วันที่ 29 พฤษภาคม ตามเวลาท้องถิ่น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ประธานในหัวข้อ “การระบาดของโควิด-19 ส่งผลประทบต่อสิทธิมนุษยชน” โดยชี้ให้เห็นว่า การระบาดของโรคดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน กระทบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนด้วย มีแต่กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมพลังสามัคคี และการแสดงบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจะสามารถต่อสู้กับโควิด -19 ได้อย่างมีประสิทธิผล
แถลงการณ์ประธานดังกล่าวสนับสนุนสหประชาชาติในการแสดงบทบาทพื้นฐานด้านการประสานงานป้องกันและควบคุมโรคระบาดทั่วโลก สนับสนุนประเทศสมาชิก โดยเฉพาะบทบาทการเป็นผู้นำที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก อีกทั้งยังแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเกิดโรคระบาด อาทิ การใส่ร้ายป้ายสีบางประเทศ การเกลียดชังชาวต่างชาติ และการเหยียดสีผิว เป็นต้น โดยเน้นว่า ประชาคมโลกควรประณามพฤติกรรมเหล่านี้ แถลงการณ์ประธาน ยังเน้นด้วยว่า ประเทศต่าง ๆ ควรได้รับเทคโนโลยี หรือ เวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ยารักษาโรค วัคซีน และรีเอเจนต์ทดสอบ ที่ใช้ในการป้องกันโรคระบาดอย่างทันเวลา เสมอภาค และไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ตลอดจนเร่งรัดให้กำจัดอุปสรรคในการได้รับวัสดุดังกล่าวของประเทศที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังเสนอให้ นางมิเชล บาเชเลต์ ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สรุปประสบการณ์ที่ดีด้านการป้องกันโควิด-19 ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 46 ในปี 2021 ตลอดจนสิ่งที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ
แถลงการณ์ประธานดังกล่าวถือเป็นเอกสารทางการฉบับแรกของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ระบุว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างไร ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยทั่วไปจากประเทศสมาชิกและประเทศสังเกตการณ์
(Tim/Lin/Zhou)