บทสัมภาษณ์คุณไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (2)

2019-10-30 10:35:14 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_采记协主席pic2.1_副本

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอการเดินทางครั้งนี้ได้ไปเยี่ยมชมหนังสือพิมพ์ หนุงหมินรึเป้า

คุณไชยยงค์:ครั้งนี้ได้ไปดูสำนักงานหนังสือพิมพ์ ได้ไปดูกิจการ  ได้ไปดีการบริหารของหนังสือพิมพ์ ที่เป็นหนังสือพิมพ์เสนอข่าวการเกษตรทั้งฉบับ  ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มาดูงานหนังสือพิมพ์ที่นำข่าวแบบสาขาอาชีพโดยตรง  ที่ประเทศไทย แม้ว่าเราจะเป็นอาชีพเกษตรกรรมก็จริง แต่หนังสือพิมพ์ของประเทศไทย ยังไม่มีฉบับไหนที่ให้ความสำคัญกับเกษตรกรโดยเสนอข่าวด้านเดียวเพื่อเกษตรกรอย่างที่ประเทศจีนทำ  เพราะฉะนั้น จากการที่ได้เยี่ยมชมและก็ได้ฟังบรรยายสรุป ก็เห็นชัดเจนถึงการให้ความสำคัญของประเทศจีน นโยบายของประธานสี จิ้นผิงที่มีต่อเกษตรกร  และที่สำคัญที่สุด ได้พบว่า การนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เป็นการนำเสนอข่าวที่ทันสมัย มีการหลอมลวมสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ ทั้งโซเซียล ทั้งระบบแอปลิเคชั่น ทั้งหมด ซึ่งเป็นความทันสมัยที่สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารที่รวดเร็ว ซึ่งถือว่ารวดเร็วกว่าหลายๆ ประเทศ ตรงนี้ก็มองว่า นี่คือการพัฒนาของสื่อในปะเทศจีน  และก็สามารถที่จะตอบจุดของเกษตรกรที่เป็นชาวไร่ขาวนา ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติได้ เพราะปัจจุบัน ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า ทุกอาชีพ จะต้องมีองค์ความรู้  ไม่มีอาชีพไหน  ต่อไปผมเชื่อว่า แม้แต่อาชีพของการขายแรงงาน จะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามา  ไม่ฉะนั้น  คนเหล่านี้จะไม่สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคม  คือก้าวตามโลก ก้าวตามสังคมไม่ทัน  ตรงนี้ก็ถือเป็นความประทับใจในการที่ได้ไปเยี่ยมชมหนังสือพิมพ์ เกษตรกร(หนุงหมินรึเป้า )

图片默认标题_fororder_采记协主席pic2.2_副本

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอนอกจากนั้น ได้เยี่ยมชมหนังสือพิมพ์ฮาร์บิ้นรายวันด้วย

คุณไชยยงค์:ก่อนจะถึงฮาร์บิ้นรายวันวันนี้ เราได้ไปดูสถานีวิทยุและโทรทัศน์เฮยหลุงเจียง  ตรงนีก็เป็นส่วนสำคัญ เหตุผลก็คือ วิทยุเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้เร็วที่สุด ตั้งแต่ในอดีต และแม้แต่ในปัจจุบันที่มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนิวมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นแอฟฟรีเคชั่น แบบไหนก็ตาม แต่สำหรับชนบทแล้ว ผมมีความเชื่อมั่นว่า  วิทยุยังเข้าถึงได้มากที่สุด เหมือนกับประเทศหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศของผม ที่วิทยุมีความสำคัญในการที่จะแก้ปัญหา ในการที่จะเตือนในเรื่องของภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฝนตก พายุเข้า คนส่วนใหญ่สามารถที่จะได้รับรู้ข่าวสารจากวิทยุ

ในส่วนของโทรทัศน์  ก็เห็นชัดเจนว่า มีความพัฒนามีความก้าวหน้าไปมาก ทั้งระบบที่ว่ามีวันหนึ่งถึง 8 ช่อง และนอกจากนั้น ยังพบว่า  ทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ปักกิ่ง  เป็นหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวเกษตรกร  ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์และวิทยุที่เฮยหลุงเจียง ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อใหม่ แสดงว่า วันนี้ประเทศจีนให้ความสำคัญกับสื่อใหม่ มากกว่าสิ่งอื่นใด เหมือนกับหลายๆ ประเทศที่วันนี้สื่อเก่ากำลังจะหายไป หรือเหลือน้อยลง หรือไม่ก็ยังอยู่ได้ แต่ต้องปรับปรุงกุลภาพเพื่อให้เข้าถึงประชาชนให้มากยิ่งขึ้น

图片默认标题_fororder_采记协主席 Pic2.3_副本

 วันนี้ตอนเย็น ได้ไปดูที่หนังสือพิมพ์ ฮาร์บิ้นรายวัน ซึ่งตรงนี้เห็นสำนักงานและก็ตกใจ เพราะสำนักงานเขาใหญ่มาก จากการที่คณะกองบรรณาธิการ ท่านบรรณาธิการ ท่านหัวหน้าข่าวต่างๆ  ได้สรุปให้ฟัง ก็เห็นชัดยิ่งขึ้นว่า  วันนี้ ความสำคัญที่สุดอยู่ที่การพัฒนาสื่อใหม่  เป็นความเปลี่ยนแปลงของโลกการสื่อสาร เป็นความเปลี่ยนแปลงในการรับสื่อของประชาชน ซึ่งท่านหัวหน้ากอง หัวหน้าบรรณาธิการก็ได้อธิบายให้ฟังว่า  เมื่อก่อน วันหนึ่งประชุมโต๊ะข่าวครั้งเดียว  แต่วันนี้ ต้องประชุมโต๊ะข่าววันหนึ่งถึง 4-5 ครั้ง เพื่อให้มันทันกับเหตุการณ์ ให้มันทันกับความต้องการของประชาชน  นอกจากนั้น ก็เชื่อว่า ยังเป็นการแข่งขันระหว่างสื่อด้วยกัน แม้ว่าสื่อทั้งหลายจะเป็นสื่อของรัฐก็จริง แต่เชื่อว่า ต้องมีการแข่งขัน  วันนี้ จากการได้รับการบรรยายสรุป จากหลายๆ สำนักพิมพ์ รวมทั้งท่านเลขาธิการของสมาคม หนังสือสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ทราบว่า เอกชนเป็นเจ้าของสื่อได้ด้วย  ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่า  นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของสังคมนิยม ที่กำลังเปิดกว้างยิ่งขึ้น และกำลังที่จะให้เสรีภาพกับประชาชนเพิ่มขึ้น ผมเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับผู้บริหารประเทศ ในการที่จะเปิดกว้างให้คนสามารถที่จะมีเสรีภาพในการคิดและในการนำเสนอข่าวสารได้  ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งฝ่ายรัฐบาลและประชาชน

 ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอท่านรู้สึกว่า ความร่วมมือระหว่างสื่อของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะสื่อใหม่ของทั้งสองฝ่ายจะพัฒนาตามทิศทางใหม่อย่างไร

คุณไชยยงค์:จริงๆ เรื่องนี้มองเห็นลู่ทางตั้งแต่ครั้งที่เมื่อปีที่แล้ว ตัวแทนของสมาคมหนังสือพิมพ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ไปเยือนประเทศไทย ผมมีโอกาสเป็นเจ้าภาพต้อนรับ แม้ว่า เราได้ติดต่อกันยาวนานกว่า 30 ปีก็จริง แต่ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่เราได้ทำ MOU ร่วมกันอย่างเป็นทางการ  ก็ได้คุยกับคณะของสมาคมฯ จีนที่เดินทางไป ก็มองเห็นลู่ทางชัดเจนว่า ในอนาคต เราจะต้องร่วมกันพัฒนาในเรื่องของสื่อใหม่ เพราะวันนี้ ทุกประเทศเหมือนกันก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคคือประชาชน ผู้รับสื่อที่หันไปบริโภคสื่อช่องทางใหม่ มีโทรศัพท์มือถือช่องเดียว  สามารถที่จะทำให้โลกทั้งใบ เข้าไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือของแต่ละคนได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมาเยือนครั้งนี้ ก็จะเห็นข้อเท็จจริงว่า ทุกสำนักพิมพ์ที่เราไป เพื่อแลกเปลี่ยน ต่างให้ความสำคัญกับสื่อใหม่ ซึ่งในอนาคต  ในการเยี่ยมเยือนแต่ละครั้ง เราก็จะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาสื่อใหม่ มากกว่าสื่อเก่า  เพราะสื่อเก่า วันนี้แม้จะยังมีอยู่ และยังจะต้องปรับปรุงคุณภาพ ปรับปรุงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นก็จริง  แต่โลกมันเปลี่ยน  ผู้บริโภคข่าวสารกลายไปอยู่ในสื่อใหม่ประมาณ 70%  เพราะฉะนั้น ในการร่วมมือพัฒนาสื่อใหม่ ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการร่วมมือกันในเรื่องของการทำแพลตฟอร์ม ทำแอฟฟรีเคชั่น ที่สามารถที่จะสื่อสารกันได้ รวดเร็วยิ่งขึ้น จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนข่าวสารวัฒนธรรม การศึกษา

图片默认标题_fororder_采记协主席pic2.4_副本

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอสื่อของสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือในด้านการสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ตามทิศทางไหน

       คุณไชยยงค์:สมาคมหนังสือพิมพ์จีนได้เป็นผู้ริเริ่มในการตั้งสภานักข่าว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ซึ่งได้มีประชุมร่วมกันระหว่าง 54 ประเทศที่เป็นภาคีหรือว่าประเทศที่ทำ MOU ร่วมกันเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น  สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยได้ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมประชุมด้วย ได้เห็นว่า สภาผู้สื่อข่าว  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกๆ ประเทศที่มีการพัฒนาร่วมกันในเรื่องของธุรกิจการค้า  โดยเฉพาะประเทศไทย  ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน  วันนี้ การลงทุน “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ในประเทศพม่าของประเทศจีน ดำเนินการไปมากพอสมควร  ในประเทศลาว ก็ดำเนินไปได้มากที่สุด ในประเทศมาเลเซียกับประเทศไทย กำลังเริ่มดำเนินการ รถไฟความเร็วสูงสายแรกจากกรุงเทพฯไปสู่ภาคอีสารของไทย เป็นการร่วมมือที่ลงนามกันเรียบร้อยแล้ว และยังมีอีกหลายๆ โครงการ ที่อยู่ระหว่างการเจรจา ยู่ระหว่างการพูดคุย  อย่างการพัฒนาภาคตะวันออกของประเทศไทยใน 4 จังหวัด หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อีอีซี  จากการเปิดดูแผนงานทั้งหมด  ก็เห็นว่า เป็นการลงทุนของประเทศจีนกว่า  50%

 แต่สิ่งหนึ่งที่ประเทศจีนมีคุณูปการกับประเทศไทยก็คือวันนี้ สินค้าทางการเกษตร  โดยเฉพาะผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ทุเรียน ลำไย ซึ่งเป็นผลผลิตของเกษตรกรไทย ที่ล้นตลาด และทำให้ราคาตกต่ำ วันนี้เรามีคู่ค้าอย่างประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่มีผู้บริโภคค่อนข้างเยอะก็ทำให้เกษตรกรไทยสามารถที่จะส่งพืชผลทางการเกษตร ผลไม้ต่าง  ๆ มาขายในประเทศจีนในราคาที่ดีขึ้น   นี่คือผลประโยชน์ร่วมกัน เราคงจะเรียกโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ว่า เป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน โดยที่วินวินทั้งสองประเทศโดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ  

图片默认标题_fororder_采记协主席pic2.5_副本

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอสื่อของทั้งสองฝ่ายควรจะแสดงบทบาทอย่างไร?

คุณไชยยงค์:สื่อของทั้งสองฝ่ายคงจะเข้ามามีบทบาทที่มากกว่าเดิม โดยเฉพาะเห็นจากงานของสภานักข่าว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่ประเทศจีนเป็นผู้ก่อตั้ง และประธานคนแรก ก็จะเป็นมาจากสมาคมผู้สื่อข่าวจากประเทศอาเจนตินา และจะประชุมครั้งที่สองในเดือนมิถุนายนปีหน้า ซึ่งตรงนั้นเราคงจะมีกรอบความรวมมือที่ชัดเจน  เพราะเชื่อว่า เรื่องของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อยากจะเห็นว่า กลไกของผู้สื่อข่าวในหลายๆ ประเทศที่อยู่ในสภานักข่าว ดำเนินการในการสร้างประโยชน์ โดยใช้วิชาชีพในการทำข่าว  ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริง  เพื่อให้ทุกๆ ประเทศที่อยู่ใน หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ได้ประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

周旭