สถานการณ์อุทกภัยในจีนและข่าวลือเกี่ยวกับเขื่อนสามผา-1

2020-07-17 00:13:41 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_微信图片_2020071619145411

เดือนมิถุนายนและกรกฎาคมของทุกปี ลุ่มแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ของจีนจะเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก สถานการณ์น้ำท่วมในจีนปีนี้ ทำให้มีผู้ประสบภัยกว่า 30 ล้านคน ในเกือบ 30 มณฑล เมื่อเทียบกับสถิติเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ประสบภัย ผู้เสียชีวิต และผู้หายสาบสูญ รวมถึงจำนวนบ้านเรือนถล่มและยอดความเสียหายทางเศรษฐกิจจากอุทกภัยปีนี้ต่างลดลง

图片默认标题_fororder_微信图片_2020071619145410

แม่น้ำฉางเจียงมีความยาวประมาณ 6,300 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากเขตปกครองตนเองทิเบต ไหลผ่าน 11 มณฑล ลุ่มแม่น้ำฉางเจียงมีพื้นที่ประมาณ 1.8 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็น 18.8% ของพื้นที่ทั้งหมดของจีน หรือ 18 เท่าของประเทศเกาหลีใต้  7.3 เท่าของอังกฤษ 4.8 เท่าของญี่ปุ่น และ 3.2 เท่าของฝรั่งเศส

ตั้งแต่สมัยโบราณ ฤดูฝนของทุกปีสองฟากฝั่งแม่น้ำฉางเจียงจะเข้าสู่ช่วงสถานการณ์ตึงเครียด เพราะหากเกิดฝนตกหนักจะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วจนเกิดอุทกภัยได้

图片默认标题_fororder_微信图片_202007161914549

ปี 1998 ลุ่มแม่น้ำฉางเจียงเกิดน้ำท่วมรุนแรงสร้างความเสียหายใหญ่หลวง ถือเป็นความทรงจำอันเลวร้ายและเศร้าโศกของชาวจีนทุกคน ส่วนปีนี้ เป็นปีที่มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดตั้งแต่ปี 1998 อีกทั้ง ฤดูฝนยังมาเร็วกว่าปีก่อน ๆ ประมาณ 10 วัน  ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน - 30 มิถุนายน ทางการจีนประกาศเตือนภัยฝนตกหนักทุกวัน วันที่ 22 มิถุนายน กรมดูแลสภาพน้ำของนครฉงชิ่งประกาศเตือนภัยน้ำท่วมระดับสีแดงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1940 นอกจากนี้ พื้นที่กว่า 1 ใน 6 ของประเทศยังมีฝนตกหนักกว่า 200 มม. ในเดือนมิถุนายน ซึ่งในจำนวนนี้ พื้นที่ 50,000 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำฝนสะสมกว่า 500 มม. หรือเท่ากับปริมาณน้ำฝนทั้งปีของกรุงปักกิ่งในปี 2019

图片默认标题_fororder_微信图片_202007161914548

เนื่องจากข่าวอุทกภัยมีมากขึ้น ข่าวลือเกี่ยวกับเขื่อนซันเสียหรือเขื่อนสามผาจึงมีเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ เช่นกัน เดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีข่าวลือว่าเขื่อนซันเสียเอียงจนเกือบถล่ม ข่าวนี้มาจากภาพในกูเกิลแมป โดยในภาพนั้นกำแพงเขื่อนซันเสียบางส่วนเปลี่ยนรูปทรงไป แต่ที่จริงแล้ว รูปทรงที่ผิดเพี้ยนเกิดจากการปรับอัตโนมัติของระบบกูเกิลแมป เนื่องจากกูเกิลแมปไม่มีตัวเลขความสูงที่แน่ชัดของเขื่อนซันเสีย เวลาปรับภาพเป็น 3 มิติเพื่อให้ดูเหมือนของจริง จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงไปบ้าง ซึ่งถ้าหากค้นในกูเกิลแมปก็มักจะเจอภาพในลักษณะนี้เช่นกัน เช่น ภาพของเขื่อนฮูเวอร์ (Hoover Dam) ในสหรัฐฯ เป็นต้น

图片默认标题_fororder_微信图片_202007161914547

นอกจากนี้แล้วบางคนยังตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเขื่อนซันเสียถึงไม่เก็บน้ำในในช่วงน้ำท่วม กลับต้องปล่อยน้ำด้วยซ้ำ มีคำตอบที่ไม่มีความรับผิดชอบและขาดความรู้ว่า พอเกิดน้ำท่วมเขื่อนก็ต้องปล่อยน้ำเพื่อความปลอดภัยของเขื่อนจนทำให้ลุ่มแม่น้ำตอนปลายเกิดอุทกภัยและเมื่ออยู่ในช่วงฝนตกน้อยก็ต้องกักเก็บน้ำเพื่อกำเนิดไฟฟ้าจนทำให้ลุ่มแม่น้ำตอนปลายเกิดภัยแล้ง อันที่จริงแล้ว การปล่อยน้ำในฤดูฝนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วมต่างหาก เพราะหากเขื่อนซันเสียกักเก็บน้ำในระดับสูงสุดที่ 39,300 ลูกบาตรเมตร ส่วนปริมาณน้ำของแม่น้ำฉางเจียงในแต่ละปีมีเกือบ 1  ล้านล้านลูกบาตรเมตร ซึ่งราว 70% อยู่ในช่วงฤดูฝน หากจะกักเก็บมวลน้ำทั้งหมดนี้ไว้คงต้องสร้างเขื่อนขนาดเท่าซันเสียหลายสิบแห่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาที่ดี

Tim/Ldan

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

张丹