บทความโดยศาสตราจารย์ Moustapha Kassé คณบดีกิตติมศักดิ์คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยดาการ์ ประเทศเซเนกัล เรื่อง “แนวการพัฒนาทั่วโลกและความร่ววมมือระหว่างจีน-แอฟริกาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ”
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงยิ่งในขอบเขตทั่วโลก ขณะเดียวกัน ทั่วโลกต้องเผชิญกับการท้าทายที่หนักหน่วงทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อน วิกฤตสาธารณสุขทั่วโลกครั้งนี้ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ การเงิน การผลิตและการดำรงชีวิตทางสังคมของทุกประเทศ จนสร้างผลกระทบเชิงลบที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
อุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกระแสโลกาภิวัตน์ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต การบริการ น้ำมันปิโตรเลียม การบิน การขนส่งทางบท การขนส่งทางน้ำ การท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นต้น ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุด จึงทำให้ดัชนีที่สำคัญสำหรับการประเมินเสถียรภาพทางสังคม ได้แก่ การขาดดุลสาธารณะ เงินเฟ้อ อัตราการว่างงานและอัตราความยากจนเป็นต้น ได้เผชิญกับความท้าทายที่ใหญ่ยิ่ง นอกจากนี้แล้ว มาตรการเก็บตัวอยู่บ้านก็ทำให้การเคลื่อนย้ายของประชากร สินค้าและเงินทุนลดน้อยลง ชีวิตทางสังคมหยุดชะงักอย่างสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตาม วิกฤตสาธารณสุขทั่วโลกครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทอันสำคัญของประเทศจีนในกระบวนการโลกาภิวัตน์ ยอดมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตจีนกินสัดส่วนถึง 30% ในยอดมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก และกินสัดส่วนค่อนข้างมากในห่วงโซอุปทานและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ทางด้านการค้าสินค้าและบริการ การไหลของเงินทุน และการถ่ายโอนเทคโนโลยีนั้น ประเทศจีนได้กลายเป็นหุ้นส่วนใหญ่อันดับแรกของทวีปแอฟริกา บริษัทจีนในหลายขอบเขตจำนวนกว่า 10,000แห่ง ได้แสดงบทบาทเชิงบวกด้านการสร้างความมั่งคั่งและตำแหน่งงานแก่บรรดาประเทศแอฟริกา ปัจจุบัน จีนกลายเป็นเป้าหมายการศึกษาต่างแดนใหญ่อันดับที่ 2 ของนักศึกษาทวีปแอฟริกาแล้ว ขณะเดียวกัน ประเทศจีนก็ได้มีคุณประโยชน์สำคัญ ในการฝึกอบรมบุคลากรดีเด่นให้กับประเทศทวีปแอฟริกาด้วย
(Yim/Zi)