ทบทวนประวัติฮ่องกงกลับคืนสู่จีน (1)

2019-09-23 09:58:57 | CMG
Share with:

图片默认标题_fororder_香港回归之路(1)a

ฮ่องกงกลับคืนสู่มาตุภูมนั้นเป็นส่วนหนึ่งสำคัญของการรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น  ชาวจีนได้พยายามในเรื่องนี้มาโดยตลอด   ดังนั้น เมื่อเรื่องฮ่องกงกลับคืนสู่จีนได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1997   ชาวจีนทั่วประเทศจึงรู้สึกปลื้มปิติและภาคภูมิใจยิ่ง 

ปัญหาการกลับคืนสู่มาตุภูมิของฮ่องกงนั้น ประการแรกถือว่าเป็นปัญหาเชิงการทูต  เนื่องจากการเรียกเอาดินแดนที่เป็นของจีนแต่ดั้งเดิมคืนจากประเทศที่ยึดครองนั้น จะต้องผ่านการเจรจาทางการทูต 

นับแต่มีการบรรลุข้อตกลงระหว่างจีน-อังกฤษจนถึงวันที่ฮ่องกงกลับคืนสู่จีนอย่างเป็นทางการนั้น  มีช่วงเปลี่ยนผ่านอันยาวนาน   โดยในระหว่างนั้น   ฝ่ายอังกฤษต้องรับประกันว่า จะบริหารฮ่องกงให้ดี  และต้องรักษาเสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรืองของฮ่องกงเอาไว้   ขณะที่จีนต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการจัดทำนโยบายที่เป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงหลังฮ่องกงกลับคืนสู่จีน  โดยใช้นโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ” เพื่อให้สามารถรักษาเสถียรภาพ และความเจริญของฮ่องกงไว้ได้

图片默认标题_fororder_香港回归之路(1)b

ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยาวนานนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงต้องมีการประชุมหารือกันในด้านต่างๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามข้อตกลงและคำมั่นสัญญา   ช่วงเวลานั้น  จีนได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในข้อตกลงกับอังกฤษ โดยจะให้ความร่วมมือแต่ไม่แทรกแซงงานบริหารประจำวันของอังกฤษในฮ่องกงในช่วงเปลี่ยนผ่าน  แต่จีนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งการมีส่วนร่วมในเรื่องใดก็ตามที่ส่งผลต่อการบริหารเขตฮ่องกงหลังฮ่องกงกลับคืนสู่จีนแล้ว 

ตอนเติ้ง เสี่ยวผิง วางแผนใช้นโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ”ในการแก้ไขปัญหาฮ่องกงนั้น  ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ชัดเจนว่า  หัวใจในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้ก็คือ  จะสามารถรักษาเสถียรภาพของฮ่องกงในช่วงเปลี่ยนผ่านไว้ได้หรือไม่ 

ตอนนั้นจีนมีความมั่นใจอย่างมากกับอนาคตของฮ่องกงว่า  ดินแดนของฮ่องกงจะกลับคืนสู่จีนในที่สุด  แต่ก็ยังเป็นห่วงอยู่ว่า  จะสามารถคงเสถียรภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างนานนี้ได้หรือไม่  จีนจึงหวังว่า จะไม่เกิดความวุ่นวายที่จะกระทบต่อเสถียรภาพและความเจริญของฮ่องกง 

เมื่อปลายปี ค.ศ.1984 จีนและอังกฤษได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาฮ่องกง  หลังจากนั้น ฮ่องกงได้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน   ในช่วงหลายปีแรก  ทั้งสองฝ่ายมีการร่วมมือกันด้วยดี   การปรึกษาหารือและการเจรจาเกี่ยวกับกิจการสำคัญที่เป็นรูปธรรมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความคืบหน้าท่ามกลางบรรยากาศที่ดี   ช่วงเวลานั้น  ทั้งสองฝ่ายหากมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  ก็จะคำนึงถึงจุดยืนของอีกฝ่ายหนึ่ง  มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้สามารถบรรลุความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ได้ 

ในช่วงต่อระหว่างฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน ค.ศ.1989 ได้เกิดเหตุการณ์เทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง   เป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอังกฤษเปลี่ยนแปลงไป

ในขณะเดียวกัน  อังกฤษก็ไปร่วมมือกับประเทศตะวันตกทำการคว่ำบาตรจีน  เป็นผลให้การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอังกฤษต้องประสบอุปสรรคมาก   อังกฤษคล้ายจะเสียใจในภายหลังที่ได้ลงนามกับจีนอย่างเป็นทางการในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาฮ่องกงในเดือนธันวาคมปี 1984 

图片默认标题_fororder_香港回归之路(1)c

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนของปีเดียวกัน  อังกฤษขอเลื่อนการประชุมครั้งที่ 13 ของคณะทำงานประสานงานจีน-อังกฤษที่กำหนดจะประชุมในเดือนกรกฎาคมออกไป  ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดปกติ  เพราะหลังจากมีการตั้งคณะทำงานประสานงานฯในปี 1985 เป็นต้นมา   ก็ยังไม่เคยมีการขอเลื่อนการประชุมออกไปโดยลำพังฝ่ายเดียวจากฝ่ายไหนมาก่อนเลย 

ต่อมาไม่นาน  อังกฤษได้วิจารณ์สถานการณ์ภายในประเทศจีน แล้วโยงเข้ากับปัญหาฮ่องกงว่า   สถานการณ์ในจีนได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวฮ่องกงอย่างมาก    นอกจากนี้แล้ว  อังกฤษยังกล่าวว่า   มีความจำเป็นที่จะให้มีทหารจีนเข้าไปประจำการในฮ่องกงหลังฮ่องกงกลับคืนสู่จีนหรือไม่อย่างไร      และแจ้งว่า อังกฤษเตรียมทบทวนเรื่องการเลือกตั้งโดยตรงในฮ่องกงในปี 1991 และขอให้จีนเลื่อนการประกาศกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงออกไปก่อน  

สำหรับเรื่องที่จีนจะส่งกองทหารเข้าประจำการในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนั้น ได้มีการเขียนไว้ในแถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-อังกฤษว่าด้วยปัญหาฮ่องกง ส่วนเรื่องการเลือกตั้งในฮ่องกงในปี 1991 ทั้งสองฝ่ายก็มีความเห็นเป็นเอกฉันท์จากการปรึกษาหารือแล้ว   แต่ตอนนี้อังกฤษกลับหยิบยกปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน  แสดงว่า อังกฤษต้องการจะพลิกเรื่อง   จีนจึงปฏิเสธคำกล่าวอ้างเรื่องสถานการณ์ในจีนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวฮ่องกง และกล่าวว่า   เป็นเพราะการกระทำที่ไม่เป็นมิตรของอังกฤษต่างหากที่ทำให้ชาวฮ่องกงสูญเสียความเชื่อมั่น   ส่วนเรื่องเกี่ยวกับระบบการปกครองของฮ่องกงนั้น  จีนไม่เห็นด้วยการเปลี่ยนแปลงโดยลำพังฝ่ายเดียวของอังกฤษ   จากนั้น  ความขัดแย้งเชิงการทูตระหว่างจีน-อังกฤษที่กินเวลาอันยาวนานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการปกครองในฮ่องกงก็ได้เปิดฉากขึ้น

ปลายปี 1989 ในขณะที่สถานการณ์ในจีนดีขึ้นอีกครั้ง เศรษฐกิจก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ประเทศตะวันตกจึงได้ผ่อนปรนการคว่ำบาตรจีนลง   โดยสหรัฐฯเป็นประเทศแรกที่ส่งทูตพิเศษมาเยือนจีนอย่างลับๆ เพื่อหาทางปรับความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น  ทางอังกฤษก็ไม่ยอมล้าหลังใคร  จึงได้ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน โดยนายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต        แธตเชอร์ได้ส่งทูตพิเศษมาเยือนจีนอย่างลับๆ เพื่อหาทางปรับความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้นเช่นกัน

นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต        แธตเชอร์แจ้งจีนผ่านทูตพิเศษอังกฤษว่า  หวังจะให้ทั้งสองฝ่ายต้องหยุดยั้งไม่ให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเลวร้ายลงไปอีก  และต้องรื้อฟื้นการแลกเปลี่ยนที่ดีเช่นเมื่อก่อน

นอกจากนั้น ยังมีการกล่าวย้ำถึงจุดยืนของอังกฤษว่า จะเคารพและปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมระหว่างสองประเทศ   และรับปากเป็นพิเศษว่า  ไม่มีเจตนาที่จะให้ฮ่องกงเป็นฐานในการบ่อนทำลายประเทศจีน และจะไม่ทำให้ปัญหาฮ่องกงเป็นปัญหาระหว่างประเทศ

แต่แล้ว     นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต        แธตเชอร์ก็เปลี่ยนประเด็นว่า  อังกฤษกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักที่จะให้เพิ่มจำนวนสมาชิกนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงในปี 1991 ให้มากๆ  ดังนั้น  ตอนที่จีนร่างกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ขอจีนร่างให้สอดคล้องกับการดำเนินการของอังกฤษด้วย    ทั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  อังกฤษจะให้ปัญหาการเลือกตั้งในฮ่องกงเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีน-อังกฤษ   การใช้วิธีการกดดันของอังกฤษถูกจีนโต้กลับทันที 

อย่างได้ก็ตาม  จีนได้ชื่นชมอังกฤษที่ได้แสดงความปรารถนาจะปรับความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น      สำหรับปัญหาอัตราส่วนสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่ได้จากการเลือกตั้งโดยตรง   จีนบอกอังกฤษว่า  จำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่ได้จากการเลือกตั้งโดยตรงที่ระบุไว้ในกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฉบับร่างตอนนี้ไม่ควรแตกต่างกันมากกับที่ระบุไว้ในกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฉบับสมบูรณ์  เนื่องจากหากสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่ได้จากการเลือกตั้งโดยตรงในปี 1991 เกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฉบับร่างตอนนี้มากเกินไป  ก็เกรงว่า จะไม่สอดรับกับกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงที่จะประกาศใช้ในอนาคต   ความหมายข้างต้นก็คือ  จีนจะไม่รับข้อเสนอของฝ่ายอังกฤษ แต่ก็แจ้งว่า  ร่างกฎหมายพื้นฐานเขตบริหารพิเศษฮ่องกงยังแก้ไขได้  โดยทั้งสองฝ่ายสามารถหารือกันได้อีก   บานประตูสู่การเจรจาของจีนยังเปิดกว้างอยู่

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

郑元萍