จีนเร่งหาแนวทางเพิ่มอัตราเกิด-ให้พ่อแม่หยุดงานดูแลลูกได้พร้อมกัน (1)

2019-11-13 11:06:11 | CRI
Share with:

ปัจจุบัน การดูแลลูกไม่ใช่เรื่องของคุณแม่คนเดียวแล้ว คุณพ่อก็หวังว่าจะมีเวลาให้ลูกมากขึ้นเช่นกัน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เขตหนิงเซี่ยของจีนมีการออกข้อกำหนดให้มีช่วงหยุดงานดูแลลูกด้วยกันใน “กฎประกันสิทธิประโยชน์ของสตรีเขตปกครองตนเองชนเผ่าหุยหนิงเซี่ย” เนื้อหาระบุว่า จะกระตุ้นฝ่ายต่างๆ อนุมัติให้คู่สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีลูกอายุต่ำกว่า 3 ขวบมีช่วงหยุดงานดูแลลูกด้วยกันได้ปีละ10 วัน

ปัจจุบัน ท้องที่ต่างๆ ของจีนกำลังพยายามส่งเสริมอัตราการเกิดให้สูงขึ้น แม้ว่าเขตหนิงเซี่ยจะมีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกดีกว่ามณฑลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น เมื่อภรรยาให้กำเนิดบุตรแล้ว สามีสามารถหยุดงานได้ 25 วันเพื่อดูแลครอบครัว ในขณะที่มณฑลอื่นๆ ส่วนใหญ่สามารถได้หยุดเพียง 10-15 วันเท่านั้น แต่ประชาชนก็ยังกังวลในเรื่องต้องวางแผนและเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะตัดสินใจมีลูก

นางโจว เหวินหยิง หัวหน้าฝ่ายสิทธิสตรีแห่งสหพันธ์สตรีเขตหนิงเซี่ย กล่าวว่า ปัจจุบัน สตรีมีแรงกดดันทางการทำงานมาก ดังนั้น จึงกำหนดให้มีช่วงหยุดงานดูแลลูกด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการให้กำเนิดบุตร นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมแนวคิดแบบครอบครัวยุคใหม่ คือการดูแลลูกเป็นภาระหน้าที่ของทั้งสามีและภรรยา อย่าพลาดช่วงเติบโตของลูก

ขณะเดียวกัน “กฎประกันสิทธิประโยชน์ของสตรีเขตปกครองตนเองชนเผ่าหุยหนิงเซี่ย” ยังเสนอให้หน่วยงานต่างๆ สร้างห้องพักให้สตรีมีครรภ์ ห้องให้นมบุตร ตลอดจนเสนอการบริการดูแลเด็กและทารกอายุ 0-3 ขวบในที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ยุคปัจจุบันมากขึ้น

图片默认标题_fororder_20191113宁夏育儿假上1

รายงานผลสำรวจของคณะกรรมการสาธารณสุขและการวางแผนครอบครัวแห่งชาติจีนแสดงว่า การไม่มีคนช่วยดูแลลูกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สตรีจีนไม่ยอมมีลูก ซึ่งปัจจุบัน 80% ของทารกจีนดูแลโดยปู่ย่าตายาย ส่วนอัตราการเข้าเนอสเซอรี่อยู่ที่เพียง 4% เนื่องจากมีเนอสเซอรี่ไม่เพียงพอ และสำหรับครอบครัวที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน หน้าที่การดูแลลูกส่วนใหญ่ได้อยู่ที่คุณแม่ ทำให้การมีลูกเกิดผลกระทบต่อการทำงาน การพัฒนาอาชีพและชีวิตของสตรี

สิ่งสำคัญคือ อัตราการเกิดในทั่วโลกก็ลดลงอย่างมากด้วย ข้อมูลแสดงว่า ในท้องถิ่นของจีน ทารกที่เกิดเมื่อปี 2018 มีจำนวนลดลง 20% และในประเทศอื่นๆ ก็มีปัญหานี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งมีสภาพการณ์ยิ่งรุนแรงกว่า เนื่องจากกรมสถิติเกาหลีใต้ประกาศว่า อัตราการเกิดโดยเฉลี่ยหรือจำนวนบุตรที่สตรีวัยเจริญพันธุ์จะให้กำเนิด ลดจาก 1.05 คนเมื่อปี 2007 เป็น 0.98 คนในปี 2018 ทำให้อัตราการเกิดลดลงต่ำกว่า 1 คนแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศเดียวที่มีอัตราการเกิดต่ำกว่า 1 คน โดยสาเหตุที่ทำให้อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่องคือ ราคาบ้านและค่าเล่าเรียนบุตรที่สูง และความไม่เสมอภาคในที่ทำงานต่อสตรีที่มีลูก สถานการณ์ที่เกาหลีใต้รุนแรงจนศาสตราจารย์วิชาประชากรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดลงบทความระบุว่า ถ้าไม่มีมาตรการแก้ไข เกาหลีใต้จะเป็นประเทศแรกที่สูญหายจากโลกนี้ด้วยการลดลงของประชากร

ส่วนญี่ปุ่นก็กำลังต่อสู้กับปัญหาประชากรเหมือนกัน ซึ่งมีสภาพประชากรสูงวัยมาก แรงงานและอัตราการเกิด ซึ่งเคยใช้มาตรการต่างๆ เช่น เมื่อปี 2017 รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนงบประมาณ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนโรงเรียนอนุบาลและเนอสเซอรี่

การที่อัตราการเกิดลดลงจะเกิดปัญหาประชากรสูงวัย ทำให้ไม่มีคนวัยแรงงานเพียงพอที่จะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีมาตรการแก้ไขที่มีผล แม้แต่สหรัฐฯ ซึ่งได้เตรียมทุนเลี้ยงผู้สูงอายุมากที่สุดและสภาพประชากรสูงวัยยังไม่รุนแรง ปัญหาการเลี้ยงผู้สูงอายุก็ถือว่าเป็นความลำบากมากที่สุดทางการคลัง กรมสถิติของยุโรปคาดว่า จนถึงปี 2080 ผู้อายุสูงกว่า 65 ปีจะครองสัดส่วน 29.1% ของประชากรทั่วโลก และผู้อายุสูงกว่า 80 ปีอยู่ที่ 12.7%

สถานการณ์นี้หมายความว่า กลุ่มที่เป็นคนอายุน้อยในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถเกษียณอายุได้เหมือนคุณพ่อคุณแม่ของเรา เพราะคนรุ่นนี้เป็นกำลังสำคัญที่จะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ แต่เมื่อถึงตอนตนเองอายุมากแล้ว คนรุ่นหลังจะไม่มีประชากรมากพอเพียงที่จะมาเลี้ยงดูเรา จึงต้องทำงานเลี้ยงตนเอง

ดังนั้น ประเทศต่างๆ กำลังพยายามส่งเสริมยกอัตราการเกิดให้สูงขึ้น สำหรับจีนแล้ว ภายหลังจากจีนใหม่สถาปนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า จีนในตอนนั้นมีประชากรมากเกินไป แรงงานเกิน ทำให้เกิดปัญหาแย่งกันทำงาน การกินการอยู่ไม่พอเพียง และส่งผลต่อการพัฒนาเป็นต้น จึงผลักดันการวางแผนครอบครัว เพื่อให้การเติบโตของประชากรสอดคล้องกับการพัฒนาของสังคม และได้กำหนดให้สามีภรรยาคู่หนึ่งสามารถมีลูกได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

จนในช่วงหลายปีมานี้ เศรษฐกิจและสังคมจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว แม้การวางแผนครอบครัวเก่าได้ประสบผลดี แต่ก็ทำให้เกิดสภาพประชากรสูงวัยตามมา จึงต้องมีการออกนโยบายใหม่เพื่อกระตุ้นให้สามีภรรยามีลูกคนที่สอง ซึ่งเมื่อปี 2011 ท้องที่ต่างๆ ของจีนเริ่มดำเนินนโยบายว่า หากสามีและภรรยาเป็นลูกคนเดียวทั้งคู่จึงจะสามารถมีลูกคนที่สองได้ ต่อมาในปี 2013 จึงได้ปล่อยนโยบายผ่อนคลายลงอีกว่า ขอแค่สามีหรือภรรยาเป็นลูกคนเดียว ก็สามารถมีลูกคนที่สองได้

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

何喜玲