คนทั่วไปควรป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในชีวิตประจำวันอย่างไร?(ตอนที่ 2)

2020-04-02 17:17:21 | CRI
Share with:

ถาม: ในเขตชุมชนที่อยู่อาศัยหรือหมู่บ้านที่อยู่ ถ้ามีรายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 ความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อจะมีมากน้อยขนาดไหน?

ตอบ: ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ จะถูกนำตัวส่งไปรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ส่วนผู้ติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะถูกนำไปกักบริเวณทันทีเพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างน้อย 14 วัน ทั้งบริเวณภายในและนอกบ้านผู้ป่วย พื้นที่สาธารณะในเขตชุมชนหรือหมู่บ้าน ล้วนจะได้รับการฆ่าเชื้อ ดังนั้นคนในเขตชุมชนหรือหมู่บ้านไม่ต้องวิตกกังวลมากจนเกินไป แต่ก็ควรปฏิบัติตามมาตรการปกป้องตนเอง เช่น ใส่หนากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกนอกบ้าน ล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น ก่อนสถานการณ์การระบาดสิ้นสุดลง ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือเปล่าจับราวบันได ที่กดลิฟท์ ลูกบิดประตู ฯลฯ โดยตรง ถ้าจับต้องแล้วก็อย่าสัมผัสอวัยวะบนใบหน้าอย่างเด็ดขาด พยายามล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว

图片默认标题_fororder_a

ถาม: หน้ากากอนามัยชนิดใช้แล้วทิ้ง ถ้าใช้แอลกอฮอร์ความเข้มข้น 75% พ่นฆ่าเชื้อ สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้หรือไม่?

ตอบ: หน้ากากอนามัยชนิดใช้แล้วทิ้งของคนทั่วไป ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ครั้งเดียวทิ้ง กรณีใส่ไปตามสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ และไม่ได้ใส่นานมาก เมื่อกลับถึงบ้านถอดหน้ากาก ตรวจดูสภาพการใช้งานของหน้ากากอย่างละเอียด ถ้าไม่มีส่วนที่ฉีกเสีย โดยเฉพาะชั้นในหน้ากากที่ติดกับใบหน้าไม่เปื้อน ก็ใส่ต่อได้ ทุกครั้งที่ถอดหน้ากาก แนะนำให้วางไว้ในที่สะอาดและมีลมผ่าน ที่สำคัญคือ สำหรับหน้ากากที่ใช้ไปแล้วยังอยากใช้ต่อ ห้ามพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอร์บนหน้ากากอย่างเด็ดขาด เพราะของเหลวจะทำให้ความสามารถในการกรองของเสียของหน้ากากหายไป

จริงๆ แล้ว คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยคุณภาพสูง เช่น หน้ากาก N95 หรือ KN95 เพราะไม่ได้ไปอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงบ่อยๆ เช่น โรงพยาบาลและสถานที่ที่รายงานพบผู้ติดเชื้อ หน้ากาก N95 หรือ KN95 ผลิตขึ้นมาสำหรับแพทย์พยาบาลที่ให้บริการรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือให้เจ้าหน้าฆ่าเชื้อที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่อันตรายที่เคยมีผู้ติดเชื้ออยู่

图片默认标题_fororder_b

ถาม: กรณีที่พูดคุยกับผู้ติดเชื้อที่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ หรือรับของจากคนนั้น ในระยะเวลาที่สั้นมากเช่น 1 นาที มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหรือไม่?

ตอบ: การจะติดเชื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า ขณะติดต่อสัมพันธ์กัน ระยะห่างระหว่างสองคนปลอดภัยพอไหม? และใช้มาตรการป้องกันหรือไม่? หากตอนอยู่กับผู้ติดเชื้อ พูดคุยในระยะใกล้มาก มีอาการไอหรือจาม และไม่ได้ใส่หน้ากากป้องกันตนเอง ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะรับเชื้อ ดังนั้น หลังจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้น ถ้าต้องไปสถานที่สาธารณะที่มีคนอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ก็จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย และใช้มาตรการปกป้องตนเองให้เพียงพอ ที่สำคัญ ไม่ว่าทำอะไรที่ไหนก็ตาม ให้อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร นี่เป็นระยะห่างที่ค่อนข้างปลอดภัยที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เสนอ

图片默认标题_fororder_c

ถาม: กรณีที่ต้องออกจากบ้าน เช่นไปซื้อของในห้างหรือซุปเปอร์ฯ จำเป็นต้องใส่ถุงมือหรือไม่?

ตอบ: การสวมใส่ถุงมือเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ได้ผล ถุงมือที่ทำจากวัสดุอะไรก็ได้ เช่น ผ้าฝ้ายหรือพลาสติก คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือยางพาราที่แพทย์และพยาบาลใช้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ การใส่ถุงมือไม่สามารถทดแทนการล้างมือได้ การล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลนั้น เป็นวิธีการสำคัญมากเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส

ถาม: ผัก ผลไม้กับเนื้อสัตว์ที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต จะกลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสหรือไม่?

ตอบ: วิธีการแพร่กระจาย (Mode of transmission) ของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปคือ ทางฝอยละอองขนาดใหญ่ (Droplet transmission) และทางการสัมผัส (Direct and indirect transmission) ผัก ผลไม้ที่วางขายในซุปเปอร์หรือตลาดสดนั้น จึงมีความเป็นไปได้ต่ำมากที่จะเป็นพาหะ แต่เพื่อความปลอดภัย หลังนำผัก ผลไม้กับเนื้อสัตว์กลับเข้าบ้าน ควรใช้น้ำสะอาดไหลผ่าน ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ควรปรุงผักและเนื้อสัตว์ให้สุกก่อนรับประทาน ผลไม้สดควรปอกเปลือกแล้วค่อยทาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เน้นว่า  เมื่อตกอยู่ในภาวะความร้อนที่อุณหภูมิสูงถึง 56 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกัน 30 นาที โควิด-19 ก็จะตายหมด ในกระบวนการปรุงอาหารให้สุกอุณหภูมิในหม้อจะสูงถึง 100 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น เชื้อโควิด-19 จะไม่สามารถอยู่ได้

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

许平平