PM2.5 (5)

2019-11-20 10:39:42 | CMG
Share with:

เมื่อพูดถึงฟ้า เรามักจะรู้สึกว่า ทั้งสูงทั้งไกล ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์เราจึงจะเข้าใจและไปถึงได้ ไม่ต่างจากการทวงคืนฟ้าใส ซึ่งต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน  หากเราทุกคนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อทวงคืนฟ้าใส เชื่อว่า ท้องฟ้าอันสดใสจะอยู่ใกล้มือเรา และพบเจอกันได้บ่อยเหมือนเดิม

图片默认标题_fororder_1-1

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาหมอกควันพิษอย่างร้ายแรง เมื่อจีนทราบข่าวนี้จึงได้จัดส่งไส้กรองเครื่องฟอกอากาศจำนวน 1,008 ชุด แก่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลและโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัด โดยมีนายเหริน ยี่เซิง กงสุลใหญ่จีนประจำจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้มอบให้แก่เทศบาลนครเชียงใหม่

图片默认标题_fororder_2-2

นี่จึงเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ตอกย้ำถึงถ้อยคำที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” มิตรภาพระหว่างไทย-จีนนั้น ล้ำลึกมากกว่าความเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน แม้เผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แต่สองประเทศก็ร่วมทุกข์ร่วมสุข เคียงบ่าเคียงไหล่ เพื่อขจัดหมอกควันพิษ  และทำให้ท้องฟ้ากลับคืนมาสดใสเหมือนเดิม   

จีนมีสุภาษิตว่า “ถงฮูซี  ก้งมิ่งยุ่น”     “ถงฮูซี ” คือ หายใจอากาศเดียวกัน “ก้งมิ่งยุ่น” คือ แบ่งปันชะตากรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงผู้ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีผลประโยชน์ร่วมกัน  ขณะนี้  จีน-ไทย “ถงฮูซี  ก้งมิ่งยุ่น” เพื่อพิชิตสงครามทวงคืนฟ้าใสอยู่

图片默认标题_fororder_3-3

เมื่อเราย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะพบว่า ปัญหา PM 2.5 ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยหรือจีน ที่มักเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม แต่ยังเกิดในประเทศพัฒนาแล้ว  ซึ่งรวมถึง อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี  สเปน  ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น  เหตุการณ์หมอกควันพิษเลวร้าย ที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอนเมื่อทศวรรษปี 1950 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,000 คน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐสภาอังกฤษจึงผ่านกฎหมายว่าด้วยอากาศบริสุทธิ์ ในปี 1956 ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อป้องกันและกำจัดมลพิษทางอากาศฉบับแรกของโลก ตามกฎหมายฉบับนี้ โรงไฟฟ้าทุกแห่งในกรุงลอนดอนจึงถูกสั่งปิดทั้งหมด  ต่อมา เทศบาลกรุงลอนดอนได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ก๊าซธรรมชาติแทนการเผาถ่านหิน และลดการใช้เตาเผาลง   ปัจจุบัน เทศบาลกรุงลอนดอนดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกลงเป็นศูนย์ (A zero-emission zone) โดยลดการใช้รถยนต์ เพิ่มจำนวนจักรยาน พร้อมตั้งเป้าว่า ภายในปี 2050 ถนนและเส้นทางการคมนาคมทุกสายในกรุงลอนดอนต้องปลอดมลพิษจากรถยนต์ โดยจำกัดจำนวนรถยนต์ให้เหลือเพียง 3 ล้านคันต่อวัน และเพิ่มปริมาณรถจักรยานบนท้องถนนให้ได้ร้อยละ 80 ของการเดินทางด้วยระบบขนส่งทั้งหมด

ส่วนกรุงโรม ประเทศอิตาลี ได้ดำเนินโครงการ “วันอาทิตย์รักษ์สิ่งแวดล้อม” หรือ “Eco-Sunday” ในช่วงเวลา  7.30 – 12.30น. และช่วง 16.30 – 20.30น. ทุกวันอาทิตย์ โดยอนุญาตให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ พลังงานสะอาดเท่านั้นที่จะวิ่งบนท้องถนนได้ ส่วนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันห้ามวิ่งในพื้นที่ใจกลางกรุงโรม หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ  เพื่อจูงใจชาวเมืองให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน กรุงโรมยังได้ลดราคาลงอีกด้วย โดยตั้งราคาบัตรขนส่งมวลชนอยู่ที่ 1.5 ยูโรต่อวัน  

ส่วนเทศบาลนครมิลาน ประเทศอิตาลีได้ออกนโยบายแบนการใช้รถยนต์ และให้หันไปใช้รถจักรยานแทนวันละ 6 ชั่วโมง คือ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00น. เพื่อลดความรุนแรงจากฝุ่นควัน

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2018 เป็นต้นมา  เทศบาลกรุงมาดริด ประเทศสเปน ห้ามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทุกประเภทวิ่งในพื้นที่ใจกลางกรุง มาตรการนี้ในชื่อว่า “มาดริดเซ็นทรัล” ซึ่งสามารถลดระดับการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ในพื้นที่กลางกรุงลงเหลือระดับต่ำสุด และยังสามารถลดมลภาวะทางอากาศลงได้ถึงครึ่งหนึ่งในหลายพื้นที่อยู่รอบข้างกรุงมาดริดอีกด้วย

ที่ประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ได้มีการรณรงค์ให้ยานยนต์ต่าง ๆ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศอย่างทั่วถึง โดย เจ้าของรถที่ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ จะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทวีปยุโรปเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงเป็นพิเศษ อากาศร้อนทำให้มลภาวะยิ่งเลวร้ายลง เทศบาลกรุงปารีสจึงได้ออกคำสั่งห้ามรถยนต์จำนวนมากกว่าครึ่งออกวิ่งตามท้องถนน เพื่อคลายความร้อนและลดมลภาวะ

ก่อนหน้านี้ กรุงปารีสก็มีการกำหนดให้ยานยนต์ต่าง ๆ วิ่งตามเลขคู่เลขคี่ของป้ายทะเบียนรถ เพื่อลดจำนวนยานยนต์บนท้องถนน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วง 17.30น. ไปจนถึงเที่ยงคืน ผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวจะมีโทษปรับตั้งแต่ 22 - 75 ยูโร 

นอกจากนี้ กรุงปารีสยังจำกัดความเร็วของรถยนต์ด้วย โดยจำกัดความเร็วของรถยนต์ที่วิ่งบนถนนวงแหวนรอบกรุงปารีสจาก 70  กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  และจำกัดความเร็วบนทางหลวงจาก 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนบนทางด่วนได้ลดความเร็วสูงสุดลงจาก 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เพราะว่าการลดความเร็วของรถยนต์ คือเป็นการลดการทำงานของเครื่องยนต์ ส่งผลให้รถยนต์จะใช้น้ำมันลดลง และปล่อยควันพิษน้อยลงตามไปด้วย 

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

郑元萍