“งานบ้าน”ควรให้เด็กรู้จักทำหรือไม่

2019-11-18 12:30:20 | CMG
Share with:

图片默认标题_fororder_20191118(1)

ในชีวิตประจำวันเรา พ่อแม่หลายคนมีมุมมองนี้ว่า เด็กอายุ 2-3 ขวบเป็นไปได้อย่างไรที่จะทำงานบ้าน พวกเขาไม่ซนและอย่าสร้างปัญหา ก็ขอบพระคุณอย่างยิ่งฉันมาทำงานบ้านเองดีกว่าค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปู่ย่าตายายมักจะมีความคิดทำนองนี้ ซึ่งยิ่งหลงรักลูกหลานมากเกินไป ก็ยิ่งหวังว่า ลูกหลานจะไม่บาดเจ็บ และอย่าวิ่งไปไหนนั่งอยู่นิ่งๆ ดีที่สุด ดังนั้น เด็กจะต้องทำงานบ้านหรือไม่ และใช้วิธีอย่างไรฝึกให้เด็กทำงานบ้าน จึงเป็นหัวข้อที่เราสองคนจะพูดคุยในวันนี้

สำหรับเรื่องที่เด็กควรทำงานบ้านหรือไม่นั้น มักจะแบ่งออกเป็น 2มุมมอง หนึ่งคือ เด็กยังเป็นเด็กอยู่ที่มีอายุน้อยมาก จะสามารถทำงานบ้านได้อย่างไร ซึ่งเด็กๆ ก็ไม่รู้ว่างานบ้านเหล่านี้คืออะไร หากเด็กทำงานบ้านแล้ว ผู้ใหญ่ก็ต้องทำมันอีกครั้ง มันจะดีกว่าที่จะไม่ทำมัน เรื่องเกี่ยวกับการทำงานบ้านควรรอให้เด็กโตขึ้นหน่อยก็ให้เขาทำก็แล้วกัน

ส่วนอีกมุมมองก็คือ ฉันได้ฝึกลูกทำงานบ้านตั้งแต่เด็ก เช่น ทิ้งขยะ วางจานและชาม เก็บของเล่นของตัวเอง ตราบใดที่ลูกทำได้ในชีวิตของเขา ฉันก็ฝึกให้เขาทำ เพื่อฝึกลูกมีความสามารถที่ดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน ซึ่งดิฉันรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

图片默认标题_fororder_20191118(2)

ดิฉันเห็นด้วยกับมุมมองที่สอง เพราะดิฉันคิดว่า หากเด็กไม่ทำงานบ้านตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของทั้งชีวิต

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำงานบ้าน และได้ข้อสรุปที่น่าตื่นตาตื่นใจว่า เด็กที่ทำงานบ้านกับเด็กที่ไม่ทำงานบ้าน จะมีอัตราการว่างงานเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้วเป็น 15:1 ส่วนรายได้เด็กที่รู้จักทำงานบ้านจะมีรายได้สูงกว่าที่ไม่ทำงานบ้านร้อยละ 20 และชีวิตหลังแต่งงานของกลุ่มแรกก็มีความสุขมากกว่าด้วย

สถาบันวิทยาศาสตร์และการศึกษาจีนมีการทำสำรวจกับ 20,000 ครอบครัวของเด็กประถมทั่วประเทศว่า ครอบครัวที่ให้เด็กรู้จักทำงานบ้านมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่ทำงานบ้าน 27 เท่า และก็มีตัวอย่างที่เป็นจริงต่างๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นมากมากมายว่า หากอยากจะให้ลูกเป็นคนยอดเยี่ยม สิ่งที่จำเป็นและขาดมิไม่คือต้องให้เด็กรู้จักทำงานบ้าน

ครอบครัว“ร็อกกี้เฟลเลอร์”ของสหรัฐฯ ตระกูลที่ร่ำรวยจากรุ่นสู่รุ่นถึง 6 รุ่น แล้วก็ไม่มีสมาชิกในครอบครัวที่ใช้เงินมือเติบ ก็เป็นเพราะว่า การสืบทอดกฎของครอบครัวคือ ให้เด็กรู้จักทำบัญชีและทำงานบ้านตั้งแต่เล็ก

อีกตัวอย่างคือ คุณพ่อของนาง Elaine Chao รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีน มีลูกสาว 5 คน และเขาได้อบรมลูกสาวทั้ง 5 คนให้เป็นคนที่ยอดเยี่ยม โดยสอนให้นาง Elaine Chao พาน้องสาวทำงานบ้าน และช่วยกันทำการวางแผนค่าใช้จ่ายของครอบครัว เนื่องจากลูกสาวทั้ง 5 คนรู้จักแบ่งปันงานบ้านของครอบครัว ดังนั้น เด็กๆ จึงรู้จักพึ่งพาตนเอง เรียบง่าย ไม่หยิ่งผยอง และเมื่อโตขึ้นต่างเป็นคนยอดเยี่ยมในด้านต่างๆ

ยังมีอีกตัวอย่างคือ นายสตีเว่นชู อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนแรกของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เขากล่าวว่า ยากมากที่จะจินตนาการว่า  เด็กที่มีแต่เรียนหนังสือ แต่ทำไข่เจียวหรือไข่ต้มไม่เป็น จะทำการทดลองได้อย่างไร

ครอบครัวของสตีเว่นชู ซึ่งได้รับการขนานนามว่า“ครอบครัวชาวอเมริกาเชื้อสายจีนที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา”พี่น้องทั้งสามคนต่างเป็นดร.ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ จึงมีคนสงสัยว่า ผู้ปกครองของครอบครัวนี้สอนลูกอย่างไร

หนึ่งในเคล็ดลับการสอนลูกของคุณแม่สตีเว่นชู ก็คือ เด็กทุกคนต้องเรียนรู้จะทำอาหาร สตีเว่น ชู จึงทำอาหารได้ตั้งแต่วัยเด็ก และมักจะห่ออาหารที่ทำด้วยตัวเองไปแบ่งปันกับเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยม

เขากล่าวว่า การทดลองก็เหมือนการปรุงอาหาร การใช้อาหารที่จำกัดในตู้เย็น แต่สามารถทำอาหารที่อร่อยๆ ได้อย่างไม่คาดคิด ช่วยฝึกสมาธิและความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งประสบการณ์และความสามารถเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาคอขวดในชีวิต ดังนั้น เขาจึงยืนยันว่า เด็กทุกคนควรเรียนรู้ที่จะปรุงอาหารและทำงานบ้านตั้งแต่วัยเด็ก

อาจจะมีผู้ปกครองสงสัยว่า เด็กต้องยุ่งกับการเรียนทุกวัน จะเอาเวลาไหนทำงานบ้าน หน้าที่ของเด็กก็คือเรียนหนังสือให้เก่ง แต่เด็กที่เอาเรียนหนังสือจนเก่ง แต่ไม่รู้จักดูแลตัวเองให้เป็น จะมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จได้อย่างนั้นหรือ

มีตัวอย่างครอบครัวจีน เป็นเด็กอัจฉริยะคนหนึ่ง ชื่อ เว่ย คังหย่ง เขาสามารถสอบเข้าคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเซียงถัน ได้ตั้งแต่อายุ  13 ขวบ และสอบเข้าสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนด้วยวัยเพียง 17 ปี แต่ท้ายที่สุดถูกถอนชื่อออก ด้วยเหตุผลที่ว่า ความสามารถในการดูแลตนเองแย่มาก

สาเหตุที่ทำให้เว่ย คังหย่งเป็นคนอย่างนี้ ก็เพราะว่า คุณแม่ของเขามีแต่ให้เขาตั้งใจเรียนหนังสืออย่างเดียวพอ เรื่องอื่นๆ ไม่ต้องให้เขาทำ ซ้ำยังเพื่อไม่ให้เสียเวลาอ่านหนังสือของลูกชาย แม้อยู่มัธยมปลายแล้วก็ยังป้อนอาหารลูก และเมื่อคุณแม่รู้ข่าวว่า ลูกชายถูกถอดชื่อออกจากสถาบันแล้ว คุณแม่ก็ไปถึงสถานศึกษาและดุด่าลูกชายว่า โอกาสดีอย่างนี้ ยังรักษาไว้ไม่ได้ ให้ไปตายซะดีกว่า

ฟังแล้วน่าเศร้าน่าใจหายทีเดียว คุณตัดปีกของฉันไป มาตอนนี้กลับดุว่าฉันที่ไม่สามารถโบยบินได้ คุณแม่ที่คิดว่าตัวเองดีกับลูก ด้วยการให้ลูกเปลี่ยนเป็นอัจฉริยะในการศึกษาแต่โง่เขลาในการใช้ชีวิต จะเป็นการทำลายอนาคตที่ดีของลูก

มีกวีจีนคนหนึ่งเคยพูดว่า “คุณสามารถให้อะไรกับลูกได้หมด ยกเว้นแต่ประสบการณ์ในชีวิต ความสุขใจเศร้าใจ ความสำเร็จความล้มเหลว คุณไม่สามารถให้เด็กได้” เด็กที่สามารถดูแลตัวเองได้ จึงจะสามารถวางแผนชีวิตตัวเองได้

Yim/kt

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

郑元萍