จาก“อาหรับสปริง”ถึง“วิกฤตสหรัฐ”

2020-06-06 16:25:13 | CRI
Share with:

การเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟรอยด์ ทำให้เกิดการประท้วงขนาดใหญ่ในสหรัฐ การเดินขบวนประท้วงในหลายพื้นที่ยังคงมีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในบางเมืองได้เกิดเหตุการณ์จุดไฟเผาทำลายอาคาร ทรัพย์สิน และการต่อสู้จนเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ควบคุมยาก

ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า จะใช้ "กฎหมายปราบจราจล" สั่งการให้กองทัพเข้าควบคุมการประท้วง ทำให้สื่อมวลชนต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ และชาวอเมริกันจำนวนมากนึกถึงเหตุการณ์ "อาหรับสปริง" ที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกาเหนือเมื่อ 10 ปีก่อน และเรียกว่าตอนนี้กำลังอยู่ท่ามกลาง "วิกฤตของสหรัฐ"

สหรัฐได้ใช้ข้ออ้างด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นมาเป็นเวลานาน ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบอเมริกัน ทำให้เกิดความวุ่นวายในประเทศต่างๆ และล้มล้างอำนาจรัฐที่ไม่เป็นไปตามที่สหรัฐต้องการ หากย้อนกลับไปที่ "อาหรับสปริง" เมื่อสิบปีก่อน เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ทำลายความสงบเรียบร้อยทางสังคมที่มีอยู่ของประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หลายประเทศตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย ประธานาธิบดีซีซี(Abdel Fattah al Sisi) ของอียิปต์ เคยกล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรีย อิรัก ลิเบียและเยเมน ทำให้เกิดความสูญเสียทางโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นมูลค่า 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.4 ล้านคน และผู้ลี้ภัยกว่า 15 ล้านคน

สิ่งที่แตกต่างจากในอดีตคือเมื่อต้องเผชิญกับการประท้วงในประเทศ นักการเมืองสหรัฐหลายคนแสดงออกให้เห็นถึงการใช้สองมาตรฐานอย่างชัดเจน เช่นสมาชิกวุฒิสภา ทอม คอตตอน(Tom Cotton) เขียนคำขู่ผ่านทวิตเตอร์ว่า จะใช้กองทัพปฏิบัติการเร่งด่วนของสหรัฐห้าหน่วย รวมถึงกองบิน 101 เพื่อจัดการกับ "ผู้ก่อการร้าย" หนังสือพิมพ์ The Huffington Post รายงานว่า สมาชิกวุฒิสภา มาร์โค รูบิโอ(Marco Rubio) ถามว่า "คนเหล่านี้เป็นผู้ประท้วงจริงหรือเปล่า? หรือเป็นแค่คนที่รับจ้างสร้างสถานการณ์?”

Bo/LR/ZDan

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-05-2567)

李秀珍