อาหารเลิศรสที่ไม่ควรพลาดในฤดูหนาวของปักกิ่ง

2020-01-02 21:36:59 | CRI
Share with:

ย่างเข้าเดือนธันวาคม ถือได้ว่า กรุงปักกิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว นอกจากต้องใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น ยังมีเรื่องของการประทานอาหารต่าง ๆ ที่พลาดไม่ได้ โดยเฉพาะอาหารที่เหมาะกับฤดูหนาว

1.ซ่วนหยางโร่ว หรือสุกี้เนื้อแกะ

图片默认标题_fororder_20191230-1

สุกี้เนื้อแกะเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของปักกิ่ง ภาษาจีนเรียกว่า ซ่วนหยางโร่ว คำว่าหยางโร่ว แปลว่า เนื้อแกะ ส่วนซ่วนแปลว่า ลวก ยังมีตำนานเกี่ยวกับซ่วนหยางโร่วอยู่เรื่องหนึ่ง เล่ากันว่าในสมัยราชวงศ์หยวน กุบไลข่านนำทัพมองโกเลียโจมตีศัตรู วันหนึ่งทหารหิวโหยเป็นอย่างมาก กุบไลข่านทรงสั่งให้ทหารฆ่าแกะ หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และใส่ในน้ำเดือด ลวกจนเนื้อเปลี่ยนสีแล้วจิ้มเกลือกิน เมื่อกินแล้วทหารก็รู้สึกว่ามีพลังมีชีวิตชีวา ซ่วนหยางโร่วจึงได้รับการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้เรากินซ่วนหยางโร่วได้ทุกเวลา แต่รับประทานช่วงฤดูหนาวจะดีที่สุด เพราะแพทย์แผนโบราณจีนเชื่อว่า เนื้อแกะเป็นอาหารที่เพิ่มความร้อน รับประทานเนื้อแกะในฤดูหนาวจะสามารถต้านทานความหนาวได้มากขึ้น

2.เจี่ยวจือหรือเกี๊ยวน้ำ

图片默认标题_fororder_20191230-2

คนจีนนิยมกินเกี๊ยวน้ำในช่วงเทศกาลตรุษจีน ถือว่าส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สำหรับชาวปักกิ่งและคนภาคเหนือของจีน ก็จะกินเกี๊ยวน้ำในฤดูตงจือด้วย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม เพราะในสมัยโบราณ ชาวจีนที่อยู่ภาคเหนือเชื่อว่า เกี๊ยวน้ำมีรูปทรงเหมือนหู เมื่อย่างเข้าฤดูหนาวแล้วซึ่งหลังจากฤดูตงจือหรือวันที่ 22 ธันวาคม หูจะได้รับบาดเจ็บจากลมหนาวได้ง่าย แต่ถ้ากินเกี๊ยวน้ำแล้ว ก็จะมีพลังต้านความหนาว

3.ถางหูลู่หรือซานจาเคลือบน้ำตาล

图片默认标题_fororder_20191230-3

ถางหูลู่เป็นอาหารดั้งเดิมของกรุงปักกิ่ง ถางแปลว่า น้ำตาล ส่วนหูลู่แปลว่า น้ำเต้า เพราะวัตถุดิบที่ใช้เป็นลูกซานจา มีรูปทรงเหมือนน้ำเต้า กรรมวิธีก็คือเอาลูกซานจาเคลือบน้ำตาลกรวด และตากให้แห้ง การทำถางหูลู่ต้นตำรับต้องใช้น้ำตาลกรวด เพราะมีความใสและความกรอบมากกว่าใช้น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลแดง

4.โจ๊กล่าปากับกระเทียมดองล่าปา

图片默认标题_fororder_20191230-4

ในทางพุทธศาสนาของจีนเชื่อว่า วัน 8 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติจีนซึ่งตรงกับวันที่ 2 มกราคมปีหน้าเป็นวันที่พระศากยมุนีทรงตรัสรู้ ฉะนั้น วัดต่าง ๆ ในปักกิ่งก็จะแจกโจ๊กให้ชาวบ้านฟรีในวันนั้นเพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า และชาวปักกิ่งก็จะทำกระเทียมดองและเก็บไว้กินในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนสีกระเทียมจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเขียวหมดหลังจากหมักไว้กว่า 20 วัน

(Bo/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

张丹