วันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา องค์กรอุทธรณ์ ขององค์การการค้าโลก ตกที่นั่งลำบาก เนื่องจากมีจำนวนผู้พิพากษาไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบการค้าระหว่างประเทศอาจกลับสู่ยุคที่ไม่มีกฎระเบียบ นำมาซึ่งผลเสียอย่างร้ายแรงอันไม่สามารถคาดคิดได้ สถานการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การปฏิรูปขององค์การการค้าโลกควรยืนหยัดแนวทางคัดค้านลัทธิกีดกันและลัทธิลำพังฝ่ายเดียวอย่างแน่วแน่
กลไกแก้ไขข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก โดยปกติแล้ว สมาชิกจะดำเนินการหารือก่อน หากไม่ได้ผล จะยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาข้อพิพาท เพื่อพิจารณาตัดสินแล้ว หากยังไม่ยอมรับ สามารถยื่นต่อองค์กรอุทธรณ์ได้ ดังนั้น องค์กรอุทธรณ์ ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูงสุด” ขององค์การการค้าโลก จึงมีหน้าที่ชี้ขาดและบังคับใช้ผลการตัดสินในท้ายที่สุด สถิติที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ก่อตั้งองค์การการค้าโลกในช่วง 25 ปี ที่ผ่านมา คณะกรรมการพิจารณาข้อพิพาทและองค์กรอุทธรณ์ ได้พิจารณาและตัดสินคดีกว่า 200 คดี แก้ไขข้อพิพาทอย่างราบรื่น แสดงบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การการค้าโลก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันได้เหยียบย่ำกลไกการค้าเสรีของโลกที่ถือกฎเกณฑ์เป็นพื้นฐานอย่างเปิดเผย ด้วยข้ออ้างว่า คำตัดสินขององค์กรอุทธรณ์ขององค์การการค้าโลกส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของประเทศสมาชิก อีกทั้งยังใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อขัดขวางการคัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาใหม่ ทำให้องค์กรอุทธรณ์ตกอยู่ในสภาพ “ขาดแคลนผู้พิพากษา” นับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา จนถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้พิพากษาอีก 2 คน หมดวาระดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ จึงทำให้องค์กรอุทธรณ์ที่ประกอบด้วยผู้พิพากษา 7 คน เหลือเพียง 1 คนเท่านั้น จึงไม่สามารถรับพิจารณาคดีใหม่ได้ตามกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก
สำหรับองค์การการค้าโลกในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ คัดเลือกคณะผู้พิพากษาองค์กรอุทธรณ์โดยเร็ว ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิก 117 แห่ง เรียกร้องให้เริ่มต้นกระบวนการคัดเลือกดังกล่าวโดยทันที ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะผลักดันองค์กรอุทธรณ์ขององค์การการโลกให้ดำเนินงานได้ต่อไป
(Tim/Lin/zhou)