 16:33:34 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_1_副本

ช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวดังในอินเตอร์เน็ตจีน คือสถาปนิกโมเดิร์นนิสต์ชื่อก้องโลก "ไอ. เอ็ม. เพ" เสียชีวิตในวัย 102 ปี จริง ๆ แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักชื่อของเขา เพราะเขาเป็นสถาปนิกชื่อดังมาก เขาเป็นผู้ออกแบบพีระมิดลูฟวร์ ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของยุคปัจจุบัน

图片默认标题_fororder_2_副本

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2019 นาย Sandi Pei บุตรชายของ ไอ. เอ็ม. เพ ได้กล่าวกับ The New York Times ถึงการเสียชีวิตของบิดาเมื่อคืนวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในบ้านพักของเขาในแมนฮัตตัน อายุ 102 ปี ต่อมาโฆษกส่วนตัวของ ไอ. เอ็ม. เพ ได้ยืนยันข่าวความสูญเสียครั้งนี้กับสื่อทั่วโลก ทำให้บุคคลในแวดวงสถาปัตยกรรมต่างไว้อาลัยและรำลึกถึงผลงานของเขา เขาถูกจารึกให้เป็นหนึ่งในสถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลตลอดศตวรรษที่ 20 ด้วยผลงานอันโดดเด่นมากมาย ผลักดันตัวเองขึ้นมาสร้างสรรค์งผลงานที่มีชื่อเสียระดับโลก

ไอ. เอ็ม. เพ (I. M. Pei - Ieoh Ming Pei) หรือ ชื่อจีนเป้ย ลวี่ หมิง เกิดเมื่อปี 1917 ในนครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และเติบโตในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ บรรพบุรุษของเขาเป็นคนซูโจว เป็นครอบครัวที่มีชื่อเสียงในซูโจว แต่พออายุได้ 18 ปี เขาได้ย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกา เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีน และเข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และเริ่มหลงใหลในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกสูงสุดของสถาปัตยกรรม  งานออกแบบของไอ.เอ็ม. เพ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น โดยมีการใช้ หิน คอนกรีต แก้ว และเหล็กเป็นส่วนใหญ่ ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ไอ. เอ็ม. เพ ถูกรู้จักในนาม "ผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่" เขาเป็นสถาปนิกที่มีแนวความคิดในการออกแบบแบบนอกกรอบ แต่ยังคำถึงสภาพภูมิอากาศและประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้น ๆ อยู่เสมอ

ถ้าเคยดูภาพยนตร์เรื่องรหัสลับระทึกโลก (อังกฤษ: The Da Vinci Code)  จะต้องประทับใจกับพีระมิดกระจกลูฟร์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งกรุงปารีส ความลับสุดท้ายในภาพยนตร์ก็ถูกซ่อนไว้ที่นี่ พีระมิดกระจกลูฟร์เป็นทางเข้าหลักสู่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ใต้ดิน เป็นผลงานที่ขึ้นชื่อที่สุดของไอ. เอ็ม. เพ  จนมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากอยากรอคิวเพื่อเข้าพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ผ่านพีระมิดกระจก ทั้ง ๆ ที่มีทางเข้าอีกสองทาง ทุกวันนี้ พีระมิดลูฟร์เป็นมากกว่าแลนด์มาร์กหรือฉากหลังให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปสวยๆ  แต่กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความหรูหราและโมเดิร์นของฝรั่งเศส ตัวพีระมิดลูฟร์มีความสูง 21.6 เมตร ตัวฐานแต่ละด้านกว้าง 34 เมตร ถือเป็นสถาปัตยกรรมรูปทรงพีระมิดที่ยิ่งใหญ่อันดับ 15 ของโลก นับตั้งแต่อดีต

图片默认标题_fororder_3_副本

หลายคนอาจไม่รู้ว่า อาคารหลังนี้จริง ๆ แล้วมาจากการออกแบบโดยฝีมือของคนจีน ซึ่งก็คือสถาปนิกไอ. เอ็ม. เพ

ไอ. เอ็ม. เพเกิดจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงของเมืองซูโจว  ในช่วงระยะเวลาเฉียนหลงของราชวงศ์ชิง ครอบครัวเขาก็เป็นหนึ่งในสี่ครอบครัวที่รวยที่สุดในซูโจว มรดกทางวัฒนธรรมโลก—สวนส่วนตัวซือจื่อหลิน(สวนสิงโต) เป็นบ้านบรรพบุรุษของครอบครัวเขา แม้ว่าไอ. เอ็ม. เพเกิดที่นครกวางโจว เติบโตขึ้นในฮ่องกง แต่ทุกวันหยุดฤดูร้อน เขาก็ต้องกลับไปที่บ้านซูโจวเพื่อเยี่ยมญาติ มักเล่นกับครอบครัวในสวนบ่อย ๆ สวนแบบจีนโบราณ ซึ่งมีหิน บ่อ ขอบหน้าต่าง น้ำไหล ให้เขาปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความงามของอาคารตั้งแต่วัยเด็ก

เมื่ออายุ 10 ปี ไอ. เอ็ม. เพตามพ่อไปเซี่ยงไฮ้ สมัยนั้นนครเซี่ยงไฮ้เป็นมหานครของตะวันออก ระหว่างทางไปโรงเรียนทุกวัน เขาได้เห็นโรงแรมอินเตอร์เนชั่นแนลเซี่ยงไฮ้ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ซึ่งเป็นตึกสูง ๆ มี 24 ชั้นและมากกว่า 200 ห้อง ทำให้ไอ. เอ็ม. เพหลงเสน่ห์ “โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสูง ผมหลงใหลความสูงของมัน จากนั้นมา ผมตั้งใจที่จะเป็นสถาปนิก” มากกว่าแค่คำพูด เขาเริ่มศึกษาการออกแบบอาคารด้วยตัวเอง ยังวาดแบบหลายชิ้น เมื่อปี 1935 ด้วยความฝันว่าจะสร้างโรงแรมอินเตอร์เนชั่นแนลของตนเองสักวันหนึ่ง ไอ. เอ็ม. เพที่อายุ 17 ปี ขึ้นเรือไปเรียนสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (อังกฤษ: University of Pennsylvania) แต่เขาผิดหวังกับภาควิชาสถาปัตยกรรมของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เพราะเขาได้เริ่มเกิดความรู้สึกไม่นิยมสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ และใช้เวลาว่างศึกษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เพียงสองสัปดาห์ต่อมาเขาย้ายไป MIT(Massachusetts Institute of Technology) เรียนกับศาสตราจารย์เลอโคบุชซียา ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม

 

Bo/Patt

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

周旭