ช่างทำเครื่องประดับเงินซานซียืนหยัดอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาบ้านเกิด

2020-07-29 14:11:13 | CMG
Share with:

ปี 2020 เป็นปีแห่งการบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจน และความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างทั่วด้านของจีน  ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ฝ่ายต่าง ๆ ร่วมกันใช้ความพยายาม  ร่วมกันฟันฝ่าต่อสู้อย่างไม่ลดละแข่งกับเวลา ทำให้พื้นที่ยากจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง

เสียงทุบตี “ติงตังติงตัง”จากการทำเครื่องประดับแว่วออกมาเป็นระยะๆ จากบ้านเก่าอายุ 300 กว่าปี ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 49 ในซอยชางเซี่ยงเมืองโบราณผิงเหยาในมณฑลซานซี  นายหลิว ซิงตง เป็นผู้สืบทอดเทคนิคทำเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมมณฑลซานซีของเมืองจิ้นจง เขาทำงานประจำที่นี่มาหลายปีแล้ว เป็นผู้พัฒนาเทคนิคการสลักลวดลายจนมีชื่อเสียงโด่งดัง

เครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมของมณฑลซานซีขึ้นชื่อด้วยเอกลักษณ์ “หนักแน่นสบายตา” มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักว่า“จิ้นกง” หลิว ซิงตงทำอาชีพช่างทำเครื่องประดับรวมเวลา 30 ปีแล้ว เป็นสักขีพยานการเปลี่ยนแปลงของแวดวงเครื่องประดับ การแปรรูปเครื่องประดับด้วยเครื่องจักร  เคยสร้างบาดแผลลึกให้กับช่างฝีมือทั้งหลาย แต่สุดท้าย งานศิลปหัตถกรรมที่เน้นความประณีตได้หวนกลับคืนมา ทุกวันนี้ ในสายตาของหลิว ซิงตงนั้น เขาเห็นว่าสิ่งที่ตนเองต้องทำคือ รักษาคุณค่าผลงานศิลปหัตถกรรมที่ไม่อาจทดแทนได้นี้ให้คงไว้

คุณพ่อของหลิว ซิงตง เริ่มฝึกเป็นช่างเทคนิคทำเครื่องประดับเงินเมื่อทศวรรษ 1980 แห่งศตวรรษที่ 20  หลังจากหลิว ซิงตงสืบทอดเทคนิคจากคุณพ่อแล้ว ได้เปิดร้านจำหน่ายเครื่องประดับเงินของตนแห่งแรกในเมืองโบราณผิงเหยา ตั้งชื่อว่า “ซิงตงฝ่าง”ในช่วงเริ่มแรกธุรกิจไม่สู้ดี ยามยากลำบาก เขาเคยเดินทางไปขายเครื่องประดับเงินตามแหล่งซื้อขายของเก่าทั่วประเทศจีน

ปี 2000 ทั่วทั้งเมืองโบราณผิงเหยามีร้านจำหน่ายเครื่องประดับเงินเหลือเพียง 2-3 ร้านเท่านั้น แต่หลิว ซิงตงยืนหยัดสู้ไม่ท้อถอย ปี 2015 เขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเมืองจิ้นจง นับเป็นสิ่งตอบแทนที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับเขา

Yim/Lu/Zdan

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江