บทวิเคราะห์ : เครือข่ายดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วที่สมบูรณ์สะท้อนพลวัตด้านนวัตกรรมทางเทคนิคของจีน

2020-06-24 16:24:22 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

图片默认标题_fororder_微信图片_20200624162246

เช้าวันที่ 23 มิถุนายน จีนปล่อยดาวเทียมดวงสุดท้ายของระบบนำร่องเป่ยโต่ว รุ่นที่ 3 ขึ้นสู่วงโคจรด้วยความสำเร็จ สิ้นสุดการวางเครือข่ายดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วของจีนอย่างเสร็จสมบูรณ์ ถือเป็นผลงานประวัติศาสตร์ด้านการบินอวกาศ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ตลอดจนเป็นการสนับสนุนด้านเทคนิคแก่เศรษฐกิจโลกและการอัดฉีดพลังการพัฒนาใหม่

ตั้งแต่จีนเริ่มปล่อยดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วดวงแรกอย่างเป็นทางการในปี 1994 จนถึงปี 2020 ที่เครือข่ายระบบดาวเทียมมีความสมบูรณ์เต็มร้อย การวางระบบนำร่องเป่ยโต่วใช้เวลา 26 ปี ดำเนินยุทธศาสตร์ “การเดิน 3 ก้าว” ได้แก่ ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในประเทศ ครอบคลุมเอเชีย-แปซิฟิก กระทั่งครอบคลุมทั่วโลก จนกลายเป็นหนึ่งในสี่ระบบดาวเทียมนำร่องของโลก ควบคู่ไปกับ ระบบ GPS ของสหรัฐฯ ระบบ Glonass ของรัสเซีย และระบบ Galileo ของยุโรป

图片默认标题_fororder_微信图片_20200624162251

ระบบเป่ยโต่วมีความสามารถ 3 ประการ ได้แก่ บอกพิกัด บอกเวลาอย่างแม่นยำ รวมไปถึงกิจการวิทยุตรวจการณ์และการตรวจค้นหาผ่านดาวเทียม ซึ่งสามารถประสานงานด้านการคมนาคม การเกษตร ป่าไม้ การประมง อุตุนิยมวิทยา และการสื่อสาร เป็นต้น อย่างอัจฉริยะ  ให้บริการด้านการก่อสร้าง การเกษตรอย่างแม่นยำ การตอกเสาเข็มในทะเล ระบบโลจิสติก และการตรวจสอบระบบพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น  อย่างตรงจุด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางสังคมของประเทศต่าง ๆ

ตามแผนการ ภายในปี 2035 จีนจะสร้างระบบดาวเทียมนำร่องและบอกเวลาอเนกประสงค์ที่ครอบคลุม กลมกลืน และเป็นอัจฉริยะมากขึ้น โดยถือเป่ยโต่วเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างคุณูปการต่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพของเศรษฐกิจทั่วโลก

(Tim/Cui/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙