บทวิเคราะห์ : การกดดันบริษัทสหรัฐฯ“ตัดความสัมพันธ์”กับจีนเป็นพฤติกรรมบ้าคลั่ง

2020-07-31 17:56:37 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระหว่างกล่าวปาฐกถาที่หอสมุดและนิทรรศการนิกสัน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวใส่ร้ายจีนว่า “กดดัน” บริษัทสหรัฐฯ โดยเขาระบุว่า บริษัทสหรัฐฯ ที่ค้าขายกับจีน “เอาใจพรรครัฐบาลจีน” ทำให้ “จีนปล้นสหรัฐฯ” แต่แท้จริงแล้ว คนอย่างนายไมค์ ปอมเปโอ ซึ่งส่งเสริมการแข่งขันเสรีทางวาจามาโดยตลอด กลับกลายเป็นมือมืดทางการเมืองที่แทรกแซงการตัดสินใจทางการค้าที่เป็นปกติของบริษัทสหรัฐฯ รวมถึงขัดขวางการพัฒนาอย่างอิสรเสรีของบริษัทสหรัฐฯ พวกเขาฝ่าฝืนหลักเศรษฐกิจระบบตลาด ไม่คำนึงถึง “การอำนวยประโยชน์แก่กันและได้รับชัยชนะร่วมกัน” ซึ่งเป็นหนทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียวของเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ มัวแต่ทำการใส่ร้ายป้ายสียุยงปลุกปั่น หมายที่จะกดดันบริษัทสหรัฐฯ กลับเข้าประเทศ ผลักดันให้เศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ “ตัดขาดความสัมพันธ์ต่อกัน” ซึ่งเป็นเจตนาที่เลวร้ายยิ่ง

ตัวอย่างที่นายปอมเปโอใช้โจมตีจีนครั้งนี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิงของเขา นายปอมเปโออ้างคำพูดของนายโรเบิร์ด โอไบรอัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ว่า “กลุ่มบริษัทโรงแรมแมริออท อเมริกันแอร์ไลน์ เดลต้าแอร์ไลน์ และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ต่างลบตัวหนังสือที่เกี่ยวข้องกับไต้หวันออกจากเว็บไซต์ เพื่อหลีกเลี่ยงความโกรธเคืองจากปักกิ่ง” แต่ทว่า บุคคลใดก็ตาม ขอเพียงมีความรู้พื้นฐานก็ย่อมเขาใจว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกได้ของจีน บริษัทต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในจีนควรเคารพอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของจีน ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับของจีน อย่างไรก็ตาม นายปอมเปโอแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องกลับพูดว่าจีนกดดันบริษัทสหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นายปอมเปโอในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่การทูตของสหรัฐฯ ขาดความเป็นมืออาชีพและคุณธรรมอันพึงมี ตลอดจนมีเจตนาอันเลวร้ายที่จะท้าทายหลักการ “จีนเดียว”

Tim/Lu/Zdan

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

陆永江