แม่น้ำหย่งติ้งเส้นเลือดใหญ่ของชาวปักกิ่ง

2019-08-14 08:16:13 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

图片默认标题_fororder_1

ถ้าหากพูดว่า แม่น้ำเจ้าพระยาเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของคนกรุงเทพฯ แม่น้ำหย่งติ้งก็คือเส้นเลือดใหญ่ของคนปักกิ่ง

แม่น้ำหย่งติ้งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของกรุงปักกิ่ง แม่น้ำสายนี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลซานซี ไหลผ่านมณฑลเหอเป่ย กรุงปักกิ่งและนครเทียนจิน สุดท้ายไหลเข้าสู่ทะเลปั๋วไห่ มีความยาวประมาณ 700 กิโลเมตร

ชื่อของแม่น้ำหยงติ้ง มีตำนานอยู่เรื่องหนึ่ง ในสมัยก่อน แม่น้ำหย่งติ้งเคยมีชื่อว่าแม่น้ำอู๋ติ้ง คำว่า อู๋แปลว่าไม่ ติ้งแปลว่ามั่นคง เพราะว่า ลุ่มแม่น้ำหย่งติ้งมักจะมีฝนตกหนักทำให้น้ำท่วม กระแสน้ำก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ชาวบ้านจึงเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำอู๋ติ้ง เพราะไม่มั่นคง จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซีทรงสั่งให้ขุดลอกเส้นทางน้ำและทำคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำให้แข็งแรง อุทกภัยที่เคยเกิดจึงไม่เกิด แม่น้ำสายนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็นแม่น้ำหย่งติ้งจนถึงทุกวันนี้  สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของชาวบ้านที่หวังว่า แม่น้ำสายนี้จะมีความมั่นคงตลอดไป

图片默认标题_fororder_2

ที่กรุงปักกิ่ง แม่น้ำหย่งติ้งไหลผ่านเขตเหมินโถวโกว สือจิ่งซาน เฟิงไถ ฝางซาน และต้าซิงทั้งหมด 5 เขต และได้หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมหลากหลาย เช่น วัดถานเจ๋อก็ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำหย่งติ้ง แสดงถึงวัฒนธรรมทางศาสนา ส่วนหมู่บ้านซวนตี่เซี่ยก็ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำหย่งติ้ง แสดงถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวปักกิ่งโบราณ ส่วนโรงงานเหล็กกล้ากรุงปักกิ่งก็อยู่ริมแม่น้ำหย่งติ้ง เพราะการหล่อเหล็กกล้านั้น ต้องใช้พลังงานน้ำเป็นจำนวนมาก

โรงงานเหล็กกล้ากรุงปักกิ่งอยู่ติดกับภูเขาสือ จิ่งซาน ถ้ายืนอยู่บนยอดเขาสือ จิ่งซาน ก็สามารถมองเห็นแม่น้ำหย่งติ้งอย่างชัดเจน เมื่อก่อน สือ จิ่งซานเรียกว่า สือจิงซาน สือก็แปลว่าหิน จิงก็แปลว่าคัมภีร์ ส่วนซานก็แปลว่าภูเขา เพราะในสมัยก่อน มีพระสงฆ์สลักคัมภีร์ทางพุทธศาสนาไว้บนภูเขาลูกนี้ จึงมีชื่อดังกล่าว ขณะนี้ โรงงานเหล็กกล้าของกรุงปักกิ่งได้กลายเป็นที่ทำการของคณะกรรมการจัดงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง ส่วนภูเขาสือ จิ่งซานก็จะกลายเป็นสวนสาธารณะเพื่อเปิดให้ชาวบ้านได้พักผ่อนหย่อนใจ

(Bo/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-11-2567)

  • เขตซินเจียงเปิดเส้นทางรถไฟขบวนฟู่ซิง เชื่อมพื้นที่ฝั่งตะวันออกและทางภาคใต้เทือกเขาเทียนซานของซิงเจียงเป็นครั้งแรก

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

韩希