จีน-เมียนมาจับมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 9 ครั้ง เพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของมนุษยชาติ

2020-06-05 17:28:25 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20200605zm1

วันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ปีนี้มุ่งเน้น "ความหลากหลายทางชีวภาพ" โดยกำหนดหัวข้อเป็น “การอนุรักษ์ธรรมชาติโดยไม่ชักช้า” เมียนมาในฐานะเพื่อนบ้านของจีน เป็นประเทศที่รู้จักกันดีในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเร็วที่สุดในโลก

เพื่อช่วยเมียนมาปกป้องสิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศ ตั้งแต่ปี 2014  ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้ร่วมมือกับเมียนมาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 9 ครั้งในเมียนมา โดยประสบผลสำเร็จมากมาย

นายถาน ยู่นโหง ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ กล่าวว่า เพื่อช่วยเมียนมาเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ  ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน จึงเริ่มดำเนินความร่วมมือกับเมียนมาตั้งแต่ปี 2014 ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ 9 ครั้ง ทางตอนเหนือของเมียนมา งานวิจัยเหล่านี้ทำให้ทีมงานค้นพบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสัตว์และพันธุ์พืชจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังพบสัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่ 63 ชนิด ซึ่งรวมถึง พันธุ์ไม้หายากมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  เช่น Magnolia kachinensis กับ Platea kachinensis

ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยยังพบนกกระสาสีขาวขลาด (Ardea insignis) ที่มีจำนวนเพียง 500 ตัวบนโลกเท่านั้น ตลอดจนสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น เสือโคร่ง (Panthera tigris) เสือดาว และเสือลายเมฆ(Neofelis nebulosa)

Tim/Patt/Zdan

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

彭少艾