ชาวต่างชาติที่สร้างธุรกิจที่จีน“แบรนด์ plastered 8”(1)

2019-11-06 09:30:08 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

图片默认标题_fororder_1.1

สถิติแสดงว่า ทุกวันนี้ ชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวที่จีนมีจำนวน 6 แสนคน ซึ่งกลุ่มคนที่สร้างธุรกิจเองนั้นนับเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะพวกเขาสามารถมองเห็นและเข้าใจขนบประเพณี ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม และในกระบวนการสร้างธุรกิจนั้นก็ต้องพบอุปสรรคและความท้าทายที่ไม่คาดคิดมาก่อน จากประสบการณ์และมุมมองของคนเหล่านี้ เราอาจจะมองเห็นถึงสิ่งที่เรามองเห็นทุกวัน แต่ลืมเลือนไปนาน

เจียงเซินไห่กับ plastered 8

Dominic Johnson-hill ชื่อจีนชื่อว่า เจียง เซินไห่ ชาวอังกฤษผู้สร้างแบรด์ “plastered 8” ซึ่งเป็นแบรนด์เนมเสื้อยืดนำกระแสแฟชั่นที่หนุ่มสาวจีนนิยมซื้อกันมาก เขาเริ่มแสวงหาความแปลกใหม่ตามทั่วโลกตั้งแต่วัย 18 ปี เมื่อปี 1993 เจียง เซินไห่ซึ่งไม่มีความรู้ภาษาจีน และไม่มีสตางค์เดินทางมาถึงจีน และพำนักที่ปักกิ่ง เมืองที่เขารักเป็นชีวิตจิตใจในภายหลัง เมื่อปี 2006 เขาเริ่มสร้างธุรกิจที่ที่พักของเขา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตรอกหนานหลัวกู่เซี่ยง แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อมากในทุกวันนี้ และธุรกิจของเขาก็คือ ขายเสื้อยืดลวดลายสร้างสรรค์ เขาได้ตั้งชื่อแบรนด์ธุรกิจของตนว่า “plastered 8” พอเสื้อยืดเหล่านี้ถูกวางตลาด ได้รับความนิยมอย่างมากแม้เจียง เซินไห่เองก็คาดไม่ถึง

图片默认标题_fororder_1.2

เจียง เซินไห่ชอบความสร้างสรรค์ และพยายามสร้างแบรนด์เนมศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ถ้าคุณมาเที่ยวปักกิ่ง คุณอาจจะพบเห็นศิลปะสร้างสรรค์ของเจียง เซินไห่ที่โรงแรม 5 ดาวก็ได้ หรืออาจจะที่บาร์เหล้านำแฟชั่นก็ได้

เมื่อทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดินทางมาถึงปักกิ่งใหม่ ๆ เมื่อ 26 ปีก่อน  เจียง เซินไห่หัวเราะใหญ่ เขาเล่าประสบการณ์ของตนว่า ตอนนั้นเขาไม่รู้ภาษาจีน พอตื่นขึ้น รู้สึกเจ็บคอมาก หนุ่มอังกฤษคนนี้ยังไม่คุ้นกับอากาศแห้งของปักกิ่ง เขาไปหาเจ้าของบ้านที่เขาเช่าอยู่ และชี้ไปที่คอ ดูสีหน้าทรมานมาก เจ้าของบ้านคว้าเศษกระดาษออกมาแล้วเขียนตัวอักษรจีน 2 ตัว แม้เขาจะไม่รู้ภาษาจีนแม้ประโยคเดียว แต่เขารู้ว่าน่าจะเป็นยาวิเศษที่แก้ความทรมานได้ จึงเอากระดาษไปที่ร้านขายยา พนักงานร้านขายยาอ่านแล้วก็ส่ายหัวและชี้ไปที่ซุเปอร์มาเก็ตซึ่งอยู่ข้ามถนน พนักงานอ่านเศษกระดาษแล้วก็วิ่งไปที่โซนขายผลไม้แล้วอุ้มแตงโมลูกใหญ่ออกมาเลย เขาจึงเข้าใจทีหลังว่า แตงโมแก้ร้อนในได้ เจ้าของบ้านให้เขากินแตงโมแก้ร้อนในแล้ว คอก็จะไม่เจ็บอีก

เจียง เซินไห่เริ่มเที่ยวแอฟริกา อเมริกากาใต้และอินเดียตั้งแต่อายุ 17 ปีเท่านั้น และเริ่มใช้ชีวิตที่ปักกิ่งในฐานะนักท่องเที่ยวแบบสะพายเป้ ต่อจากนั้นอีก 13 ปี เขาได้สร้างแบรนด์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ของตน และเปิดร้านแห่งแรกที่ตรอกหนานหลัวกู่เซี่ยง ร้านนี้ชื่อว่า plastered 8 โลโก้ของแบรนด์ออกแบบตามป้ายบอกชื่อซอยของปักกิ่งนั่นเอง

นักท่องเที่ยวที่เคยไปตรอกหนานหลัวกู่เซี่ยง ย่อมสังเกตเห็นร้านของเจียง เซินไห่ได้ไม่ยาก เพราะเสื้อยืดที่แขวนไว้ในร้านน่าตื่นตามาก โดยมีการออกแบบลวดลายผสมผสานวัฒนธรรมจีนกับวัฒนธรรมแฟชั่นยุคปัจจุบัน ส่วนพนักงานขายนั้นไม่ได้เป็นหนุ่มสาว แต่กลับเป็นแม่บ้านชาวปักกิ่ง

หลังเปิดร้านเป็นเวลา 2 ปีเท่านั้น เขาก็ได้รับรางวัลนักวิสาหกิจดีเด่นประจำปีของอังกฤษ เจ้าชายวิลเลียมเป็นผู้พระราชทานรางวัลให้ด้วย รายการทีวีจีนต่างเชิญเขาเป็นแขกรับเชิญพิเศษ ถ้าค้นหาชื่อของเขาผ่านเว็บไซต์จีน จะพบผลการค้นหาได้กว่า 8 หมื่นชิ้น เจียง เซินไห่พัฒนาตนจากนักท่องเที่ยวแบบสะพายเป้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต

ปี 1993 เจียง เซินไห่เดินทางถึงปักกิ่ง เขาไม่ค่อยชอบที่นี่มากนัก เมืองแห่งนี้ในสมัยนั้นดูเหมือนเป็นเมืองสีเทา ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น สมัยนั้น ปักกิ่งยังไม่ได้สร้างวงแหวนที่ 3 เขาอยากกลับอังกฤษ แต่เงินที่เหลือ แม้ซื้อตั๋วเครื่องบินกลับบ้านก็ไม่พอ เขาต้องทำงานที่จีนเป็นระยะหนึ่ง แล้วค่อยซื้อตั๋วกลับบ้าน เขาสมัครเข้าคอร์สภาษาจีน แต่ไปไม่กี่ครั้งก็รู้สึกยากเกินไป จึงเลิกเรียน เขาตระเวนตามถนนสีเทาของปักกิ่ง คาดไม่ถึงว่าที่นี่คือเมืองหลวงของจีน พี่น้องของเขาคนหนึ่งทำงานด้านการเงิน อีกคนเป็นทนายความ ไม่ว่าคนไหนก็ดูน่าเชื่อถือกว่าเขา

เขาหลงทางในตรอกปักกิ่ง เดินไปเดินมาก็มาถึงทะเลสาบแห่งหนึ่ง บนผิวน้ำประดับด้วยดอกบัวเต็ม สิ่งก่อสร้างรอบข้างทะเลสาบล้วนเป็นทิวทัศน์ที่เขาไม่เคยพบเห็นในที่อื่น เขาถามคนแถวๆ นั้นด้วยภาษาจีนที่ยังไม่คล่อง จึงรู้ว่าสถานที่แห่งนั้นชื่อ “โฮ่วไห่” ต่อจากนั้น เขาไปเที่ยวโฮ่วไห่ทุกวัน เห็นคุณปู่ที่ถือพัดสานไม้ไผ่ก็ไปคุยด้วย บางทีก็นัดกับหนุ่มสาวจีนที่บาร์เหล้าในตรอกซอยที่เขาพัก และพวกเขามักจะไปบาร์เหล้าข้างๆ ร้านขายของโหย่วอี๋ ซึ่งสมัยนั้นมีนักร้องเพลงร็อกคนหนึ่งมาร้องประจำอยู่ นักร้องคนนั้นชอบใส่หมวกสีขาว เจียง เซินไห่รู้ทีหลังว่านักร้องคนนั้นชื่อ “ชุยเจี้ยน” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาเพลงร็อกจีน”

ในที่สุด เจียง เซินไห่เริ่มเข้าใจเสน่ห์พิเศษของเมืองแห่งนี้ เขาพบว่าหนุ่มจีนที่เช่าบ้านในตรอกแถวนี้ พอถึงกลางคืนก็จะขึ้นเวทีร้องเพลงร็อก คนที่นั่งตามมุมหนึ่งของบาร์เหล้าเล็กๆ สามารถเขียนบทกวีที่น่าทึ่งได้ จิตรกรที่วาดภาพดอกบัวที่แถวโฮ่วไห่ ใช้เวลาไม่นานก็จัดนิทรรศการผลงานภาพวาดของตนที่ยุโรปได้... ที่นี่เป็นดินแดนแห่งโอกาสมหาศาล คนที่มีความสามารถทุกคนมีโอกาสแสดงฝีมือของตน

เขาเข้าใจสิ่งแปลกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นที่ปักกิ่ง ครึ่งปีให้หลัง ภาษาจีนของเขาถึงระดับสื่อสารได้ เขาก็กลายเป็นชาวต่างชาติอาวุโสของปักกิ่ง เพราะชาวต่างชาติที่มาปักกิ่งใหม่ ๆ ก็จะพยายามติดต่อกับเขาผ่านช่องทางต่างๆ เจียง เซินไห่กล่าวว่า “ดูเหมือนว่า นี่คือเมืองของผมเอง”

(Yim/cici)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

韩希