นักวิทยาศาสตร์จีนหาวิธีกำจัดยุงให้หมดไป

2019-09-26 09:41:21 | CMG
Share with:

图片默认标题_fororder_20190926蚊子2

เชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีใครชอบยุง ที่จีน เมื่อถึงฤดูร้อน ก็จะมียุงจำนวนมากมารบกวน ส่วนฤดูใบไม้ร่วงจำนวนยุงก็ไม่เห็นน้อยลง ทั้งยังกลายเป็นยุงตัวใหญ่ ที่ประเทศเขตร้อน น่าจะต้องทนกับยุงทั้งปี ทุกครั้งที่ออกไปเดินเล่น ก็จะถูกยุงกัด เวลานอน เมื่อมียุงบินไปบินมาใกล้เรา ก็จะได้ยินเสียงและทำลายฝันดีของคืนนั้น

นอกจากนี้ เราไม่ชอบยุงไม่เพียงเพราะถูกกัดแล้วคันมาก ยังมีอีกสาเหตุสำคัญคือ ยุงเป็นพาหะโรคติดเชื้อมากมาย รวมถึงไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้เหลือง ไวรัสซิกา เป็นต้น เพราะฉะนั้น เราจะใช้เครื่องมือกันยุงบ่อยๆ เช่น ยาจุดกันยุง มุ้งกันยุง และอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถขับไล่ยุงจากชีวิตเราให้หมดไป

ปัจจุบัน มีข่าวดีคือ นักวิทยาศาสตร์จีนใช้เทคโนโลยีทดลองกำจัดยุงที่เกาะสองแห่งของเมืองกว่างโจว และเกือบกำจัดยุงลายสวนในพื้นที่ทดลองให้หมด ซึ่งถือว่าเป็นผลงานใหญ่ในแวดวงวิทยาศาสตร์โลก โดยวารสาร Nature วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงของโลก ตีพิมพ์ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จีน

ยุงลายสวนที่ว่านี้เป็นพันธุ์ที่มนุษย์คุ้นเคยและรังเกียจมาก ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมีอยู่ทั่วโลก และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (ISSG) กำหนดให้เป็นหนึ่งในร้อยสายพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่น่ากลัวที่สุดของโลก ยุงลายสวนเป็นพาหะเชื้อไว้รัสหลายชนิด มีนิสัยโจมตีมนุษย์และสัตว์จัดเป็นสายพันธุ์ดุ เมื่อรุกรานเข้าพื้นที่ใหม่ก็จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่เข้มแข็งกว่าอย่างรวดเร็ว จึงถูกจัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่แพร่พันธุ์เร็วที่สุดของโลกในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

图片默认标题_fororder_20190926蚊子1

นักวิทยาศาสตร์ได้ต่อสู้กับยุงชนิดนี้มานานแล้ว และเคยทดลองวิธีมากมายเพื่อลดจำนวนยุงลายสวน วิธีหนึ่งก็คือใช้รังสีทำให้ยุงตัวผู้เป็นหมัน และปล่อยออกไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมีย เพราะมีแต่ยุงตัวเมียที่ดูดเลือด ส่วนตัวผู้จะกินเพียงน้ำหวานจากพืช ดังนั้น การปล่อยยุงตัวผู้จะไม่กระทบมนุษย์มาก ทั้งยังสามารถแทรกแซงการวางไข่ของยุงตัวเมีย แต่ภายหลังพบว่า ยุงตัวผู้ที่เป็นหมันอ่อนแอกว่ายุงตัวผู้ธรรมดา จึงมีความลำบากในการดึงดูดยุงตัวเมีย

และมีวิธีที่มีผลอีกวิธีหนึ่งคือใช้เชื้อแบคทีเรียชื่อ “โวลบาเกีย” ซึ่งไม่มีภัยต่อมนุษย์ แต่จะมีผลกระทบต่อเซลล์สืบพันธุ์ของแมลง นักวิทยาศาสตร์ปล่อยยุงตัวผู้ที่ติดเชื้อโวลบาเกียแล้วออกไป จะทำให้ยุงตัวเมียวางไข่ที่ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ ซึ่งประสบผลดีมากในห้องทดลอง และสามารถกำจัดยุงได้ผลจริง แต่เมื่อจะปล่อยออกไปยังมีปัญหาคือ นักวิทยาศาสตร์ต้องประกันว่า ยุงที่ติดเชื้อโวลบาเกียเป็นตัวผู้หมด ถ้ามีตัวเมียต้องกำจัดก่อน เพราะถ้ายุงตัวเมียที่ติดโวลบาเกียถูกปล่อยออกไป ยังสามารถออกไข่ที่ฟักเป็นตัวได้ ทั้งยังแข็งแรงพอเพียงที่จะแทนยุงสายพันธุ์เก่าด้วย

นายซี จื้อหย่ง ศาสตราจารย์และหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์การศึกษาและควบคุมแมลงเขตร้อนที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยจงซานของจีนและมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตตของสหรัฐอเมริกา จึงลองปรับและผสมสองวิธีดังกล่าว โดยให้ยุงลายสวนติดเชื้อโวลบาเกีย แล้วใช้รังสีระดับต่ำทำหมันยุง เมื่อทำอย่างนี้แล้ว ยุงตัวเมียที่ติดเชื้อโวลบาเกียหากถูกปล่อยออกมาก็ไม่มีความเสี่ยงว่าจะวางไข่ที่ฟักเป็นตัวได้ และการฉายรังสีระดับต่ำก็ไม่ทำให้ยุงตัวผู้อ่อนแอเกินไปด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงไม่ต้องกังวลเรื่องแบ่งยุงตัวผู้และยุงตัวเมียให้ได้แน่ชัด และยังสามารถเพิ่มจำนวนยุงตัวผู้ที่เป็นหมันในแต่ละสัปดาห์ได้ถึง 5 ล้านตัว

หลังจากประสบผลสำเร็จในห้องทดลอง คณะนักวิทยาศาสตร์จึงขอการอนุญาตจากกระทรวงการเกษตรของจีนให้ทดลองในเกาะสองแห่งของเมืองกว่างโจว นายซี จื้อหย่ง กล่าวว่า การสนับสนุนของประชาชนในพื้นที่ทดลองสำคัญมาก การปล่อยยุงตัวผู้ที่เป็นหมันจำนวนมากออกไป แม้ว่าจะทำให้ยุงในพื้นที่ทดลองลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ในขั้นต้น จะทำให้ประชาชนเกิดความกังวลมากด้วย เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะปล่อยยุง นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจงซานจะยื่นมือเข้าไป เพื่อพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า เป็นยุงตัวผู้ที่ไม่กัดมนุษย์ทั้งหมด

ช่วงฤดูผสมพันธุ์ของยุงในปี 2016 และปี 2017 นักวิทยาศาสตร์จีนได้ปล่อยยุงทั้งที่ติดเชื้อโวลบาเกียและได้รับการฉายรังสีแล้วทุกสัปดาห์ ปรากฏว่า การทดลองประสบผลสำเร็จตามการคาดหวังของนักวิทยาศาสตร์ คือ ทำให้จำนวนยุงลดลง 90% ประชาชนในพื้นที่ก็ยืนยันว่า การถูกยุงกัดลดน้อยลงอย่างมาก

ยุงเป็นแมลงที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในชีวิต แต่สิ่งมีชีวิตตัวเล็กแค่นี้กลับฆ่ามนุษย์ได้มากที่สุดในโลก ดังนั้น หากวิธีกำจัดยุงนี้ถูกใช้แพร่หลายไปทั่ว จะมีความหมายสำคัญมากในการควบคุมโรคติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งก็ยังมีบางคนกังวลว่า เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จะเกิดยุงที่แข็งแรงกว่านี้ จนสามารถต่อสู้กับวิธีนี้ได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม วิธีกำจัดยุงนี้ถือเป็นผลงานใหญ่ที่จะช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีขึ้น เราไม่ควรขัดขวางความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เพียงเพราะสิ่งที่ไม่แน่นอนในอนาคต

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

郑元萍