บทวิเคราะห์ : ข่าวลือเกี่ยวกับจีนมาจากที่ใด

2020-02-15 15:29:49 | CRI
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์ “เดอะนิวยอร์กไทมส์” ตีพิมพ์บทความ อ้างอิงคำกล่าวของนายปีเตอร์ นาวาร์โร  ประธานสภาการค้าแห่งชาติของทำเนียบขาว ซึ่งเรียกจีนเป็น “แหล่งเพาะเชื้อ” ก่อนหน้านี้ ในปี 2009  สหรัฐฯ เคยพบการระบาดของไข้หวัดนก H1N1 ซึ่งส่งผลให้ประชากรทั่วโลกจำนวน 60 ล้านคนติดเชื้อไวรัส และอีกราว 3 แสนคนเสียชีวิต ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา สหรัฐฯ มียอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ บี กว่า 22 ล้านคน เสียชีวิต 12,000 คน

โรคดังกล่าวนี้ ร้ายแรงกว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ว่าในแง่ของขอบเขตการแพร่ระบาด หรือ จำนวนผู้เสียชีวิต หากอิงตามวิถีคิดของนักการเมืองบางคนและสื่อสหรัฐฯ บางแห่ง สหรัฐฯ เองน่าจะเหมาะกับคำว่า “แหล่งเพาะเชื้อ”

แท้ที่จริงแล้ว ตั้งแต่เกิดการระบาดเป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้วิจารณ์งานป้องกันและควบคุมของรัฐบาลจีนหลายครั้ง จนภรรยาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ตั้งคำถามบนโซเซียลมีเดียว่า “แล้วเหตุการณ์การเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ บี ของสหรัฐฯ ได้เปิดเผยอะไรบ้าง”

นายทีโดรส กีบรีเยซุส  ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก หรือ  WHO ประเมินว่า การใช้ความพยายามและผลงานของจีนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถือเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดนานาชาติ นอกจากนี้ เขายังอ้างคำกล่าวของตัวแทนอังกฤษคนหนึ่งว่า การปิดเมืองอู่ฮั่น เป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่ ทำให้พื้นที่อื่นในโลกปลอดภัยยิ่งขึ้น

ด้านชาวอเมริกันบางคนยังโจมตีและใส่ร้ายจีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพียงแต่จะทำให้ผู้คนเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คนเหล่านี้สนใจแต่ผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ได้มองความปลอดภัยของชีวิตชาวโลก ในขณะที่ข่าวลือและคำใส่ร้ายที่พวกเขาสร้างขึ้น เป็นการคุกคามต่อระบบสาธารณสุขโลก ซึ่งพวกเขายืนหยัดในลัทธิชาตินิยมและลัทธิเหยียดเชื้อชาติ โดยการเป็น “แหล่งเพาะเชื้อและข่าวลือ” เสียเอง

เชื้อไวรัสไม่มีพรมแดน ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จีนจะเอาชนะการแพร่ระบาดในเร็ววัน เศรษฐกิจ การค้า การเดินทาง และการไปมาหาสู่กันระหว่างประชากรในโลกจะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ จะมีความเสียหายน้อยลง ทั้งนี้ เป็นความรับรู้ร่วมกันของจีนและโลก ซึ่งหากจีนเอาชนะได้ โลกก็จะเอาชนะได้

Tim/LR/ZDan

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

张丹