“อำเภอยากจน” ของจีนทุ่มงบสร้างโรงเรียน “พัฒนาการศึกษาท้องถิ่น”

2020-01-02 21:07:02 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20191223贫困县教育2

เมื่อเร็วๆ นี้ อำเภอลี่ว์ชุน มณฑลหยุนหนาน เป็นที่จับตามองของทั่วประเทศจีน เพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่ยากจนมากที่สุดและยังไม่สามารถหาทางขจัดความยากจนได้กลุ่มสุดท้ายของจีน แต่กลับทุ่มงบประมาณ 198 ล้านหยวนสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประจำอำเภอขึ้นใหม่

ชาวจีนมีคำพูดติดปากประโยคหนึ่งว่า “ยากจนเงินทองเท่าไรก็จะต้องไม่ยากจนการศึกษา” แต่อำเภอยากจนเช่นนี้น่าจะต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องอาหารการกินไม่มากก็น้อย จะมีความสามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างไร

อำเภอลี่ว์ชุน ตั้งอยู่ทางใต้ของมณฑลหยุนหนาน มีชายแดนติดกับเวียดนาม มีประชากรเพียง 240,000 คน จนถึงปี 2018 ประชากรที่ยากจนมากเป็นจำนวน 30,128 คน ส่วนรายรับของเทศบาลมีเพียง 400 ล้านหยวน

ก่อนปี 2018 อำเภอลี่ว์ชุนไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ มีเพียงโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งที่สอนนักเรียนทั้งมัธยมต้นและมัธยมปลายจำนวน 6,000 คน สาเหตุที่อำเภอยากจนนี้ทุ่มงบประมาณพัฒนาด้านการศึกษามากขนาดนี้ ก็เนื่องจากว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อำเภอลี่ว์ชุนต้องเผชิญกับสภาพที่นักเรียนที่เรียนดีย้ายไปเรียนในอำเภอและเมืองทางเหนือของมณฑลหยุนหนาน เพราะเศรษฐกิจของเมืองทางเหนือพัฒนาเข้มแข็งกว่า และมีทรัพยากรทางการศึกษาอุดมสมบูรณ์มากกว่า ทำให้นักเรียนที่มีผลการเรียนดีและครอบครัวค่อนข้างมีฐานะร่ำรวยของอำเภอลี่ว์ชุนเลือกไปเรียนในโรงเรียนเมืองทางเหนือ

แต่หลังจากได้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นใหม่ นักเรียนที่สมัครเข้าโรงเรียนในอำเภอลี่ว์ชุนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เมื่อปี 2018 ได้รับสมัครนักเรียน 700 คน และปีนี้รับสมัครอีกเกือบ 1,400 คน นอกจากนี้ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศจีนในฤดูร้อนปีนี้ นักเรียนมัธยมตอนปลายของโรงเรียนใหม่มี 2 คนได้ผลการสอบสูงกว่า 600 คะแนน จากคะแนนเต็ม 750 คะแนน ถือเป็นคะแนนที่สูงมาก ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติของอำเภอลี่ว์ชุน

อีหนึ่งตัวอย่างคือ อำเภอถงกู่ เมืองอี๋ชุน มณฑลเจียงซี พยายามหาทางส่งเสริมการศึกษาระดับท้องถิ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยกำหนดว่านักเรียนระดับมัธยมปลายไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียน ซึ่งเป็นมาตรการที่แม้แต่พื้นที่ร่ำรวยก็ยังไม่กล้าทำให้เป็นจริงขึ้นได้ (รัฐบาลจีนมีนโยบายเรียนฟรี 9 ปี คือให้การศึกษาระดับประถมถึงมัธยมตอนต้น)

图片默认标题_fororder_20191223贫困县教育1

ทั้งนี้ จีดีพีของอำเภอถงกู่ในปี 2018 อยู่ระดับต่ำสุดในเมืองอี๋ชุน มีตัวเลขไม่ถึง 10% ของจีดีพีอันดับหนึ่งของเมืองอี๋ชุน เศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนาทำให้อำเภอถงกู่ก็เผชิญกับสภาพที่นักเรียนย้ายไปเรียนที่อำเภอหรือเมืองอื่นเหมือนกัน นายเจียง เหว่ยปิน เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์อำเภอถงกู่ กล่าวว่า นักเรียนต้องแยกกับครอบครัวไปเรียนที่เมืองอื่น จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งใจและกาย จึงหวังว่าเด็กๆ ของอำเภอถงกู่สามารถได้เรียนใกล้บ้าน

ฝ่ายที่ปรึกษาของคณะรัฐมนตรีจีนระบุว่า เมื่อหลายปีมานี้ จีนประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือทางการศึกษาของพื้นที่ยากจน หนึ่งคือ สร้างโรงเรียนให้เป็นอาคารที่ดีที่สุดในหมู่บ้าน สองคือ ลดจำนวนนักเรียนที่หยุดเรียนเพราะความยากจน เพื่อให้คนรุ่นหลังมีความรู้จะได้พ้นจากความยากจน

แต่สำหรับพื้นที่ยากจนขนาดนี้ จะสามารถรวบรวมเงินทุนเกือบ 200 ล้านหยวนในเวลาสั้นๆได้อย่างไร อำเภอลี่ว์ชุนใช้วิธีขอการสนับสนุนจากเทศบาลมณฑลหยุนหนานและรัฐบาลจีนมาเป็นเวลาหลายปี โดยฝ่ายที่ปรึกษาของคณะรัฐมนตรีจีนเห็นว่า พื้นที่ยากจนมีรายรับน้อย จำต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากการคลังของรัฐบาลกลางในการพัฒนาด้านการศึกษา ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับรายละเอียดมากขึ้น เพื่อประกันให้เงินมากขนาดนี้ลงทุนตรงจุดที่ถูกต้อง

ก่อนอื่น เงินทุนทางการศึกษาของพื้นที่ยากจนส่วนใหญ่ควรใช้กับโรงเรียนในหมู่บ้านและชนบท ไม่ใช่กับโรงเรียนที่ดีอยู่แล้วในตัวเมือง

ต่อจากนั้น เงินทุนเหล่านี้ควรใช้ไปกับการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ไม่ใช่ที่เครื่องใช้อุปกรณ์ ควรให้ความสำคัญกับการอบรมครูและการยกระดับผลการเรียนของนักเรียน เพราะโรงเรียนบางแห่งมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรูหราจำนวนไม่น้อย แต่การอบรมไม่พอเพียง ทำให้ครูใช้ไม่ค่อยเป็น ส่วนเนื้อหาการเรียนการสอนก็ไม่พร้อม ทำให้เสียเงินเปล่าๆ

และท้ายที่สุด เนื่องจากพื้นที่ต่างๆ มีสภาพต่างกัน รัฐบาลจีนจึงปล่อยให้เทศบาลมีสิทธิมากขึ้นในการจัดสรรเงินทุน แต่ต้องปฏิบัติตามหลักการที่มีความเสมอภาค และส่งเสริมการกำกับดูแลระหว่างกัน

ขณะเดียวกัน เมื่อโรงเรียนใหม่สร้างแล้วเสร็จ และค่าเล่าเรียนก็ไม่ต้องจ่ายแล้ว แต่รูปแบบนี้จะสามารถดำเนินต่อเนื่องไปได้นานเท่าไร จะได้ผลดีจริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามและปรับแก้กันต่อไป

นักวิเคราะห์เห็นว่า การเรียนฟรีจะทำให้เทศบาลขาดแคลนรายรับทางการคลังส่วนหนึ่ง เทศบาลต้องหาทางชดเชย มิฉะนั้นก็จะกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียนในขั้นตอนต่อไป ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนลดลง การพัฒนาการศึกษาต้องการเวลา การสร้างอาคาร การซื้ออุปกรณ์ การอบรมครู คุณภาพการเรียนการสอน และอื่นๆ ไม่สามารถยกระดับขึ้นภายในวันเดียว

ด้านผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ปัจจุบัน แนวคิดทางการศึกษาของพื้นที่ยากจนคือ ช่วยให้นักเรียนพยายามได้ผลสอบที่ดี เพื่อออกจากบ้านไปเรียนในพื้นที่เจริญได้ แต่อย่างนี้จะทำให้พื้นที่ยากจนมีความลำบากมากยิ่งขึ้น

การขจัดความยากจนยังต้องการบุคลากร จึงต้องการยกระดับการศึกษาของพื้นที่ เพราะฉะนั้น รัฐบาลจีนจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องสนับสนุนพื้นที่ยากจนมุ่งพัฒนาด้านการศึกษาก่อน ทำให้นักเรียนและบุคลากรสามารถเรียนที่บ้านเกิด ช่วยให้ทั้งครอบครัวนักเรียนและสังคมท้องถิ่นพ้นจากความยากจนในเร็ววัน

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

张丹